ร่วมเสนอความคิดเห็น
หัวข้อกระทู้ :
เรื่องส่งEMSแล้วทำประกัน ไปรษณีย์ขอเปิดดูของในกล่อง
(N)
ผมไปส่งของที่ ปณ.รามอิทราครั้งแรกผ่านมาแวะส่ง แจ้งเพิ่มประกัน2500บ.เจ้าหน้าที่ให้เปิดดูของก่อนจึงจะทำหรือให้ไปแพ็กที่นั้น เมื่อก่อนไปส่งทำประกันเพิ่ม ก็จบ เดี๋ยวนี้เป็นระเบียบใหม่ต้องเปิดดูหรือครับ
โดยคุณ
เต้ยอิตาเลียน
(
1K
)
[จ. 28 มี.ค. 2559 - 15:10 น.]
โดยคุณ
piyathus
(
1K
)
[จ. 28 มี.ค. 2559 - 15:50 น.] #3730681 (1/7)
สำหรับผมแพ็คไปเรียบร้อยแล้ว
ไม่เคยขอให้แกะเลยครับ
ไม่ทราบจริงๆครับ
ว่าระเบียบที่แน่นอนแล้วเป็นอย่างไร
โดยคุณ
vasakorn
(
8.5K
)
[จ. 28 มี.ค. 2559 - 15:55 น.] #3730685 (2/7)
เป็นบางที่นะครับ บางที่ก็ดูก่อน ถ่ายรูปไว้ด้วย บางที่ก็ไม่ดูครับ
โดยคุณ
nooing
(
28.8K
)
[จ. 28 มี.ค. 2559 - 16:21 น.] #3730690 (3/7)
ถ้าส่งบ่อย แล้วไปรษณีย์เห็นหน้าประจำ และก็รู้กลาย ๆ ว่าเราส่งอะไรบ่อย ๆ เค้าก็จะไม่ขอแกะดูครับ แต่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการแพคของเราด้วย หากแน่นหนาเป็นประจำ เค้าก็จะละเว้นให้
อันนี้แล้วแต่วิจารณญาณของเจ้าหน้าที่แต่ละคน แต่โดยหลักการปกติคือ เค้าก็จะขอดูของครับ ว่าเป็นของต้องห้ามในการส่ง ของผิดกฏหมาย หรือแตกหักเสียหายง่าย แพคไม่ดี อะไรพวกนี้ หรือถ้ารับประกันแพงมากเต็มวงเงิน 20,000 บาท อันนี้เค้าขอดูแน่นอนครับ
โดยคุณ
ข้าวไทย
(
2.2K
)
[จ. 28 มี.ค. 2559 - 17:46 น.] #3730742 (4/7)
เขตผมเมื่อก่อนไม่ต้องเปิดดู แต่ช่วงหลังต้องขอเปิด และก็เป็นพนักงานบางเค้าท์เตอร์ไม่เคร่งครัดมากก็ไม่เปิดดู
โดยคุณ
ลูกลุงรูญ
(
1K
)
[จ. 28 มี.ค. 2559 - 19:25 น.] #3730747 (5/7)
ลองพิจารณาดูครับ อาจเป็นประโยชน์บ้านไม่มาก ก็น้อย คัดลอกมาแบบย่อ ๆ ครับ
พระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477
นริศรานุวัดติวงศ์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2476)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า เนื่องจากพาณิชยกรรมของ ประเทศได้เจริญขึ้น สมควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวด้วยการไปรษณีย์ซึ่งยังคง ใช้อยู่ในเวลานี้ เพื่อให้ความสะดวกแก่ประชาชนและเหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้
หมวด 6
การลงทะเบียนและการประกัน
________
มาตรา 29 กรมจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่ ไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนสูญหายไป หรือไปรษณียภัณฑ์รับประกันแตกหัก หรือ สูญหายไปในระหว่างส่งทางไปรษณีย์ตามข้อบังคับที่ใช้อยู่เวลานั้น เว้นไว้ แต่การแตกหักหรือสูญหายนั้น เกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่ง ไปรษณียภัณฑ์นั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ฝาก หรือผู้รับ
มาตรา 30 เมื่อกรมจะต้องใช้ราคาไปรษณียภัณฑ์ที่แตกหักหรือสูญหาย ไปนั้น โดยที่ผู้ฝากได้ระบุแจ้งราคาไว้แล้วให้ถือว่าการระบุแจ้งราคาไว้นั้น เป็นข้อสันนิษฐานว่า ไปรษณียภัณฑ์นั้นมีราคาตามที่ได้ระบุแจ้งไว้ แต่ทั้งนี้ ผู้ฝากจะเรียกค่าสินไหมทดแทนเกินกว่ากำหนดราคาที่ได้ระบุแจ้งไว้นั้นหาได้ไม่
มาตรา 31 ผู้รับหรือผู้ฝากมีสิทธิที่จะขอให้เปิดไปรษณียภัณฑ์ที่จะ ส่งมอบแก่ตนก่อนรับต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นั้นทำบันทึกแสดงพฤติการณ์หรือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ แก่ตนไว้ แล้วลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไว้เป็นสำคัญ
มาตรา 32 ในเรื่องความรับผิดของกรมในการที่ไปรษณียภัณฑ์ แตกหัก หรือสูญหายนั้น ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบ หรือ วันที่ควรจะได้ส่งมอบ
โดยคุณ
ลูกลุงรูญ
(
1K
)
[จ. 28 มี.ค. 2559 - 19:28 น.] #3730749 (6/7)
เพิ่มเติมครับ ลองพิจารณาเฉพาะมาตรา 31 คงจะเข้าเคส เจ้าของกระทู้ครับ
มาตรา 31 ผู้รับหรือผู้ฝากมีสิทธิที่จะขอให้เปิดไปรษณียภัณฑ์ที่จะ ส่งมอบแก่ตนก่อนรับต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นั้นทำบันทึกแสดงพฤติการณ์หรือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ แก่ตนไว้ แล้วลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไว้เป็นสำคัญ
มาตรา 32 ในเรื่องความรับผิดของกรมในการที่ไปรษณียภัณฑ์ แตกหัก หรือสูญหายนั้น ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบ หรือ วันที่ควรจะได้ส่งมอบ
โดยคุณ
บารมีครู
(
1.8K
)
[อ. 29 มี.ค. 2559 - 13:07 น.] #3730910 (7/7)
ผมเพิ่งเคยเจอเหมือนกันครับ เป็นหัวหน้าไปรษณี์ท่านใหม่ที่เพิ่งย้ายเข้ามา ส่งรับประกันวงเงิน 20000 บาท ขอให้แกะดู สอบถามว่าส่งอะไร ทีแรกผมก็บอกผมห่อแน่นหนาแล้ว ไม่อยากแกะอีก ( พระเลี่ยมทอง) ทางหัวหน้าท่านก็บอกว่า ....... เคยเกิดเหตุประมาณว่า หัวหมอส่งของที่ราคาต่ำกว่าราคาทุนมากๆ พอรับของแล้วมาโวยวาย ว่าไม่ใช่ของที่สั่่งมา แล้วมาโทษและเรียกร้องค่าเสียหายจากไปรษณีย์แบบนี้ครับ เพิ่งเคยเจอเหมือนกันครับพี่ !!!
!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!
Copyright ©G-PRA.COM
www1