ร่วมเสนอความคิดเห็น
หัวข้อกระทู้ :
พระเนื้องาช้าง ออกบัตรได้ไหมครับ
(N)
เคยได้ยินว่า ถ้าเป็นพระเครื่องที่สร้างด้วยงาช้าง ทางจีพระจะไม่ออกบัตรจริงไหมครับ ขอบคุณมากครับ
โดยคุณ
mio88
(
2.9K
)
[ศ. 01 มี.ค. 2562 - 19:31 น.]
โดยคุณ
nooing
(
28.8K
)
[ศ. 01 มี.ค. 2562 - 21:08 น.] #3901398 (1/3)
หัวข้อกระทู้ : การตั้งประมูลงาช้างทุกชนิด
- เรียนสมาชิกทุกท่าน
- เนื่องจากปัจจุบันนี้ได้มีพระราชบัญญัติ งาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค.58 เป็นต้นไป ดังนั้นทางเว็บไซต์ฯ ขอแจ้งให้ท่านสมาชิกทุกท่าน * งด * ตั้งประมูลงาช้างและผลิตภัณฑ์ที่มาจากงาช้างและขนายช้างทุกชนิด รวมไปถึงการเสนอขายงาช้างทั้งหมดในเว็บไซต์ฯ
- ทางสถาบันการันตีพระจะ *งด * ตรวจสอบพระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ทำจากงาช้างทุกชนิด
- การตั้งประมูลงาช้างและผลิตภัณฑ์ที่มาจากงาช้างและขนายช้างทุกชนิดจะถูกห้ามตั้งประมูลโดยป้าย STOP และท่านสมาชิกอาจจะถูกจับและปรับตาม พรบ.งาช้างได้
- ทั้งนี้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
- จึงประกาศแจ้งมาให้ทราบโดยทั่วกัน
- เว็บไซต์การันตีพระ
โดยคุณ webmaster3 [ศ. 30 ม.ค. 2558 - 06:56 น.]
โดยคุณ
kamlaingern
(
356
)
[ศ. 01 มี.ค. 2562 - 23:30 น.] #3901404 (2/3)
ปรับเยอะนะท่าน ...............
แนะนำประชาชนตามพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558
ปัจจุบันสถานการณ์ลักลอบค้างาช้างที่ผิดกฎหมายเป็นที่จับตามองทุกประเทศ โดยเฉพาะการลับลอบฆ่าช้างแอฟริกา เพื่อนำงามาส่งขายประเทศที่ 3 ผ่านประเทศไทย ซึ่งมีการจับกุมและดำเนินคดีได้อย่างต่อเนื่อง และในที่ประชุมคณะอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 16 ได้เผยแพร่ข้อมูลที่นอกจากประเทศไทยได้เป็นทางผ่านแล้วยังมีการลับลอบแปรรูปขายในประเทศอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยจึงได้เสนอแผนปฏิบัติงานช้างแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อเป็นการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการงาช้างฯ ในหมวดที่ 1 ด้านการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 3 ก ลงวันที่ 21 มกราคม 2558
สาระสำคัญ ของ พ.ร.บ. งาช้าง พ.ศ. 2558
1. ผู้ใดประสงค์ค้างาช้าง ให้ยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2. ผู้ใดมีไว้ครอบครองซึ่งงาช้างโดยไม่มีวัสดุประสงค์เพื่อการค้า ให้มาแจ้งการครอบครองพร้อมเอกสารการได้มา ซึ่งงาช้างตาม พ.ร.บ. สัตว์พาหนะ (ม. 6) พุทธศักราช 2482 ต่ออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ
3. ในกรณีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นงาช้างที่ได้มาจากช้างที่เป็นสัตว์พาหนะ ให้งาช้างนั้นตกเป็นของแผ่นดิน และให้ส่งมอบงาช้างนั้นให้แก่กรมอุทยานแห่งชาติฯ
คำแนะนำสำหรับผู้จะซื้องาช้าง
ต้องตรวจสอบว่าเป็นผู้ค้าที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้ค้าได้ตามกฎหมาย
๑. เมื่อซื้อแล้วจะต้องได้รับหนังสือกำกับการค้างาช้าง (แบบ งช.13) และใบเสร็จรับเงินจากผู้ค้า
๒. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้างต้องมีเครื่องหมายประจำตัวสินค้า กำกับชัดเจน
๓. ผู้ครอบครองต้องนำเอกสารตามข้อ (2.) และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแจ้งการครอบครอง (กรณี จังหวัดอุบลราชธานี สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และมุกดาหาร แจ้งที่สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี))
๔. การโอน เปลี่ยนสถานการณ์ครอบครอง แปรสภาพ หรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้างต้องแจ้งต่อกรมอุทยานแห่งชาติฯ ก่อนวันที่จะมีการโอน เปลี่ยนสถานการณ์ครอบครอง แปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปร่างงาช้าง (ม. 7)
ข้อยกเว้น การแจ้งครอบครองตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. งาช้าง พ.ศ. 2558
- การครอบครองของหน่วยงานของรัฐ
- การครอบครองของบุคคลธรรมดาที่ครอบครองผลิตภัณฑ์ที่ใช้สอยส่วนตัวในปริมาณจำกัดโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า (อย่างละไม่เกิน 2 ชิ้น/คน รวมไม่เกิน 4 ชิ้น/คน และรวมทั้งครัวเรือนไม่เกิน 12 ชิ้น/ครัวเรือน และรวมน้ำหนักไม่เกิน 0.5 กก./ครัวเรือน)
ฝ่าฝืนครอบครองงาช้างเกินจำนวนยกเว้น (ม. 8) โดยไม่แจ้งครอบครอง โทษปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท
คำเตือน
- นำเข้า/ส่งออก/ค้างาช้างบ้านต้องขออนุญาต
- ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท
- ค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 ปี/ปรับ 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ผู้ค้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จะพักใช้เพิกถอนใบอนุญาต
- ผู้ค้างาช้างต้องได้รับใบทะเบียนพาณิชย์ จากกรมธุรกิจการค้า และได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานฯ
ช้างแอฟริกา
- ช้างแอฟริกาเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของประเทศไทย ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557
- ผู้ครอบครองช้างแอฟริกา ซาก/งาช้างฯ มีความผิดตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ช้างเอเชีย (ทั้งช้างป่าและช้างบ้าน) และช้างแอฟริกา อยู่ในบัญชี 1 (App.l,CITES)
ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน ซึ่งตัวช้าง/งาช้าง/ซาก/ผลิตภัณฑ์ฯ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า
พบเห็นการค้างาช้างผิดกฎหมาย หรือร้านค้างาช้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
โปรดแจ้ง สายด่วนกรมอุทยานแห่งชาติฯ 1362 หรือ ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) โทร. 0 4531 1677 ต่อ 601 หรือ 08 6468 7392
ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่การอนุรักษ์สัตว์ป่า
ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี)
สิงหาคม 2559
http://www.wildlife.dnp9.com/wildlife/index.php?mod=blog&path=web/blog&id_sub_menu=94&namemenu=%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.%202558
โดยคุณ
mio88
(
2.9K
)
[ส. 02 มี.ค. 2562 - 21:07 น.] #3901468 (3/3)
รับทราบครับ ขอบคุณมากครับทั้ง2ท่าน
!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!
Copyright ©G-PRA.COM
www1