ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : สุดยอดพระเกจิ ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี"หลวงปู่หริ อคฺคสิริ"และ “หลวงปู่เกลี้ยง มนุญโญ”



(N)


สุดยอดพระเกจิ ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี "หลวงปู่หริ อคฺคสิริ"และ “หลวงปู่เกลี้ยง มนุญโญ”ได้พบทั้งสองท่านทักทายสนทนากันอย่างสนิทสนมกัน ยิ้มแย้ม ดั่งเพื่อนที่ไม่ได้พบกันมานาน และท่านทั้งสองได้นำเครื่องรางของขลังมาแจกลูกศิษย์ ท่านทั้งสองมีเมตตามากครับ คนแน่นแย่งกันท่านก็ยังแจกด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มมีเมตตา น่าเค่ารพเลื่อมใสมากครับ

โดยคุณ หนุมาน55 (2.5K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 09:47 น.]



โดยคุณ หนุมาน55 (2.5K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 09:51 น.] #1988841 (1/14)


(N)
ประวัติโดยย่อของหลวงปู่หริ อคฺคสิริ
วัดละหาร อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

หลวงปู่หริ อคฺคสิริ อายุ ๙๐ ปี มีนามเดิมว่า สิริ มณีวัฒนา เกิดเดือนเม.ย. พศ. ๒๔๖๓ ปีวอก ที่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เมื่ออายุ ๑๗ ปีติดตามพระผู้ใหญ่มาอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม จ.ธนบุรี และได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระเทพสิทธินายก(หลวงปู่นาค) เป็นพระอุปัํชฌาย์ระหว่างนั้นได้เรียนกรรมฐานกับหลวงปู่นาคและหลวงปู่ขวัญ ซึ่งเป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต และเรียนนักธรรมควบคู่ไปด้วย พออายุ ๒๑ จึงย้ายกลับมา จ.สุพรรณบุรี ทำการอุปสมบท โดยมีพระเมธีธรรมสาร(หลวงพ่อไสว) วัดบ้านกร่าง เจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วได้มีโอกาสพบกับหลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย ที่มาปรุงศาลา หลวงปู่ฯจึงได้มีโอกาสช่วยงานจนหลวงพ่อแต้มเอ็นดูเป็นอย่างมาก จึงได้ถ่ายทอดวิชาเกราะเพชรที่ท่านเรียนจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค แก่หลวงปู่ฯจนหมดสิ้น ต่อมาญาติที่อยู่อ.บางปลาม้าได้มานิมนต์ไปอยู่วัดขวางสอนปริยัติธรรม ที่วัดขวางนี่เองที่หลวงปู่หริได้ใกล้ชิดรับใช้และเรียนกรรมฐานและพระเวทย์วิทยาสายหลวงพ่อเนียม วัดน้อย กับหลวงพ่อโต เจ้าอาวาส เนื่องจากหลวงพ่อโตท่านเป็นศิษย์สายตรงของหลวงพ่อเนียมแถมยังได้เรียนกับหลวงพ่อครุฑ อดีตเจ้าอาวาสซึ่งเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อเนียมเพราะวัดขวางกับวัดน้อยนั้นอยู่ติดกัน ระหว่างนั้นเองหลวงปู่หริได้ไปรับใช้และร่ำเรียนวิชากับหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาวซึ่งก็เป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคเหมือนหลวงพ่อแต้ม วัดพระลอยและยังมีโอกาสได้พบและขอความรู้จากหลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ (ลูกศิษย์หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน) เจ้าของเครื่องรางตุ๊กแกดัง รวมเวลาที่หลวงปู่ฯศึกษาเล่าเรียนในสายหลวงปู่เนียมที่อ.บางปลาม้าเป็นเวลาถึง ๑๑ ปี พอดีขณะนั้นทางวัดน้อย(วัดหลวงพ่อเนียม)เกิดปัญหาว่างเจ้าอาวาสลง ทางเจ้าคณะจังหวัดและศึกษาธิการอำเภอขอให้หลวงปู่ฯไปรับตำแหน่ง หลวงปู่ฯปฏิเสธไม่รับแต่ยอมรักษาการดูแลให้เป็นเวลา ๑ ปีเพื่อรอให้คณะสงฆ์คัดเลือกผู้เหมาะสมมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อไป พอครบ๑ปีแล้วหลวงปู่ฯก็เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดบ้านกร่างอ.ศรีประจันต์บ้านเกิดของท่าน โดยปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อไสว พระอุปัชฌาย์ของท่านอยู่ระยะหนึ่ง ระหว่างนั้นได้มีโอกาสพบเจอหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่เป็นประจำเพราะหลวงพ่อมุ่ยมักมีกิจนิมนต์ร่วมกับหลวงพ่อไสว จังหวะนี้เองที่หลวงปู่หริได้ขอเรียนวิชากับหลวงพ่อมุ่ย แต่หลวงพ่อมุ่ยไม่ยอมสอนแบบองค์อื่นๆ โดยบอกว่า “ท่านหริเก่งแล้ว เรียนมามากกกว่าฉันอีก ฉันไม่ต้องสอนแล้ว แค่ชี้แนะก็พอ” หลวงปู่หริจึงได้รับคำชี้แนะเคล็ดต่างๆจากหลวงพ่อมุ่ยมาหมดสิ้น อยู่ต่อมาไม่นานหลวงพ่อไสวก็ส่งหลวงปู่ฯไปเป็นเจ้าอาวาสวัดดงขี้เหล็ก แต่หลวงปู่ฯปฏิเสธอีกเหมือนเดิมรับเพียงจะไปรักษาการให้ วัดดงขี้เหล็กขณะนั้นไม่มีโบสถ์ ทำให้หลวงปู่ฯและพระลูกวัดฯต้องไปลงโบสถ์ทำวัตรสวดมนต์ที่วัดเกาะซึ่งมีหลวงพ่อปุย ศิษย์หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นเจ้าอาวาส (หลวงพ่ออิ่มเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) การไปลงโบสถ์ที่วัดเกาะนี้เป็นประจำทำให้หลวงปู่ฯสนิทสนมและได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อปุยเป็นอย่างมากจนหลวงพ่อปุยถ่ายทอดวิชาให้ นอกจากนี้หลวงปู่ฯยังได้ศึกษากับหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ หลวงพ่อหรุ่น วัดเสาธงทอง และยังได้แลกเปลี่ยนกรรมฐาน พระเวทย์อาคมกับหลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง และ หลวงพ่อจวน วัดไก่เตี้ย หลวงปู่เจริญ วัดหนองนา ซึ่งเป็นสหธรรมิกรุ่นพี่อีกด้วย

