ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : รับเช่าเหรียญหลวงปู่ (คำมั่น คัมภีรปัญโญ) รุ่น ๑ ทุกสภาพ



(D)


รับเช่าเหรียญหลวงปู่ (คำมั่น คัมภีรปัญโญ) รุ่น ๑ ทุกสภาพ ครับ ใครมีอยากแบ่งปันกันบูชา..โทร 081-6088336 ครับขอบคุณมากๆเลยครับ

โดยคุณ เด็กระยอง (2.7K)(1)   [อ. 20 พ.ย. 2550 - 21:45 น.]



โดยคุณ เด็กระยอง (2.7K)(1)   [อ. 20 พ.ย. 2550 - 22:02 น.] #185604 (1/3)


(D)


(หลวงปู่คำมั่นคัมภีรปัญโญ ) วัดศิลาดาษ บ้านนาน้ำซำ
ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น

แจกในงานฉลองอายุ ๘๑ ปี

๑ มิถุนายน ๒๕๔๖

คำนำ

ชีวประวัติของหลวงปู่พระครูคัมภีรสารคุณ

(คำมั่นคัมภีรปัญโญ) ข้าพเจ้าได้รวบรวมและเรียบเรียงจากคำบอกเล่า

ของท่านเอง เท่าทีท่านคิดได้คิดออกในขณะที่ถามเท่า
นั้นนักส่วนที่ไม่ได้ถามและบางอย่างท่านอาจจะหลงลืมไปก็มี
ส่วนเวลาวัน เดือน ปี ไม่แน่นอนเพราะท่านไม่ได้บันทึก
ไว้ ข้าพเจ้าขอกราบขอขมาโทษจากหลวงปู่ผู้เป็นเจ้าของ
เรื่องและขอโทษต่อท่านที่รู้เรื่องของหลวงปู่ดียิ่งกว่าข้าพเจ้า
ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย หนังสือนี้ทำเพื่อให้ผู้อื่นได้สานต่อๆไป
ผู้เขียนไม่สงวงลิขสิทธ์ครั้งนี้ทำอย่างรีบด่วนเพราะใช่เวลา
เพียง ๑๕ วันเท่านั้นในการรวบรวม

(หลวงปู่คำมั่น คัมภีร์ปัญโญ)
วัดศิลาดาษ บ้านนาน้ำซำ ต. ภูผาม่าน อ.ภูผาม่าน จ. ขอนแก่น
ชีวิตก่อนอุปสมบท
เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๗ ปี กุน ตรงกับวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๖๖
ที่บ้านแย ต.ดงมะยาง อ.อำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ (แต่ก่อนขึ้นกับ จ. อุบล)
บิดาชื่อ นาย แสง มาดายัง มารดาชื่อ นาง คูณ มาดายัง
มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ๗ คน และคนละพ่อแต่แม่เดียวกันอีก ๑ คนดังนี่
๑.หลวงปู่หมูน มาดายัง มรณภาพแล้ว
๒.แม่คำค่ำ มาดายัง (มงคล) เสียชีวิตแล้ว
๓.นายทองคำ มาดายัง เสียชีวิตแล้ว
๔.นางคำกอง มาดายัง เสียชีวิตแล้ว
๕.นางคำฟอง มาดายัง (คำพิสมัย) เสียชีวิตแล้ว
๖.นางคำตัน มาดายัง เสียชีวิตแล้ว
๗.หลวงปู่คำมั่น คำเสนาะ (ใช้นานามสกุลตามบิดาใหม่) บิดาของหลวงปู่ ท่านเสียชีวิตตั้งแต่หลวงปู่ยังเล็กๆอยู่ มารดาพาย้ายครอบครัวตามญาติๆมาอยู่ที่บ้านโนนศิลา บ้านนาสีนวล ตำบลโนนศิลา อำเภอ สหัสขันธ์จังหวัด กาฬสินธุ์ มารดาของหลวงปู่ได้แต่งงานใหม่กับนาย ลี คำเสนาะได้ด้วยกันหนึ่งคนคือ คนที่ ๘ คือ ลูกนางคำแป คำเสนาะ (หมั่นคิด) เสียชีวิตแล้วครอบครัวของหลวงปู่เป็นเกษตรกร เมื่อมีการสร้างเขื่อนลำปาวประชาชนที่ อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เสียหายจากน้ำท่วม ก็ได้พากันอพยพโยกย้ายกระจัดกระจาย กันไปอยู่ในที่ต่างๆอยู่ตามภาคอีสานตอนบนบ้างตามภาคเหนือ ตอนบนบ้าง ญาติพี่น้องของหลวงปู่ก็กระจายกันไปอยู่ในเขตของจังหวัด ขอนแก่นตอนบนบ้างเขตจังหวัดเชียงรายบ้างเขตจังหวัดพะเยาบ้างดังนั้นเหลวงปู่จึงจำพรรษาไปๆมาๆอยู่ระหว่าง ๔ จังหวัดนี้

