ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ลงตั้งประมูลพระที่เว็บ จี ห้าม ผู้ตั้งประมูลต้องรับผิดอย่างไร

(N)
มีสมาชิกตั้งประมูลพระกรุวัดคลองขอม ซึ่งทางเว็บ จี ห้ามมิให้ลงตั้งประมูลตามลิ้งค์นี้

http://www.g-pra.com/information/show.php?Category=info7&No=234

เมื่อปิดประมูลพระกรุนี้มาแล้ว (เกินระยะเวลา 3 วันตามกฎความพอใจแล้ว) มาทราบภายหลังว่า เว็บ จี ห้ามลงตั้งประมูลและทางเว็บยังไม่รับรองพระกรุนี้ จนถึงปัจจุบัน

แม้จะมีบางเว็บเล่นกรุนี้ก็ตาม แต่เมื่อเว็บ จี ห้ามลงประมูลและไม่รับออกบัตรให้พระกรุนี้ ถ้าสมาชิกเอามาลงในเว็บ จี ก็ต้องยึดถือตามกฏของเว็บ จี ใช่หรือไม่

จึงอยากทราบว่าเมื่อมีการลงตั้งประมูลใน เว็บ จี โดยฝ่าฝืนกฏห้ามของเว็บ จี ก็ต้องถือว่าเว็บ จี ไม่ยอมรับว่าพระกรุนี้เป็นพระแท้ตามมาตรฐานปัจจุบันจากผลการตรวจสอบของสถาบันการันตีพระตามกฏ ข้อ 2.6

ผู้ชนะประมูลจะยกเลิกและส่งคืนพระตามกฏ ข้อ 2.6 จะทำได้หรือไม่

โดยคุณ bolblp (474)(1)   [ศ. 25 ม.ค. 2562 - 19:08 น.]



โดยคุณ nooing (28.8K)  [ศ. 25 ม.ค. 2562 - 19:17 น.] #3898563 (1/7)
การลงพระต้องห้าม บางอย่างมันก็นานมากแล้ว แต่หากเวปมาสเตอร์ตรวจพบ ก็จะหยุดการประมูลโดยป้าย STOP ซึ่งมันก็มีผลต่อผู้ตั้งประมูลเอง หากโดน STOP 2 ครั้งใน 1 เดือน ก็โดนพักการใช้งานและโดนค่าปรับ 500 บาท และหากโดนพักครั้งที่ 2 และ 3 ในปีเดียวกัน ก็จะถูกปรับแพงขึ้น เป็น 2,000 และ 5,000 ตามลำดับ

ทีนี้มาเรื่องที่ถาม จริง ๆ อยากจะทราบว่าเหตุการณ์เกิดที่กระทู้ให้ ใครเป็นคนซื้อคนขาย ถ้าจะให้ชัดเจนการสอบถามควรแนบลิงก์กระทู้เกิดเหตุมาด้วยนะครับ

หากประมูลโดยยินยอมพร้อมใจกันแล้ว และกระทู้ก็ไม่ได้ถูก STOP ก็ถือว่าได้เกิดธุรกรรมต่อกันแล้ว ก็ต้องว่ากันไปตามกฏกติกาที่เวปกำหนดไว้ เช่น

- สามารถใช้สิทธิ์แจ้งให้ส่งตรวจสอบได้ (ผลว่าอย่างไร มีกฏรองรับทุกผลอยู่แล้ว)
- โอนเงิน
- ส่งของ
- คืนได้ตามกฏรับประกันความพอใจ

เพราะฉะนั้น การมาอ้างเหตุเพื่อยกเลิกรายการที่ธุรกรรมเกิดขึ้นแล้ว จึงเห็นว่าไม่สมควรแก่เหตุครับ ผมวิเคราะห์ประมาณนี้ หากเห็นว่าไม่ตรงใจ หรือตกลงกันไม่ได้ก็สามารถส่งเรื่องให้เวปพิจารณาได้ที่ info@g-pra.com

