ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ...แพซุง...



(N)
การล่องแพ

แต่เดิมมาการขนส่งไม้ซุงเป็นจำนวนมากๆ มาสู่ตลาดการค้า หรือโรงเลื่อย ได้อาศัยวิธีการขนส่งทางน้ำเป็นส่วนใหญ่
เพราะเป็นการขนส่งที่มีค่าใช้จ่ายถูก ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า บรรดาโรงเลื่อยโรงงานที่อาศัยไม้ซุงเป็นวัตถุดิบ
จึงมักจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำ การขนส่งไม้ซุงทางน้ำนั้น ใช้วิธีผูกไม้ซุงรวมกันเป็นแพ แล้วล่องลงมาตามน้ำ เรียกว่า "การล่องแพ"
โดยใช้คนเป็นผู้ควบคุมในแพล่องไปตามน้ำในทิศทางที่ต้องการ ในปัจจุบันนี้ได้มีการใช้เรือโยงช่วยโยงแพ
เพื่อให้แพถึงจุดหมายปลายทางเร็วขึ้น การล่องแพแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทตามลักษณะของไม้ซุง คือ ไม้ซุงลอยน้ำ และไม้ซุงจมน้ำ


ไม้ซุงลอยน้ำ

ได้แก่ ไม้สัก ไม้สมพง ไม้กระท้อน ฯลฯ เมื่อผู้ทำไม้ต้องการจะขนส่งไม้ซุงโดยวิธีล่องแพ จะต้องเตรียมนำไม้ซุงมาไว้ ริมตลิ่งให้เสร็จก่อนฤดูฝน
เมื่อรวบรุมไม้ซุงได้จำนวนมากพอแล้ว จึงคัดหรือกลิ้งไม้ซุงนั้นลงน้ำ เรียกกันว่า "การคัดไม้ลงน้ำ" ในแม่น้ำจะมีคนคอยจับไม้ซุงมัดติดกัน
โดยใช้หวายหรือลวดร้อยจมูกซุง (ซึ่งเคยใช้เป็นรูสำหรับร้อยโซ่ให้ช้างลากไม้) แต่ละท่อนให้ติดกันเป็นแพใหญ่ และมีคานแพซึ่งเป็นไม้ท่อนเล็กๆ
หรือไม้ไผ่ เป็นตัวสำหรับยึดทางด้านกว้างของแพ บนหลังแพ คือ ส่วนที่อยู่บนน้ำ จะมีกระท่อมเล็กๆ จำนวน ๑ หรือ ๒ กระเท่อมเรียกกันว่า "ทับแพ"
ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนแพในขณะเดินทางทางด้านหัวแพ (ด้านที่อยู่ทางเหนือน้ำ) จะมีบันไดไม้ไผ่ผูกเป็นรูปสามเหลี่ยมตั้งสูงกว่า ทับแพ
เรียกว่า "พะอง" ใช้เป็นที่สำหรับนายแพ หรือหัวหน้าคนแพ ซึ่งรับผิดชอบในการล่องแพนั้นๆ ไต่ขึ้นไปดูร่องน้ำ เพื่อจะได้สั่งให้คนแพของตน
นำแพล่องไปให้ตรงร่องน้ำ จะได้ไม่เกยตื้น

และทางด้านหัวแพนี้จะมีเชือกทำด้วยหวายขวั้นเป็นเส้นยาวติดกับคานแพคอยถือ อยู่ในน้ำ จะได้ไม่เกยตื้น
และทางด้านหัวแพนี้จะมีเชือกทำด้วยหวายขวั้นเป็นเส้นยาวติด กับคานแพทางด้านหัวแพอยู่ ๒ หรือ ๓ เส้น เรียกว่า "พรวน"
ปลายของพรวนนี้จะผูกติดกับโคนหลัก ซึ่งมีคนแพคอยถืออยู่ในน้ำ เวลาแพลอยไปตามน้ำ พรวนจะดึงโคนหลักนี้ให้ครูดกับท้องน้ำอยู่ตลอดเวลา
และคนแพที่บังคับหลักจะคอยฟังคำสั่งจากนายแพ ซึ่งยืนสั่งการอยู่บนพะอง ให้เคลื่อนย้ายหลักไปทางซ้าย หรือทางขวา
เพื่อให้แพเลี้ยวไปตามร่องน้ำในทิศทางที่ต้องการทางด้านท้ายแพ (ส่วนที่อยู่ทางท้ายน้ำ) จะมีพายขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า "พุ้ย" ๒ อัน
วางพาดบนง่ามไม้ ซึ่งติดอยู่กับคานแพ พุ้ยนี้จะมีคนคอยพายลงในน้ำ เพื่อช่วยให้ท้ายแพเลี้ยวไปมาตามร่องน้ำได้รวดเร็วขึ้น

