ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : เกมแฟนพันธ์แท้จีพระ ชิงรางวัล บัตรเติมเงินตั้งประมูล 10 รายการ



(N)
เกมแฟนพันธ์แท้จีพระ

ชิงรางวัล บัตรเติมเงินตั้งประมูล มูลค่า 100 บาท (ตั้งประมูล 10 รายการ)

กติกา
1.ให้ทายคำตอบให้ถูกต้อง ท่านใดทายถูกท่านแรกรับรางวัลไปเลย
2.เมื่อจะทายให้พิมพ์คำว่า ขอตอบ....ด้วยทุกครั้ง หากไม่มีคำว่าขอตอบจะถือว่ายังไม่ได้ตอบ
3.สามารถเข้ามาวิเคาะห์พูดคุยคาดเดาได้ตลอด แต่การตอบโดยใช้คำว่า “ขอตอบ” ให้สิทธิ์ตอบได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ท่านใดขอตอบเกิน 1 ครั้งถือว่าผิดกติกา
4.ผู้เข้ามาคุยท่านแรกเป็นผู้มีสิทธิ์ขอเปิดป้ายเพื่อดูข้อมูลเพิ่มได้ 1 ป้าย (โดยกำหนดได้ว่าจะให้เปิดป้ายที่เท่าไหร่)
5.เมื่อเปิดป้ายแล้ว หากยังไม่มีผู้ตอบถูก ผู้ที่เข้ามาโพสต์หลังจากเปิดป้ายท่านแรก เป็นผู้มีสิทธิ์เปิดป้ายข้อมูลต่อได้อีก 1 ป้าย และให้ใช้กติกานี้จนกว่าจะมีผู้ตอบถูก
6.เมื่อมีผู้ตอบถูก ผมจะส่งพินโค๊ตรางวัลให้ทางเมล์บ็อกซ์ทันทีครับ

**เชิญทุกท่านร่วมสนุกด้วยกันครับ**

(ท่านใดที่มีคุณสมบัติสามารถเป็นผู้ตั้งประมูลแต่ยังไม่มีฆ้อน หรือยังไม่เคยเปิดประมูล
หากได้รับรางวัล ยินดีติดต่อแจ้งเปิดระบบตั้งประมูลให้พร้อมเลยครับ)


โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 14:40 น.]



โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 14:43 น.] #3874525 (1/24)
หากผู้ที่เข้ามาโพสต์ท่านแรก ไม่ใช้สิทธิ์ขอเปิดป้ายภายใน 10 นา ที ให้สิทธิ์ท่านที่ 2 และต่อๆไปตามลำดับเป็นผู้ขอใช้สิทธิ์เปิดป้ายแทน โดยใช้ 10 นาทีเป็นช่องว่างการขอใช้สิทธิ์ของแต่ละท่าน


โดยคุณ mu101 (2K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 14:54 น.] #3874527 (2/24)
ขอเปิดป้ายที่ 1 ครับ

โดยคุณ technolog (4.4K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:03 น.] #3874531 (3/24)
รอ....เปิด


โดยคุณ mobyga (2.9K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:07 น.] #3874532 (4/24)
พระขุนแผนอินโดจีนรุ่นแรก หลวง พ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:07 น.] #3874533 (5/24)


(N)
ท่าน mu101 ขอเปิดป้ายที่ 1
ขอให้ตอบถูกครับผม
----------------------------

ท่านอื่นยังไม่มั่นใจจะวิเคาะห์ไปเรื่อยๆก่อนตอบก็ได้นะครับ

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:10 น.] #3874534 (6/24)
ท่าน mobyga ยังไม่ได้ตอบใช่มั้ยครับ
เพราะกติกาการขอตอบต้องพิมพ์คำว่า..ขอตอบ..ด้วยครับ

ถ้าไม่ได้พิม ขอตอบ ก็สามารถวิเคาะห์พูดคุยกันได้เรื่อยๆนะครับ

สบายดีทุกท่านนะครับ ขอให้โชคดีนะครับ

ร่วมเล่นเกมร่วมสนุกสร้างสีสรรค์ให้หน้ากระดานกันครับ
-------------------------------------------------------------------------

โดยคุณ technolog (4.4K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:15 น.] #3874535 (7/24)
ค่อนข้างกว้างมากครับ รอเปิดอีกซัก 2-3 ป้าย อิอิ

โดยคุณ nooing (28.8K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:18 น.] #3874536 (8/24)
ขอเปิดป้ายที่ 4