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่าหลวงปู่หริเป็นเกจิอาจารย์ในยุคปัจจุบันที่ร่ำเรียนมามากที่สุดองค์หนึ่ง โดยมีอาจารย์ทั้งที่เรียนและแลกเปลี่ยนวิชารวมทั้งแนะนำมามากถึง ๑๖ องค์หรือเรียกได้ว่ามีพระอาจารย์โสฬส คือ ๑.หลวงปู่ขวัญ วัดระฆังฯ ๒.หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ ๓.หลวงพ่อโต วัดขวาง(ศิษย์หลวงพ่อเนียม วัดน้อย) ๔.หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว ๕.หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ(เจ้าตำรับตุ๊กแกดัง) ๖.หลวงหรุ่น วัดเสาธงทอง ๗.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย (ผู้สืบยันต์เกราะเพชรจากหลวงพ่อปาน) ๘.หลวงพ่อไสว วัดบ้านกร่าง ๙.หลวงพ่อปุย วัดเกาะ ๑๐.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ๑๑.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ฯ ๑๒.หลวงพ่อจวน วัดไก่เตี้ย ๑๓.หลวงพ่อเจริญ วัดธัญญวารี ๑๔.หลวงพ่อฮวด วัดดอนโพธิ์ทอง ๑๕.หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์ ๑๖.หลวงพ่อเล็ก วัดลาดหอย

โดยคุณ หนุมาน55 (2.5K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 10:13 น.] #1988869 (2/14)


(N)
ประวัติโดยย่อของหลวงปู่เกลี้ยง มนญโญ
วัดเนินสุทธาวาส จ.ชลบุรี

โด่งดังติดอันดับพระเกจิอาจารย์ยอดนิยมแห่งภาคตะวันออกมานานหลายปี ด้วยปฏิปทาอันงดงามและอาคมเข้มขลังของ หลวงปู่เกลี้ยง มนุญโญ หรือ พระครูพิศิษฐ์ชโรปการ แห่งวัดเนินสุทธาวาส ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี วันนี้หากเอ่ยชื่อของท่านรับรองว่า ผู้ศรัทธา และ ญาติโยม ทั่วสารทิศล้วนคุ้นเคยเป็นอย่างดี