เมื่อถึงฤดูฝนระดับน้ำสูงพอที่จะล่องแพได้ คนแพก็จะเริ่มปล่อยแพทันที
รูปร่างของแพไม้ซุงที่ลอยน้ำนั้น มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของลำน้ำ เช่น ในแม่น้ำปิง ซึ่งมีลักษณะกว้าง น้ำตื้น
แพที่ผูกจะเป็นรูปป้อมสั้นคล้ายปลา เรียกกันว่า "แพรูปปลาตะเพียน" ส่วนในแม่น้ำยม ซึ่งมีลักษณะแคบและลึก
รูปของแพจะมีลักษณะเรียวยาว อ่อนตัวได้ง่าย แพลักษณะนี้เรียกว่า "รูปงูไช"

ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้ก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำสำคัญๆ หลายสาย เพื่อประโยชน์ ในด้านการผลิตไฟฟ้า และด้านชลประทาน
ทำให้การล่องแพไม้ตอนเหนือเขื่อน มีอุปสรรคมากขึ้น ดังนั้น การล่องแพจึงยังคงมีอยู่เฉพาะตอนใต้เขื่อนกั้นน้ำลงมา
และขนาดของแพไม้ที่จะล่องในแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ถูกจำกัดขนาดลง ให้เหลือกว้างไม่เกิน ๑๒ เมตร และยาวไม่เกิน ๑๒๐ เมตร
ทั้งนี้ เพื่อให้แพสามารถล่องผ่านประตูน้ำ ที่เขื่อนเจ้าพระยาได้สะดวก


ไม้ซุงจมน้ำ

มีไม้ซุงหลายชนิดที่จมน้ำ เช่น ไม้แดงประดู่ เต็งรังยาง ฯลฯ ไม้เหล่านี้หากจะผูกเป็นแพก็ต้องมีทุ่นช่วย
ทุ่นที่ใช้ช่วยพยุงแพไม้ซุง ที่จมน้ำให้ลอยขึ้นมาได้นั้น ได้แก่ ไม้ไผ่ ซึ่งนำมามัดรวมกันเป็นมัดๆ ละ ๘๐-๑๒๐ ลำ
มัดไม้ไผ่เหล่านี้เรียกกันว่า "ลูกบวบ" ก่อนที่จะผูกแพให้จมน้ำ คนแพมักจะผูกลูกบวบให้ติดกับคานแพไว้ก่อน
โดยเว้นช่องไว้สำหรับนำไม้ซุงมาผูก ให้มีลูกบวบขนาบไม้ซุงอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ถ้าเป็นไม้ซุงขนาดเล็ก
อาจจะผูกไม้ซุงเรียงกันเป็นแถวๆ กว้างประมาณ ๑๐-๑๒ เมตร การผูกไม้ซุงแถวหนึ่ง เรียกว่า "ตับหนึ่ง"
แพหนึ่งๆ มีระหว่าง ๘-๑๕ ตับ วิธีการล่องก็เช่นเดียวกับแพไม้ซุงลอยน้ำ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
แต่ในปัจจุบันนี้ คนแพมักจะใช้เรือยนต์โยงแพ เพื่อจะได้ถึงจุดหมายปลายทางเร็วขึ้น

ขอขอบคุณที่มา http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=7&page=t3-7-infodetail09.html

------------------------------------------------------

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [อา. 17 ก.ค. 2559 - 13:55 น.]



โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [อา. 17 ก.ค. 2559 - 14:02 น.] #3759525 (1/9)
บังเอิญบ้านเก่าผมที่อยุธยานั้น มีโรงเรื่อยจักรอยู่หลายโรง
มีโอกาสได้พบเห็นการล่องแพซุง และแพซุงที่มาจอดรออยู่ริมตลิ่ง

ซึ่งบรรยากาศแพซุงนั้นต้องบอกว่าน่าสนุกมากครับ สามารถไปวิ่งเล่น เล่นซ่อนแอบบซ่อนหา กระโดดน้ำ สนุกสนานมาก

และที่สำคัญ บริเวณที่แพซุงจอดพักนั้น จะมีปลาชุกชุมมาก ไปตกเบ็ดกันสนุกเลย
โดยเฉพาะเจ้าปลากดนี่ชอบไปอาศัยอยู่ แม้กระทั่งปลากดแก้ว ไอ้กดหางแดงตัวใหญ่ๆนี่มันชอบแพซุงนัก ไปตกมันได้บ่อยๆ

ระลึกนึกถึงบรรยากาศแพซุงที่ปัจจุบันไม่ค่อยพบเจอ เลยไปค้นหาเอามาเล่าสู่กันฟังครับ


โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [อา. 17 ก.ค. 2559 - 14:06 น.] #3759526 (2/9)