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:24 น.] #3874537 (9/24)


(N)
ท่าน nooing ขอเปิด 4
ดำเนินการให้ครับผม เอาให้ถูกนา เดี๋ยวเสียชื่อหมด 5555

-----------------------------------------

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:29 น.] #3874538 (10/24)
ใกล้แล้วละสิ เงียบปิ๊ดกันหมดเลย 5555

โดยคุณ nooing (28.8K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:31 น.] #3874539 (11/24)
ขอตอบ วัดบึงพระยาสุเรนท์

โดยคุณ lulytoon (5.1K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:35 น.] #3874540 (12/24)
ขอตอบครับ วัดสามปลื้ม(วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร)


โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:52 น.] #3874541 (13/24)


(N)
มีผูตอบถูกแล้วครับ
ได้จัดส่งรางวัลให้เรียบร้อยแล้วครับ

แหมเก่งกันจัง แต่นี่เป็นข้อแรกครับ คราวหน้าต้องยากกว่านี้แน่นอนครับ 5555(เตรียมตัวให้ดี)

ขอปรบมือให้แฟนธ์พันธ์แท้ข้อแรก ท่าน nooing ด้วยครับ
----------------------------------------------------------------

โดยคุณ technolog (4.4K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:54 น.] #3874542 (14/24)


(N)
สุดยอดจริงๆครับพี่ nooing

โดยคุณ รักเบ๊นซ์ (722)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:56 น.] #3874543 (15/24)
รุ่นใหญ่ซัดที่ เป้าดำขาดเลย ......

ผมยังพิมพ์ไม่เสร็จเลย ............. อั้ยย๊าาาาาาาาาาา

ยินดีด้วยครับ

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 15:59 น.] #3874545 (16/24)
ขออนุญาต นำประวัติการสร้างของพระกรุบึงพระยาสุเรนทร์ที่เพื่อนสมาชิกลงไว้มาลงใหม่นะครับ..........
พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ ถือกำเนิดที่ วัดพระยาสุเรนทร์ ตำบลสามวา อำเภอมีนบุรีเดิมวัดนี้ชื่อ "วัดบึงพระยาสุเรนทร์" ด้วยบริเวณใกล้ๆ ที่ตั้งวัดมีบึงขนาดใหญ่แต่ขณะนี้ทางวัดได้ดำเนินการถมบึงดังกล่าวแล้ว จนไม่สามารถทราบว่า ในอดีตเคยมีบึงใหญ่มาก่อน คือ ถมดินจนสูงเสมอ พื้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดพระยาสุเรนทร์" โดยตัดคำว่า "บึง " ออกไป แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านละแวกนั้นตลอดจนนักสะสมพระเครื่องทุกระดับชั้น ก็ยังคงเรียกชื่อ "วัดบึงพระยาสุเรนทร์" เหมือนเดิมเพราะคุ้นหู และติดปากมาโดยตลอด

ประวัติพระยาสุเรนทร์
ท่านเจ้าพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) บุตรของ ท่านพระยามุขมนตรี และเป็นหลานของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์สิงหเสนี) ต้นตระกูลสิงหเสนี รับราชการทหารในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็น"พระยา" ถือศักดินา 4,000 ไร่ จึงออกไปจับจองที่ตามศักดินา ณ อาณาบริเวณอันเป็นที่ตั้งวัดบึงพระยาสุเรนทร์ในขณะนี้
เมื่อจับจองที่ตามศักดินาแล้วท่านได้ปลูกบ้านบริเวณบ้านฉาง ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดประมาณ 10 เส้น โดยเว้นช่วงที่ตรงบึงขนาดใหญ่ หรือบึงพระยาสุเรนทร์ จำนวน 48 ไร่ ไว้ ต่อมาท่านได้สร้างวัดขึ้น คือ วัดบึงพระยาสุเรนทร์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2431 ในชีวิตบั้นปลายของ เจ้าพระยาสุเรนทร์ได้หันเหเข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดบึงพระยาสุเรนทร์ที่ท่านได้สร้างไว้ และอุปถัมภ์เสมอมา โดยถือศีลและบวชเณรด้วย ( เหตุที่ท่านไม่อุปสมบทเป็นพระ เพราะมีโรคประจำตัว คือริดสีดวง คนโบราณเขาถือ)

ใครสร้าง พระสมเด็จ บึงพระยาสุเรนทร์ ?