ในอดีตดินแดนภาคตะวันออก โดยเฉพาะ จ.ชลบุรี เป็นศูนย์รวมใจพุทธศาสนิกชนมาช้านานแล้ว นับได้ว่าเป็นศูนย์สรรพวิชาอาคมต่าง ๆ มายาวนาน กลายเป็นตำนานเล่าขานถึงอดีตเกจิอาจารย์ที่โด่งดังหลายรูป ตั้งแต่ยุคหลวงพ่อทอง และหลวงพ่อโต หรือ พระอธิการโต วัดเนินสุทธาวาส ซึ่งวัตถุมงคลทุกรุ่นทุกประเภทของท่านได้รับความนิยมจากแวดวงนักนิยมพระไม่เป็นรองสำนักไหนทั้งสิ้น

ประวัติแต่เดิมของ วัดเนินสุทธาวาส (วัดเนิน) หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบหรือพอรู้บ้างแต่ไม่ละเอียดนัก จึงขอถ่ายทอดเพื่อเสริมเติมความรู้กัน วัดเนินสุทธาวาส จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองชลบุรีมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยเหตุที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เนินสูง จึงเป็นเหตุให้เดิมเรียกว่า วัดเนิน นั่นเอง

จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่สืบต่อกันมาว่า เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐ ระหว่าง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วีรกษัตริย์นักรบของไทย ทรงรวบรวมไพร่พลฝ่าวงล้อมของข้าศึกไปตั้งฐานที่มั่นที่เมืองจันทบุรีนั้น ทรงแวะประทับแรมที่วัดอินทาราม จ.ชลบุรี ภายหลังถูกเรียกว่า วัดใหญ่อินทาราม ทรงนิมนต์หลวงพ่อทองเจ้าอาวาสวัดเนิน (ชื่อวัดเดิมขณะนั้น) ร่วมเดินทางไปในกองทัพด้วย มูลเหตุสำคัญเนื่องเพราะหลวงพ่อทองเป็นพระเกจิอาจารย์เรืองวิชาอาคมแก่กล้า เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนในภาคตะวันออกยิ่งนัก

แม้ข้อมูลในข้างต้นไม่มีการบันทึกไว้ชัดเจน แต่เรื่องเล่าก็สอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดี โดยมีหลักฐานตั้งตระหง่านภายในวัดคือ พระอุโบสถหลังเก่า ที่มีลักษณะแอ่นโค้งท้องสำเภา ซึ่งได้รับความนิยมก่อสร้างกันมากในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่า วัดเนิน น่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและกาลเวลาผ่านไปนานหลายร้อยปี ก็คงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์สืบต่อกันมา กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางราชการเห็นควรให้เพิ่มคำว่า"สุทธาวาส" ต่อท้ายชื่อเดิมเพื่อความสละสลวย จนกลายเป็นชื่อ วัดเนินสุทธาวาส ในที่สุดราว พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอธิการโต อดีตเจ้าอาวาส พระเกจิอาจารย์ชื่อดังได้ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่และเปลี่ยนจากผนังไม้เก่าแก่กลายเป็นก่ออิฐถือปูน ก่อนจะได้รับการบูรณะใหญ่อีกครั้งใน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยน้ำพักน้ำแรงของพระครูพิศิษฐ์ชโรปการ (หลวงปู่เกลี้ยง) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ในฐานะผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชาต่าง ๆ จากหลวงพ่อโต วัดเนิน ทำให้ชื่อเสียงของ พระครูพิศิษฐ์ชโรปการ (หลวงปู่เกลี้ยง) เป็นที่รู้จักคุ้นเคยของผู้ศรัทธาในภาคตะวันออกและติดทำเนียบพระเกจิดังอีกรูปหนึ่งของ จ.ชลบุรี