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [ศ. 25 ม.ค. 2562 - 19:26 น.] #3898564 (2/7)
การที่เว็บประกาศไม่ให้ลงตั้งประมูลนั้น ความจริงแล้วก็ต้องถือว่าไม่สามารถนำมาลงตั้งประมูลได้
ซึ่งผู้นำมาลง ก็จะต้องโดนสต๊อบตามกฏกติกา

แต่เมื่อได้นำลงและผ่านมาได้ โดยไม่ถูกสต๊อบ จึงทำให้น่าคิดครับว่าเมื่อจบการประมูลไปแล้ว
และเมื่อไม่ได้ใช้กฏกติกาต่างๆในการขอคืนพระ ทั้งการรับประกันความพอใจ หรือในกรณีพระไม่แท้

หากผู้ประมูลมาทราบทีหลังว่า พระที่ประมูลมานั้น เว็บได้ประกาศห้ามลงประมูลไว้เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว
และอยากขอคืนตามเหตุผลที่ทราบ

ประเด็นก็คือ มันไม่มีกฏที่สามารถชี้ได้ว่ากรณีแบบนี้จะคืนกันในลักษณะใด
และผ่านมาสิบกว่าปี เว็บยังใช้ประกาศนี้อยู่หรือไม่

**ที่สำคัญการที่ สนง.การันตีพระ ไม่สามารถแยกแยะพระกรุวัดคลองขอม ให้กับสมาชิกของเราได้ ไม่ได้หมายความว่า สนง หมายถึงพระกรุนี้ไม่แท้นะครับ เพราะถ้าความหมายว่าไม่แท้ นั่นคือแยกได้ครับ


--------------------------------
ซึ่งกรณีแบบนี้ เบื้องต้นก็ลองเจรจากับผู้ตั้งประมูลดูก่อนครับว่าจะทำอย่างไรกันดี
หากตกลงกันไม่ได้ ก็คงต้องส่งเรื่องให้เว็บมาสเตอร์เป็นผู้วินิฉัย
ซึ่งผลการพิจารณาของเว็บมาสเตอร์ถือเป็นที่สุดครับ

ส่งเรื่องที่ info@g-pra.com

************************************

โดยคุณ bolblp (474)(1)   [ศ. 25 ม.ค. 2562 - 20:27 น.] #3898578 (3/7)
ที่ตั้งกระทู้นี้เพราะต้องการให้สมาชิกได้รับทราบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและทางแก้ว่าจะเป็นอย่างไรได้บ้างเท่านั้นครับ (ผมจึงสงวนชื่อและกระทู้ไว้)

จริงๆ แล้วก็ไม่ได้ติดใจเรื่องเงินอะไรมากมายเพราะพระราคาแค่ 540.- แต่ที่ติดใจคือตั้งใจจะเอามาเลี่ยมให้เด็กเล็กใช้ เพราะเห็นว่าองค์เล็กและราคาเบา เวลาหายจะได้ไม่เสียดาย แต่มาเจอแบบนี้ ตั้งใจอยากจะส่งพระคืนโดยไม่เอาเงินคืนด้วยซ้ำ แต่ท่านอ่านข้อความแล้วนิ่ง ไม่ตอบกลับ

ดังที่อาจารย์ลูกน้ำว่า "สนง.การันตีพระ ไม่สามารถแยกแยะพระกรุวัดคลองขอม ให้กับสมาชิกของเราได้ ไม่ได้หมายความว่า สนง หมายถึงพระกรุนี้ไม่แท้นะครับ เพราะถ้าความหมายว่าไม่แท้ นั่นคือแยกได้ครับ"