หลังจาก เจ้าพระยาสุเรนทร์ สร้างวัดบึงพระนาสุเรนทร์และได้บรรพชาเป็นสามเณรท่านได้สร้างพระพิมพ์ เพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาตามคตินิยมแต่โบราณแล้วนำส่วนหนึ่งแจกแก่ผู้ต้องการนำไปบูชาติดตัวนอกนั้นบรรจุในองค์พระเจดีย์ข้างบึงพระยาสุเรนทร์และได้ฐานชุกชีพพระประธานในพระอุโบสถ
ท่านอธิการดวง สิงหเสนี เจ้าอาวาสวัดบึงพระยาสุเรนทร์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของ เจ้าพระยาสุเรนทร์ ได้สืบเสาะเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ โดยสอบถามจากโยมบิดา (บุตรชายคนโต ของเจ้าพระยาสุเรนทร์) และผู้เฒ่าผู้แก่ที่ทันยุคทันสมัย นั้น พอสรุปได้ว่า พระยาสุเรนทร์เดิมทีเป็นผู้สนใจวิชาอาคม และได้รับการถ่ายทอดการปลุกเสกน้ำมันมนต์วิเศษของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (ปู่) สำหรับออกทัพจับศึกให้ผิวหนังคงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวงและก่อนที่ท่านจะบรรพชาเป็นสามเณร ยังสืบหาพระเกจิอาจารย์จอมขมังเวท ขอถ่ายทอดวิชาอาคมแขนงต่าง ๆ รวมทั้งขอผงวิเศษ และว่านศักดิ์สิทธิ์นานาชนิดเก็บรวบรวมรักษาไว้กระทั่งบรรพชาเป็นสามเณรได้ดำริสร้างพระพิมพ์ขึ้นด้วยตนเองโดยดำเนินการด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการแกะพิมพ์พระด้วยงาช้าง,ผสมผงกดพิมพ์พระ และการปลุกเสก

กรุแตก

พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ แตกกรุเป็นปฐมครั้งแรกเมื่อคราวสงครามอินโดจีน ปี พ.ศ. 2485 ขณะนั้น โยมชุ่ม สิงหเสนี (โยมบิดาของท่านอธิการดวง) และท่านอาจารย์กร่ำเจ้าอาวาสสมัยนั้นได้นำพระที่พบภายในองค์พระเจดีย์มอบให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แจกแก่ทหารจำนวนสามถุงใหญ่ ประมาณว่าหลายพันองค์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ทางวัดได้ทำการเปิดกรุอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ที่ใต้ฐานชุกชีพพระประธานในพระอุโบสถ และได้นำพระออกจำหน่ายให้ประชาชนผู้เสื่อมใสศรัทธาทำบุญบูชาองค์ละ 500 บาท เพื่อนำปัจจัยสมทบทุนบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบไป

แบบพิมพ์
พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ที่พบ และเล่นหากันเป็นมาตรฐานสากลยอมรับกันนั้นมีอยู่ 5 พิมพ์ด้วยกัน คือ

1. พิมพ์สมเด็จฐาน 3 ชั้น
2. พิมพ์สมเด็จฐานแซม
3. พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์
4. พิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์
5. พิมพ์สมเด็จเล็บมือ หรือบางท่านเรียก"พิมพ์ซุ้มกอ"