อุปสมบทตอนอายุได้ 25 ปี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 12 ปี กุน ซึ่งตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน 2490 ที่วันไตรภูมิ ตำบลโนน ศิลา อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ โดย มีท่าน พระครู สหัสคุณมุณี วัดกลางมาลัย
อำเภอ สหัสขันธ์ จังหวัด กาฬสินธุ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครู โศกธรรมนิเทศ วัดไตรภูม เป็นพระกรรมวาจารย์
พระครู สมุห์อ่อน วัดกลางมาลัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ไปเรียนนักธรรมที่ วัดกัลยาณบริหาร (วัดเหนือ) ๓ พรรษา และได้ไปอยู่ที่ วัด สว่างคงคา นาสีนวล อำเภอ สหัสขันธ์ จนได้เป็นเจ้าอาวาสที่นั่น
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ -๒๕0๓
การปฏิบัติกัมมัฏฐาน ขั้นต้นท่านได้ฝึก สมถะกัมมัฏฐานก่อนและได้เริ่มออกวิเวกธรรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๔
เรื่อยมา พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้เข้าฝึกอบรม วิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่วัด มหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ เมื่อผ่านการอบรมมาแล้วท่านได้เน้นวิปัสสนาเป็นหลัก และได้ปฏิบัติมาตลอดออกไปแสวงวิเวกตามเขาลำเนาไพร ถ้ำ เหว และได้
ฉันเจเป็นประจำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จนถึงปัจจุบัน (๒๕๕0) เส้นทางออกวิเวกของท่าน เริ่มต้นก็ไปตามป่าเขาที่ใกล้วัดก้อนจึงไกลออกไปเรื่อยๆ เช่น ภูเป้ง ภูค้าว ภูกุมข้าว ภูสิงห์ ภูปอ อยู่ภูปอ ๒ ครั้งๆละ ๑ พรรษา ท่านเป็นพระรูปแรกที่ค้นพบพระนอนภูปอ และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่นเป็นรูปแรก ท่านเป็นผู้พบกรุพระบูชาภูปอ ซึ่งมีเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น และได้บูรณะพร้อมกับเพื่อนคือ พระคำสิงห์ จนมีกุฏิอยู่อาศัย ๖ หลัง และได้กลับมาจำพรรษาอีกครั้ง ๑ พรรษา
ต่อมาท่านได้เดินวิเวกไปดงลาน ดงมูล อำเภอ ท่าคันโท ต่อไปตามเทือกเขาภูพาน เทือกเขาระหว่างภาคอีสานกับภาคเหนือ ระหว่าง ภาคอีสาน กับ ภาคกลาง ไปจนถึงถ้ำหนองบัวแดงลงไปถึงถ้ำโพธิสัตว์ จังหวัด สระบุรี จนติดไข้มาลาเรียจึงเดินทางกลับ
การตั้งบ้าน ตั้งวัด สร้างวัด เมื่อท่านอยู่ที่ไหนในระยะที่พอจะไปมาหาสู่กันได้ ใครจะตั้งหมู่บ้านใหม่ก็ดี จะตั้งวัดใหม่ก็ดี มักจะมานิมนต์ท่านไปเป็นผู้นำในการตั้งการสร้างเสมอ ดังนั้นทั้งบ้านทั้งวัดที่ท่านเป็นผู้นำในการตั้ง
