(D)
พระพุทธชินราชอินโดจีนปี 2485 วัดสุทัศน์ เป็นพระเครืองที่นักสะสมมีเป้าหมายต้องการอยากจะสะสมเก็บไว้ในครอบครองสักองค์ ทั้งนี้ถือว่าเป็นพิธีใหญ่ที่สุดในประวัติการสร้างพระเครื่องในสมัยรัตนโกสินทร์ที่สามารถรวบรวมเกจิชิ้นนำในยุคนั้นได้มากที่สุดมาร่วมปลุกเสกลงพุทธคุณ
จำนวนสร้างทั้งหมด 84000 องค์แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์หลักคือพิมพ์หน้านางและพิมพ์ต้อ พิมพ์หน้านางเป็นฝีมือช่างจากโรงหล่อฝีมือดีของยุคนั้นครับ ส่วนพิมพ์ต้อเป็นฝีมือช่างจีน
ว่ากันว่าที่ตอกโค๊ตได้มีประมาณ 10000 องค์เท่านั้นครับ เพราะฉะนั้นในเมื่อพระที่ตอกโค๊ตมีน้อยแต่พระแท้มีมากกว่าค่านิยมการสะสมเลยนิยมพระมีโค๊ต
ทำให้พระฝีมือหรือหมายถึงของเก้เลียนแบบก็มีทั้งฝีมือที่เป็นพระเก้ออกมา รวมทั้งเขาพระแท้มาตอกทำพิมพ์ของโค๊ตตอกในพระแท้เพราะได้ราคาค่านิยมสูงขึ้นอีกเท่าตัวครับ
จากภาพแรกขอฟันธงครับ ว่าเป็นพระพุทธชินราชอินโดจีน พิมพ์ต้อองค์นี้แท้ครับ มีคราบน้ำทองตามธรรมชาติของการหล่อ ดูพิมพ์มีความคมชัดและตะไบใต้ฐานดูดีครับ ซึ่งแตกต่างจากองค์ล่างขอฟันธงอีกเช่นครับว่าองค์ล่างองค์นี้เก้ครับ เก้ยังไงลองเปรียบเทียบกับองค์บนดูแล้วของหาคำตอบด้วยตัวเองดูครับ ถ้าเปรียบเทียบอย่างงี้ก็เข้าใจง่ายแต่ดูเป้นองค์โดดๆถ้าตาไม่ถึงพอมีสิทธิโดนครับ
ทีนี้มาดูองค์บนอีกครั้ง ใต้ฐานงานตะไบและพิมพ์พระทั่วๆรวมถึงธรรมชาติการหล่อดูดีหมดครับ แต่เมื่อนำองค์นี้ไปให้สายตรงพิจารณาแล้ว ผลปรากฎว่าโค๊ตที่ตอกเป็นโค๊ตเก้ครับ
ได้รับคำตอบจากวิทยากรสายตรงว่า โค๊ตที่ตอกมีการทำขึ้นมาตอกใหม่ ตอกจริงๆลงในพระแท้ ความแตกต่างของโค๊ตถ้าเปรียบกับโค๊ตแท้แล้วในล่องของโค๊ตเก้นั้นเห็นได้ชัดว่าไม่เนียนไม่คมชัด แบบโค๊ตแท้ครับ อธิบายยากเหมือนกัน ยังไงลองทำความเข้าใจดูนะครับ
|