นอกจากทั้ง 5 พิมพ์ดังกล่าวแล้วท่านผู้รู้ (เซียน) บางท่านยังกล่าวว่า มีพิมพ์พิเศษอีกด้วยคือ พิมพ์ห้า เหลี่ยม และพิมพ์ทรงเจดีย์ แต่ผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยเห็นสักองค์ เพียงแต่ได้ยินได้ฟังมาอีกทอดหนึ่งดังนั้นไม่ขอ ยืนยันแน่ชัด
เนื้อพระ
มีเฉพาะเนื้อผงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้นเนื้อละเอียดปานกลาง และแน่นแกร่งพอสมควร สีเขียวอมเทา ซึ่งสีนี้ละม้ายคล้ายคลึงกับ พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังและพระกรุวัดท้ายตลาด แต่ไม่ถึงกับเหมือนเลยทีเดียวบางองค์สีเขียวอ่อน บางองค์สีเขียวเข้มไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพที่ผ่านการห้อยบูชาหรือสัมผัสจับต้องมากน้อยเพียงไร เพราะเนื้อพระหากสัมผัสเหงื่อ หรือจับต้องบ่อย ๆ จุดนูน หรือจุดที่ต้องสัมผัส เช่น ซุ้ม , พระพักตร์,ฐาน ฯลฯ เนื้อจะจัดเข้มแลดูมันฉ่ำใสคล้ายเนื้อ "ผงน้ำมัน" ทำให้สีพลอยเข้มจัดไปด้วย
จุดสังเกตอย่างหนึ่งที่ควรจดจำก็คือ เนื้อพระมักจะลั่นร้าวแตกปริ (ในองค์ที่ยังไม่ผ่านการใช้) แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่อย่างชัดเจนแต่ในองค์ที่ไม่เห็นรอยสั่นร้าวแตกปริอาจเป็นเพราะคราบกรุ และขี้กรุบดบังไว้นอกจากนี้น้ำหนักพระจะมากไม่สมดุล กับขนาดด้วย
คราบกรุ - ขี้กรุ
สำหรับ พระที่แตกกรุเมื่อคราวสงครามอินโดจีน คือ พบที่องค์พระเจดีย์ข้างบึงใหญ่ จะมีคราบกรุหรือดินขี้กรุน้อย ถ้ามีก็จับเกาะ ติดแค่ประปราย ไม่มากนัก ผิดกับพระที่ขึ้นจากใต้ฐานชุกชีพพระประธานในพระอุโบสถซึ่งมีคราบกรุขี้กรุขาวนวลจับเกาะทั่วทั้งองค์ แต่คราบนี้จะเกาะเพียงแค่หลวม ๆ ไม่ติดแน่น
ด้านหลัง
ส่วนมากเท่าที่พบ จะมีรอยอักขระเหล็กจารอ่านได้ว่า "ติ ติ อุ นิ" อยู่ภายในเส้นยันต์ล้อมรอบ และอาจมีอักขระตัวอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น อุณาโลม เป็นต้น แต่บางองค์ด้านหลังเรียบไม่ปรากฏเหล็กจารก็มีเช่นกัน แต่น้อยมาก และจะด้วยความนิยมกว่า พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์มีการปลอมแปลงเลียนแบบมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ฝีมือยังไม่วิวัฒนาการก้าวไกลถึงขนาดใกล้เคียงทั้งนี้เพราะความนิยม และราคาเล่นหายังไม่กระเดื้องแต่ต่อไปไม่แน่หากพระกรุนี้สนนราคาขึ้นหลักหลาย ๆ พันบาท หรือองค์หนึ่งเป็นหมื่นบาทละก็ ของเก๊ฝีมือระดับพระกาฬย่อมทะลักออกมาอย่างแน่นอนที่สุด