การสร้างและบางบ้านบางวัดก็ตั้งชื่อบ้านชื่อวัดให้ด้วย จึงมีจำนวนมากในการกำหนดปีที่ตั้งนั้นเพียงแต่ประมาณการณ์เอาเท่านั้น อาจไม่ตรงตามความเป็นจริงนัก เพราะหลวงปู่ท่านไม่ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
รายชื่อ วัด และ หมู่บ้านที่หลวงปู่เป็นผู้นำในการก่อตั้ง
๑. ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๔ ถึง ๒๔๙๕ ตั้งวัดศรีชมพู บ้านคำชมพู ต.โนนศิลา อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
๒. ตั้งบ้านหนองแสงน้อย ๓.ตั้งบ้านโนนสมบูรณ์ ๔.ตั้งวัดภูปอ ได้กุฏิ ๖ หลัง และบูรณะกับพระคำสิงห์
๕. สร้างพระพุธบาทภูค่าวกับจารย์ครูหนู
๖. บูรณะภูกุ่มข้าว บูรณะพระพุทธรูปที่ช้างทำพระศอหัก (คอ) ที่บ้านด่าน
๗. พ.ศ. ๒๕0๔ ตั้งวัดบ้านดงน้อย อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
๘. พ.ศ. ๒๕0๕ ตั้งวัดสวนดอก บ้านสันทรายมูล ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย
๙. พ.ศ. ๒๕0๕ ร่วมสร้างวัดโพธิ์ทอง บ้านสันทรายงาม ต. สันทรายงาม อ. เทิง จ. เชียงราย
๑0. พ.ศ. ๒๕0๖ ตั้งวัดห้วยเคี่ยน อ. เมือง จ. เชียงราย
๑๑. พ.ศ. ๒๕0๗ นำตั้งทั้งบ้านทั้งวัด บ้านหนองเสา ต. สันทรายงาม อ. เทิง จ. เชียงราย
๑๒. พ.ศ. ๒๕0๘ นำตั้งทั้งบ้านทั้งวัด บ้านหนองบัว ต. สันทรายงาม อ. เทิง จ. เชียงราย
๑๓. พ.ศ. ๒๕0๙ นำตั้งทั้งบ้านทั้งวัด บ้านหนองสามัคคี ต.สันทรายงาม อ.เทิง จ.เชียงราย
๑๔. พ.ศ. ๒๕0๙ ตั้งวัดบ้านห้วยไคร้ใหม่ ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราง
๑๕. พ.ศ. ๒๕๑0 นำตั้งทั้งบ้านทั้งวัด และตั้งชื่อบ้านให้ด้วยคือ บ้านดอยอีสาน ต.ปางมดแดง อ.เทิง จ.เชียงราย
๑๖. พ.ศ. ๒๕๑๑ ตั้งวัดปางมดแดง อ.เชียงคำ จ.พะเยาว์
๑๗. พ.ศ. ๒๕๑๑ ตั้งวัดบ้านสันปูเลย(โนนสามัคคี) อ.เชียงคำ จ.พะเยาว์
๑๘. พ.ศ. ๒๕๑๒ ตั้งวัดบ้านรุ่งอรุณ อ.เชียงคำ จ.พะเยาว์
๑๙. พ.ศ. ๒๕๑๓ ตั้งทั้งบ้านทั้งวัด บ่อน้อย อ.เชียงคำ จ.พะเยาว์
๒0. พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างวัดบ้านห้วยหลวง (ร่องแช่) อ.เทิง จ.เชิยงราย
๒๑. พ.ศ. ๒๕๑๔ นำตั้งบ้านและวัดคำสมบูรณ์ (คำตาเหิร) ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย
๒๒. พ.ศ. ๒๕๑๔ สร้างวัดบ้านร่องริว ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย
๒๓. พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างวัดป่าตึงงาม บ้านป่าตึง ต.แม่ลอยหลวง อ.เทิง จ.เชียงราย
๒๔. พ.ศ. ๒๕๑๕ สร้างวัดปางลาว ต.เมือง จ.เชียงราย
๒๕. พ.ศ. ๒๕๑๖ ตั้งวัดป่ามะนาวศรี บ้านถ้ำเต่าน้อย ต.ภูผาม่าน อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น
ในช่วงนี้หน้าแล้งท่านจะเข้าไปวิเวกอยู่ถ้ำคำพูภูผาม่าน
๒๖. พ.ศ. ๒๕๒๖ ตั้งวัดพูชำทองเหนือ ชำพูทองใต้ ต.ภูผาม่าน อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น
๒๗. พ.ศ. ๒๕๒๘ สร้างวัดศิลาดาษ บ้านนาน้ำชำ ต.ภูผาม่าน อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น ที่จำพรรษาอยู่จนถึงปัจจุบัน
๒๘. พ.ศ. ๒๕๓๕ ตั้งวัดหนองแฮด (หนองแสง) บ้านทันทรายงาม ต.สันทรายงาม อ.เทิง จ.เชียงราย
วัดที่ตั้งและร้างไปแล้วก็มีหลายวัด เช่น วัดอ่างทอง (ถ้ำเสือ) เป็นต้น เมื่อรวมทั้งหมดแล้วก็ได้ประมาณ 29 วัด
ในจำนวนวัด 29 วัดนี้ หลวงปู่ท่านอยู่ที่ไหนก็จะปลูกต้นไม้โดยไม่เลือกว่าจะเป็นไม้ให้หมากให้ผลหรือไม่
ท่านจะปลูกเพื่อให้มันเป็นป่า ร่มครึ้ม สงบเย็นเท่านั้นก็พอ ดังนั้นวัดไหนที่ท่านอาศัยอยู่นาน วัดนั้นจะกลายเป็นป่าไปเลย ทั้งนี้เพราะอุปนิสัยในการอยู่อย่างวิเวกของท่าน ตั้งแต่อายุ 27 ปีจนถึงปัจุบันนั่นเอง ท่านชอบอยู่อย่างสันโดษเรียบง่าย ฉันน้อย ฉันมังสวิรัช ไม่ใส่รองเท้า แม้เวลาเดินป่าเดินเขา มีเมตตาธรรมสูงสงเคราะห์คนที่มีข์ร้อนมาไม่จำกัด เป็นที่พึ่งของผู้ที่มีทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ ท่านอยู่อย่างนี้เป็นปกติวิสัยตลอดมา เมื่อ พ.ศ.2542 ข้าพเจ้าได้ไปรวบรวมประวัติของท่านเพื่อขอพระราชทานสมณศักดิ์และเมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2542 หลวงปู่จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเจ้าอาวาสชั้นโทชื่อ พระครูคัมภีรสารคุณ ในส่วนของประสบการณ์และความสามารถอื่นๆของท่าน และผู้อื่นบอกเล่ามายังมีอีกมากมาย แต่ขอยุติไว้แต่เพียงนี้ก่อน

โดยคุณ เด็กระยอง (2.7K)(1)   [อ. 20 พ.ย. 2550 - 22:47 น.] #185618 (2/3)
พระครูรัตนธรรมวิมล (สมาน)
วัดสมสะอาด (ใต้)
อ. กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธ์
ผู้รวบรวมประวัติ ของหลวงปู่ครับ

โดยคุณ aphichit (863)  [พฤ. 25 ต.ค. 2555 - 12:39 น.] #2519068 (3/3)

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1