ประวัติของ หลวงปู่เกลี้ยง เดิมชื่อ เกลี้ยง นามสกุล สุทธิพงศ์ บิดาชื่อ นายเปล่ง มารดาชื่อ นางเนียม เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๖๑ ณ บ้านหมู่ ๑๐ ต.หนองข้างคอก อ.เมือง จ.ชลบุรี มีพี่น้องร่วมอุทร ๓ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๒ในวัยเยาว์ท่านไปอาศัยอยู่กับคุณตาคุณยายที่บ้านหนองข้างคอกจนอายุได้ ๘ ขวบ ก็ย้ายไปอยู่กับคุณปู่คุณย่าที่บ้านหัวฝาด ต.บ้านสวน จนใน พ.ศ. ๒๔๗๐ ก็เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาลวัดเนิน เรียนอยู่ประมาณ ๒ ปี ก็ย้ายกลับไปอยู่กับคุณตาคุณยาย และเรียนหนังสือที่วัดผาสุการาม
ขณะท่านอายุได้เพียง ๑๔ ปี โยมมารดาก็เสียชีวิตลง จึงบรรพชาเป็นสามเณรหรือบวชหน้าไฟอุทิศผลบุญให้บุพการีเป็นเวลา ๗ วัน เมื่อครบกำหนดก็ลาสิกขาไปช่วยบิดาทำนาและเรียนหนังสือต่อ จนอายุ ๑๕ ปี ขณะอยู่ชั้นประถมปีที่ ๓ อายุได้ ๑๗ ปี ก็ย้ายไปอยู่ใน ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี ครั้นอายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้วโยมบิดาก็ให้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเนินสุทธาวาส (วัดเนิน) ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๘๒ นั่นเอง โดยมีพระครูศรีสัตยาภิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดต้นสน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสัน ธัมฺมสโร เจ้าอาวาสวัดเนินสุทธาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสรวุฒิสมาจารย์ เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า มนุญโญ โดยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้มาตลอดอย่างไรก็ตาม ระหว่างอยู่ในเพศบรรพชิตได้เพียง ๕ พรรษา พระอธิการสัน ลาสิกขา คณะสงฆ์จึงมีมติแต่งตั้งให้ พระเกลี้ยง (หลวงปู่เกลี้ยง) รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเนินสุทธาวาสนาน ๑ ปี จนกระทั่งวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเนินสุทธาวาสและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูพิศิษฐ์ชโรปการจนปัจจุบัน

หลวงปู่เกลี้ยง เคยเล่าให้ศิษย์ฟังว่าประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ขณะเดินธุดงค์เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานบริเวณเขาพงพราน ต.หนองข้างคอก อ.เมือง จ.ชลบุรี เกิดนิมิตเห็นสิ่งลี้ลับ เชื่อว่าเป็นเทพยดามาบอกว่า สถานที่แห่งนี้ภายภาคหน้าจะเป็นที่สำคัญของประเทศชาติและพระพุทธศาสนา และให้ช่วยหาทุนก่อสร้าง ท่านจึงสร้างสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นมา ชื่อว่าสวนป่านันทวันอาศรม และสร้างมหาธาตุเจดีย์ขนาดใหญ่ดุจดั่งเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย ประดิษฐานไว้เป็นอนุสติ น้อมรำลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตตั้งแต่วัยหนุ่มจนสิริอายุ ๙๓ ปี หลวงปู่เกลี้ยง ทุ่มเทและพัฒนาสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้วัดเนินสุทธาวาสและศาสนสถานต่าง ๆ เป็นที่สืบสานพระพุทธศาสนาอย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก โดยท่านไม่เคยบ่นหรือแสดงความท้อถอยเลย ด้านวัตถุมงคลและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของญาติโยม หลวงปู่เกลี้ยง เคยสร้างวัตถุมงคลและอธิษฐานจิตเข้มขลังมาก ที่ดังกระหึ่มและได้รับความนิยมมาก ๆ คือ หนุมาน พระปิดตา เหรียญรูปเหมือน โดยท่านสร้างและปลุกเสกตามตำรับ หลวงพ่อโต อดีตเกจิดังและอดีตเจ้าอาวาสวัดเนินสุทธาวาส (วัดเนิน) ซึ่งท่านมีศักดิ์เป็นเหลนของหลวงพ่อโตอีกด้วย นับว่าเป็นผู้สืบสายโลหิตแห่งสรรพวิชาอาคมขลังโดยแท้หลวงปู่เกลี้ยงท่านเคยสร้าง พระกริ่งวชิรญาณและเหรียญหนุมานแปดเหลี่ยมแปดกร (หนุมานครองนคร) ผู้เช่าบูชาล้วนประสบพบเจอประสบการณ์คงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด ทำให้ลูกศิษย์ต่างเสาะหาวัตถุมงคลติดตัวกันทั่วสารทิศ