การพิจารณาความแท้ - เทียม

1. พิมพ์
ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตจากภาพประกอบบทความนี้พระองค์ซึ่งนำภาพมาลงให้ทัศนากันล้วนแต่เป็นพระชนะเลิศงานประกวดทุกองค์ แต่ความสวยงามหาได้เลิศเลอจัดจ้านเท่าใดนักแสดงว่าพระกรุนี้หย่อนงามมาแต่เดิม แต่ของเก๊เลียนแบบนั้นมักจะสวยงามคมชัด หาตำหนิแทบไม่เจอ รอยกะเทาะแหว่งมุมนิดเดียวก็ไม่มี ซึ่งผิดจากธรรมชาติพระเก่าพระกรุซึ่งต้องมีรอยตำหนิหรือกะเทาะให้เห็นบ้างไม่มากก็น้อยประเภทที่เนี๊ยบ 100 เปอร์เซ็นต์ หาทำยายากขอรับ
2. ขนาด
พระเก๊มักจะมีขนาดเล็ก หรือย่อมกว่าเล็กน้อย หากมองเผิน ๆ อาจไม่นึกถึงเพราะใกล้เคียงกันมากแต่ถ้ามีตัวอย่างเทียบ หรือหมั่นจดจำด้วยสายตาตลอดจนความรู้สึกจะสะดุดตา และหยุดคิดทันที ถ้าหากหดหรือเล็กกว่าปกติ มักจะเป็น " ของเก๊ " ด้วยการถอดแบบพิมพ์จากพระแท้มาเป็นแบบนั่นเอง
3. รอยเหล็กจาร
พระแท้ด้านหลังรอยเหล็กจารจะเขียนเป็นเส้นเล็ก แต่จะหวัด ๆ ไม่ปราณีบรรจง ผิดกับด้านหลังของเก๊ จะบรรจงเขียนซะสวยงาม เพื่อดึงดูดความสนใจ และที่สำคัญที่ร่องอักขระจารจะต้องมีคราบกรุ หรือขี้กรุเกาะติดให้เห็นบ้าง ส่วนของเก๊มักจะลืมถึงจุดนี้ มักจะเน้นคราบที่ด้านหน้าเท่านั้น
4. สี และรอยปริ
เนื้อพระของแท้มีจะออกเขียวอมเทาในองค์เดียวกันสีก็จะเหลื่อมล้ำกันบ้างเล็กน้อย เช่น ช่วงบนเข้ม ช่วงล่างอ่อน ผิดกับของเก๊สีเนื้อเป็นสีเดียวกันตลอดทั้งองค์นอกจากสีพระที่ควรจะศึกษาแล้ว ควรศึกษารอยปริแตกลั่นร้าวด้วย เพราะของเก๊ยังทำไม่เหมือนกับของแท้
พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ มีพุทธคุณโดดเด่นในด้านคงกระพันชาตรีมีชื่อเสียงโด่งดังเกรียวกราวมากในสมัยสงครามอินโดจีน นอกจากนี้ยังเข้มขลังไปด้วย คุณวิเศษ ในด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ มหาโชคลาภด้วยเช่นกัน
ความนิยม
เมื่อหลายสิบปีก่อน พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ นักเลงพระทั้งหลายเล่นหากันมาก แต่ราคาค่านิยมก็ไม่พุ่งพรวดเหมือนกับสำนักอื่น ๆ ที่เชียร์กันขนาดใหญ่ มาบัดนี้ก็เช่นกัน ราคาและความนิยมก็ยังไม่กระเตื้องเหมือนเช่นเคยคือยังเล่นหาอยู่แต่หลัก " พัน " ต้น ๆ ซึ่งเมื่อเทียบถึงความเก่า ซึ่งสร้างไว้ประมาณ 100 ปี ประกอบกับคุณวิเศษความศักดิ์สิทธิ์แล้วนับว่าพระกรุนี้น่าเก็บสะสม และน่าบูชามาก

ผมคัดลอกข้อมูลจาก http://www.g-pra.com/webboard/show.php?No=82335
ขอบคุณท่านมีสวัสดิ์ด้วยครับ

โดยคุณ Somboon_skon (351)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 16:00 น.] #3874546 (17/24)
ยังไม่ทันได้จิ้มเลย...เกมส์จบแล้ว555

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 16:08 น.] #3874549 (18/24)
ใจเย็นครับท่าน Somboon_skon แค่น้ำจิ้ม เดี๋ยวมียากกว่านี้แน่นอนครับ ปล่อยให้หนูเริงร่าไปก่อนครับ5555


รอกันหน่อยนะตัวเอง 5555
-------------------------------------------

โดยคุณ nooing (28.8K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 16:14 น.] #3874550 (19/24)
ขอบคุณครับ

อย่างน้อยก็ได้ 1 ข้อแล้ว ต่อไปอาจจะหงอยก็ได้ เข้ามาแจมกันเยอะ ๆ ครับ ขอบคุณท่าน looknam1 ที่มาสร้างสีสันอีกแล้ว ลุย ๆ

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [จ. 06 ส.ค. 2561 - 16:20 น.] #3874551 (20/24)
คราวหน้าอาจต้องมีแบบเก็บคะแนนสะสมครับ

เปิด 1 ป้าย ก็ลบคะแนนออกเรื่อยๆ
ใครทายตอนเปิดป้ายน้อย ก็ได้คะแนนมาก

เดี๋ยวขอคิดก่อนนะ
------------------------------

โดยคุณ technolog (4.4K)  [อ. 07 ส.ค. 2561 - 07:50 น.] #3874644 (21/24)
ถ้ามีล็อคเวลาก็จะเป็นการดีมากเลยครับพี่ลูกน้ำได้ติดตามสะดวกเช่นเจอกัน 21.00 น.ทุกวัน...




โดยคุณ superpood (3.6K)  [อ. 07 ส.ค. 2561 - 09:48 น.] #3874654 (22/24)

โดยคุณ kamlaingern (356)  [อ. 07 ส.ค. 2561 - 15:19 น.] #3874700 (23/24)
เพิ่งเข้ามา จบซะแล้ว

โดยคุณ รักเบ๊นซ์ (722)  [พ. 08 ส.ค. 2561 - 11:38 น.] #3874798 (24/24)

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1