ผมเห็นต่างอาจารย์ตรงที่ ถ้าการที่ สนง. ไม่สามารถแยกแยะได้ อาจจะหมายถึงพระกรุนี้แท้ก็ได้ ก็น่าจะให้ลงประมูลได้ปกติเช่นพระกรุอื่นๆ เพียงแต่ถ้ามีสมาชิกมาขอส่งออกบัตร สนง. ก็จะมีใบรายงานว่าไม่ออกผล (ออกบัตรไม่ได้) เพราะ สนง.ยังไม่มีข้อมูลอ้างอิงมาตรฐาน ดังเช่นพระกรุอื่นๆ

การที่ สนง. ได้ประกาศห้ามลง และไม่รับออกบัตรพระกรุนี้ทั้งหมดทุกพิมพ์ เพราะเหตุที่ไม่สามารถแยกแยะได้ ทำให้น่าคิดได้ว่า สนง. เองก็ยังมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจในพระกรุนี้...หรือไม่ (ดังเช่นบางกรุที่พระแท้ แต่แท้แบบยัดหรือฝาก)

ประเด็น คือ เมื่อลงประมูลในเว็บ จี ก็ต้องยึดตามกฏเว็บ จี และถ้าเว็บ จี ห้ามลงและไม่รับออกบัตรด้วยแล้ว จะถือว่าพระกรุนี้เป็นพระแท้ตามมาตรฐานปัจจุบัน จากผลการตรวจสอบของสถาบันการันตี ตามกฏ ข้อ 2.6 ได้อย่างไร
*********************************************
เรียนอาจารย์ด้วยความเคารพ แค่ความเห็นส่วนตัวผมเท่านั้น มิได้เจตนาลบหลู่ เพียงแลกเปลี่ยนความเห็นกับสมาชิกครับ

โดยคุณ nooing (28.8K)  [ศ. 25 ม.ค. 2562 - 20:44 น.] #3898579 (4/7)
nooing => หากเห็นว่าไม่ตรงใจ หรือตกลงกันไม่ได้ก็สามารถส่งเรื่องให้เวปพิจารณาได้ที่ info@g-pra.com

looknam1 => หากตกลงกันไม่ได้ ก็คงต้องส่งเรื่องให้เว็บมาสเตอร์เป็นผู้วินิฉัย ซึ่งผลการพิจารณาของเว็บมาสเตอร์ถือเป็นที่สุดครับ ส่งเรื่องที่ info@g-pra.com

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [ศ. 25 ม.ค. 2562 - 20:51 น.] #3898581 (5/7)
ครับผม

การแลกเปลี่ยนความคิดและแสดงเหตุผลนั้นเป็นข้อดีครับ เพราะจะทำให้เกิดประโยชน์ในการตั้งกระทู้
เพื่อสำนักงานอาจจะได้มีมุมมองหลากหลาย เอาไว้พิจารณาข้อดีข้อเสีย ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต

จุดที่ทำให้ผมวิเคาะห์ ตลอดจนท่าน bolblp ร่วมวิเคาะห์นั้น จะเห็นว่ายังไม่มีกติกาที่นำมาอ้างอิงรองรับให้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันได้อย่างชัดเจน

ผมจึงเสนอไว้ว่าอาจต้องนำให้เว็บมาสเตอร์ช่วยพิจารณา หากต้องการคืนพระในกรณีแบบนี้

ซึ่งสิ่งที่ผมวิเคาะห์นั้นผมจะหาข้อกำหนดในกฏกติกาก่อนเป็นที่ตั้งว่าอะไรทำได้อะไรทำไม่ได้
แล้วค่อยวิเคาะห์ออกมาตามแนวทางของกฏกติกา

ซึ่งจากปัญหานี้ผมมองว่า ผู้ตั้งก็อาจจะไม่ได้ตั้งใจฝ่าฝืนข้อห้ามใดๆ
เพราะข้อห้ามนี้กำหนดและแจ้งไว้สิบกว่าปีแล้ว ผู้ตั้งก็อาจไม่ทราบ เหมือนที่ท่าน bolblp มาทราบภายหลังก็ได้

