~ ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน หรือเขียน (พิมพ์ภาษาพูด) ~
.......เป็นการยากที่จะตัดสินว่า คำใดเป็นภาษาพูด คำใดเป็นภาษาเขียน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกาลเทศะในการใช้คำนั้นๆ บางคำก็ใช้เป็นภาษาเขียนอย่างเดียว
บางคำก็ใช้พูดอย่างเดียว และบางคำอยู่ตรงกลาง คือ อาจเป็นทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนก็ได้
* * ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนพออธิบายได้ดังนี้ * *
๑. ภาษาเขียนไม่ใช้ถ้อยคำหลายคำที่เราใช้ในภาษาพูดเท่านั้น เช่น เยอะแยะ โอ้โฮ จมไปเลยแย่ ฯลฯ
๒. ภาษาเขียนไม่มีสำนวนเปรียบเทียบหรือคำสแลงที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในภาษาเช่น ชักดาบ พลิกล็อค โดดร่ม
๓. ภาษาเขียนมีการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวยชัดเจน ไม่ซ้ำคำหรือซ้ำความโดยไม่จำเป็น ในภาษาพูดอาจจะใช้ซ้ำคำหรือซ้ำความได้ เช่น การพูดกลับไปกลับมา เป็นการย้ำคำหรือเน้นข้อความนั้นๆ
๔. ภาษาเขียน เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนไม่มีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าเป็นภาษาพูด ผู้พูดมีโอกาสชี้แจงแก้ไขในตอนท้ายได้
นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนอีกหลายประการ คือ . .
๑) ภาษาเขียนใช้คำภาษามาตรฐาน หรือภาษาแบบแผน ซึ่งนิยมใช้
เฉพาะในวงราชการหรือในข้อเขียนที่เป็นวิชาการทั้งหลายมากกว่าภาษาพูด เช่น . .
ภาษาเขียน &#8211 ภาษาพูด
สุนัข ............... หมา
สุกร ................หมู
กระบือ..............ควาย
แพทย์...............หมอ
เครื่องบิน...........เรือบิน
เพลิงไหม้..........ไฟไหม้
ภาพยนตร์..........หนัง
รับประทาน.........ทาน,กิน
ถึงแก่กรรม..........ตาย,เสีย
ปวดศีรษะ...........ปวดหัว
เงิน...................ตัง(สตางค์)
อย่างไร..............ยังไง
ขอบ้าง...............ขอมั่ง
กิโลกรัม,เมตร......โล,กิโล ฯลฯ
๒) ภาษาพูดมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษาเขียน คือ เขียนอย่างหนึ่งเวลาออกเสียงจะเพี้ยนเสียงไปเล็กน้อย
ส่วนมากจะเป็นเสียงสระ เช่น . . .
ภาษาเขียน &#8211 ภาษาพูด
ฉัน...................ชั้น
เขา..................เค้า
ไหม.................ไม้(มั้ย)
เท่าไร...............เท่าไหร่
หรือ..................หรอ,เร้อะ
แมลงวัน............แมงวัน
สะอาด..............ซาอาด
มะละกอ............มาลากอ
นี่.....................เนี่ยะ
๓) ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ของผู้พูดได้ดีกว่าภาษาเขียน คือ . .
มีการเน้นระดับเสียงของคำให้สูง-ต่ำ-สั้น-ยาว ได้ตามต้องการ เช่น . .
ภาษาเขียน &#8211 ภาษาพูด
ตาย.................ต๊าย
ใช่...................ช่าย
เปล่า...............ปล่าว
ไป...................ไป๊
หรือ..................รึ(เร้อะ)
ลุง....................ลุ้ง
หรอก................หร้อก
มา.....................ม่ะ
๔ ภาษาพูดนิยมใช้คำช่วยพูดหรือคำลงท้าย เพื่อช่วยให้การพูดนั้นฟังสุภาพและไพเราะยิ่งขึ้น เช่น . . .
ไปไหนคะ ไปตลาดค่ะ รีบไปเลอะ ไม่เป็นไรหรอก นั่งนิ่งๆ ซิจ๊ะ
๕ ภาษาพูดนิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อนบางชนิด เพื่อเน้นความหมายของคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเช่น . . .
คำซ้ำ >>>>> ดี๊ดี เก๊าเก่า ไปเปย อ่านเอิ่น ผ้าห่มผ้าเหิ่ม กระจกกระเจิก อาหงอาหาร
คำซ้อน >>>> มือไม้ ขาวจั้ะ ดำมิดหมี แข็งเป็ก เดินเหิน ทองหยอง
((( อะไรที่ผมพิมพ์ ไม่ผิดออกไป ณ ที่นี้ (ไม่ผิดเพราะพิมพ์ภาษาพูดให้เป็นภาษาเขียน เพื่อหยอกล้อกับฐานะคนที่รู้จักกัน) และถ้าคิดว่าผิดเพราะอยู่ในที่สาธารณะชน ต้องขออภัยด้วยนะครับ )))
ผมพิมพ์เพื่อให้อ่าน ไม่ได้พิมพ์เพื่อให้จำ และเป็นการหยอกล้อกับคนที่สนิทกันเท่านั้น . .
ถ้าผมพิมพ์หรือพูดคุยกับคนที่ไม่สนิทกัน ผมจะใช้ภาษาเขียน (พิมพ์) ที่ถูกต้องเพียงเท่านั้นเช่นกัน . . (ยกเว้นพิมพ์ผิด)
ต้องขออภัยด้วยถ้าคิดว่า ภาษาพูดที่ผมพิมพ์นั้น ไปกระทบกระเทือน บุตร หลาน ของท่านสมาชิก
อย่าได้ให้เด็ก ๆ จำ ภาษาพูดที่ผมพิมพ์ออกไป ท่านเองก็ต้องช่วยอธิบายตามที่ผมอธิบายตามข้างต้นให้ บุตร หลาน ท่านด้วยนะครับ
(ผมไม่ได้อะไรครับ ผมเข้าใจ)
~ * * ขอบคุณครับ * * ~
๐๐๐๐ poppoomi ๐๐๐๐๐๐
(เทส) |
|