(N)
นี่ครับโฉมหน้าของ ปลากดแก้ว
ซึ่งพอมาอยู่ปทุมธานีได้ยินแต่เขาเรียกปลาคัง เช่นต้มยำปลาคัง ปลาคังลวกจิ้ม (น้ำลายยั๋ย 555)

พอมาเจอตัวแล้วก็บอกว่า มันคล้ายไอ้กดแก้วหางแดงบ้านเราที่อยุธยานี่หว่า
เพียงแต่ไอ้หางแดงที่บ้านผมผิวมันจะดำกว่าทางกรุงเทพปทุมหน่อย

สงสัยมันจะเป็นปลากดบ้านนอก 5555


โดยคุณ purich (3.7K)  [อา. 17 ก.ค. 2559 - 21:41 น.] #3759590 (3/9)
อ่านแล้ว นึกถึงสมัยเด็ก ๆ
วันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ผมชอบเข้าไปเล่นในสวนที่เจ้าของทิ้งร้าง
ใกล้บ้านซอยตรงข้ามวัดมะเกลือ เขตจอมทอง
ต้นไม้หลายต้นยังคงให้ดอกผล เช่น มะไฟ กะท้อน ส้มเขียวหวาน
ปีนต้นไม้เก็บกินเสร็จแล้ว ก็ไปนั่งชมวิวริมสวนที่ติดกับแม่น้ำ
วันไหนนึกสนุก ก็ชวนเพื่อนกั้นร่องสวนเพื่อจับปลา
ตอนนี้ หากพอมีเวลา ก็จะหยิบหนังสือ เรื่อง เด็กบ้านสวน
ประพันธ์โดย พ.เนตรรังษี มาอ่านเรื่อย ๆ
ท่านใดชอบแนวบรรยากาศบ้านสวนสมัยก่อน
ลองหาอ่านดูนะครับ


โดยคุณ kwwee (2.6K)  [จ. 18 ก.ค. 2559 - 01:20 น.] #3759654 (4/9)
ผมเด็กดอน แถวบ้านมีแต่ทุ่งทรายและภูเขาที่มีต้นไม้ใหญ่น้อยปกคลุม และ บ่อน้ำเล็กบ้างใหญ่บ้างที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ ไม่ประสีประสากับเรื่องแพเลยครับ เพราะแถวบ้านไม่มีลำน้ำ ไม่มีการล่องแพ ไม่มีการขนส่งทางน้ำ พึ่งจะมารู้จักแพก็ตอนที่โตและห่างบ้านมาแล้วครับ

โดยคุณ dangnadong (714)  [จ. 18 ก.ค. 2559 - 08:27 น.] #3759684 (5/9)
ไอ้แก้วกับปลากดคัง นี่มันคนละอย่างนะครับท่านลูกน้ำ ไม่เหมือนกันเลย ที่บ้านมหาราชเคยมีคนได้ไอ้แก้วหนักมากกว่า 30 กิโลกรัม แต่ปลากดคังยังไม่เคยเห็นที่โตกว่า 10 กิโลเลย ครีบ หางก็ต่างกันมากครับ

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 18 ก.ค. 2559 - 10:53 น.] #3759734 (6/9)
โดยคุณ dangnadong (534)
ไอ้แก้วกับปลากดคัง นี่มันคนละอย่างนะครับท่านลูกน้ำ ไม่เหมือนกันเลย ที่บ้านมหาราชเคยมีคนได้ไอ้แก้วหนักมากกว่า 30 กิโลกรัม แต่ปลากดคังยังไม่เคยเห็นที่โตกว่า 10 กิโลเลย ครีบ หางก็ต่างกันมากครับ
-------------------------------

อ้าวหรือครับท่านdangnadong ผมก็นึกว่ามันเหมือนกัน กดแก้ว กับไอ้กดคัง 555
ขอบคุณท่านdangnadongด้วยครับ ที่มาช่วยเด็กยุธยาด้วยกันไม่ให้หน้าแตกจนหมอไม่รับเย็บ 5555

ว่างๆหาภาพมาลงให้ชมบ้างนะครับท่าน


โดยคุณ pusit (1.7K)  [จ. 18 ก.ค. 2559 - 13:18 น.] #3759773 (7/9)
สวัสดีครับอาจารย์พี่

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 18 ก.ค. 2559 - 14:33 น.] #3759791 (8/9)
โดยคุณ pusit (1760)
สวัสดีครับอาจารย์พี่
---------------------
สวัสดีครับอาจารย์ภู ว่างๆมาแจมกันหน่อยครับ คิดถึงครับ


โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [อา. 18 มิ.ย. 2560 - 11:45 น.] #3818450 (9/9)


(N)
.

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1