แล้วถ้าหากต้องตีความต่อว่า กติกานั้นผู้ปฏิบัติจะอ้างว่าไม่ทราบคงไม่ได้ก็ถูกอีกครับ
แต่อย่าลืมว่า การแจ้งนี้ สนง.แจ้งให้สมาชิกทุกท่านได้รับทราบ

ฉะนั้นผู้ประมูลก็ควรต้องทราบด้วยว่าพระรายการนี้ สนง.ห้ามนำลงประมูล ซึ่งก็ไม่ควรเข้าร่วมประมูล

แต่ในเมื่อธุรกรรมการประมูลได้เกิดขึ้น และผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งผู้ตั้งและผู้ประมูล ก็ควรต้องดำเนินธุรกรรมการประมูลไปตามกฏกติกาครับ

แต่หากว่ายังต้องการจะคืนจริงๆให้ถูกต้อง ก็มีทางเดียวครับ
ต้องส่งเรื่องให้เว็บมาสเตอร์ดำเนินการพิจารณา เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในทิศทางเดียวกันต่อไปครับ

*********************************

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [ศ. 25 ม.ค. 2562 - 21:16 น.] #3898584 (6/7)
เพิ่มเติมอีกนิดครับ

ประเด็นของท่าน bolblp ที่ว่า....

"ประเด็น คือ เมื่อลงประมูลในเว็บ จี ก็ต้องยึดตามกฏเว็บ จี และถ้าเว็บ จี ห้ามลงและไม่รับออกบัตรด้วยแล้ว จะถือว่าพระกรุนี้เป็นพระแท้ตามมาตรฐานปัจจุบัน จากผลการตรวจสอบของสถาบันการันตี ตามกฏ ข้อ 2.6 ได้อย่างไร"

******************************************

การจะใช้กฏข้อ 2.6 นั้น เราต้องส่งพระเข้าตรวจสอบที่ สนง.การันตีพระก่อนครับ
การตรวจสอบนั้น สำนักงานตรวจสอบรายการประมูลทุกรายการให้นะครับ ไม่ได้แจ้งว่าไม่ให้ส่งรายการไหนเป็นพิเศษเข้ามาตรวจสอบ แต่ผลจะออกอย่างไร ทุกผลมีกฏรองรับครับ

--------------------------------------------------------------------------

2.6 สมาชิกจะต้องรับประกันพระแท้ตามมาตรฐานปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ระบุไว้บนหน้ารายการประมูลพระเครื่องก็ตาม ถ้าผู้ชนะประมูลได้ตรวจสอบพระเครื่องแล้วปรากฏว่าเป็นพระเครื่องไม่แท้ตามมาตรฐานปัจจุบันจริงจากผลการตรวจสอบของสถาบันการันตีพระ ผู้ตั้งประมูลจะต้องคืนเงินเต็มจำนวนให้แก่ผู้ชนะประมูลพร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบพระเครื่อง 500 บาท หากผู้ตั้งประมูลผิดข้อตกลงข้างต้น ผู้ตั้งประมูล ยินดีให้ผู้ชนะประมูลขอข้อมูลส่วนตัวของผู้ตั้งประมูลนำไปดำเนินคดีกฏหมายอาญาต่อไปได้

โดยคุณ bolblp (474)(1)   [ศ. 25 ม.ค. 2562 - 22:25 น.] #3898587 (7/7)
ขอบคุณทั้งสองท่านครับที่มาแลกเปลี่ยนความเห็นและชี้แนะ
ผมแค่อยากทราบทรรศนะในปัญหาเท่านั้น แม้ผมจะเคาะและจะเพิ่งได้รับพระมายังไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก็มาทราบว่าเว็บห้ามไว้ เมื่อผู้ลงนิ่งไม่ตอบกลับอะไรเลย ผมก็ไม่ติดใจครับ
ขอบคุณทั้งสองท่านในความเห็นข้างต้นอีกครั้งครับ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1