ด้วยความทุ่มเทอุทิศเพื่อพระพุทธศาสนา ประกอบกับชราภาพ พระครูพิศิษฐ์ชโรปการ หรือหลวงปู่เกลี้ยง ได้อาพาธด้วยภาวะปอดติดเชื้อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน จนมีผู้ไม่หวังดีปล่อยข่าวลือถึงขั้นว่าท่านมรณภาพ ซึ่งท่านไม่ถือโกรธ เพราะยึดเมตตาเป็นที่ตั้ง ท่านยังฝากไปถึงลูกศิษย์ทุกคนว่าไม่ต้องเป็นห่วง ยังสบายดีและสุขภาพแข็งแรงดีแล้ว

โดยคุณ หนุมาน55 (2.5K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 10:22 น.] #1988877 (3/14)


(N)
งานพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้พี่ท่านนี้ครับ คุณวีระ (ปุ๋ย) ศรีนรินทรานนท์ ผู้จัดสร้างและดูแลเอาใจใส่ทุกๆอย่างครับ ขอบคุณมากครับที่มอบสิ่งดีๆให้ครับ

โดยคุณ หนุมาน55 (2.5K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 10:29 น.] #1988886 (4/14)


(N)
ครูบาอริยชาติ ได้เข้าไปกราบหลวงปู่เกลี้ยงครับ ที่งานพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

โดยคุณ หนุมาน55 (2.5K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 10:31 น.] #1988889 (5/14)


(N)
ป๋าอ้วน วังหลัง ได้ถ่ายรูปกับ ครูบาอริยชาติ ด้วยครับ ป๋าอ้วนหล่อมากขอบอก

โดยคุณ หนุมาน55 (2.5K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 10:36 น.] #1988899 (6/14)


(N)
หลวงปู่คำบุ พระเกจิอาจารย์ ในดวงใจของผมเลยครับ

โดยคุณ หาญชัย (578)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 10:50 น.] #1988922 (7/14)
ขอบคุณมากๆครับ พี่ หนุมาน55....ข้อมูลแน่นๆแบบนี้
(เฮงๆรวยๆนะครับ)

โดยคุณ Challenge (2.7K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 10:56 น.] #1988930 (8/14)
ขอบคุณเช่นกันสำหรับข้อมูลดีๆ ครับพี่หนุมาน555555555555

โดยคุณ Lerm_kawilo (617)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 11:21 น.] #1988952 (9/14)
ยอดเยี่ยมมากๆครับ

โดยคุณ จ๊าริมน้ำ (28.4K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 16:15 น.] #1989235 (10/14)
ขอบคุณครับพี่ หนุมาน55...

โดยคุณ tanavan (3.4K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 16:52 น.] #1989281 (11/14)
ขอบคุณมากๆครับ พี่ หนุมาน55....สำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้

โดยคุณ หนุมาน55 (2.5K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 17:42 น.] #1989355 (12/14)
โดยคุณ หาญชัย (316) (110.168.130.*) [15 Dec 2011 10:50] #1988922 (7/11)

ขอบคุณมากๆครับ พี่ หนุมาน55....ข้อมูลแน่นๆแบบนี้
(เฮงๆรวยๆนะครับ)



โดยคุณ Challenge (1169) (27.55.3.*) [15 Dec 2011 10:56] #1988930 (8/11)

ขอบคุณเช่นกันสำหรับข้อมูลดีๆ ครับพี่หนุมาน555555555555



โดยคุณ Lerm_kawilo (243) (110.49.248.*) [15 Dec 2011 11:21] #1988952 (9/11)

ยอดเยี่ยมมากๆครับ



โดยคุณ จ๊าริมน้ำ (10408) (58.9.98.*) [15 Dec 2011 16:15] #1989235 (10/11)

ขอบคุณครับพี่ หนุมาน55...



โดยคุณ tanavan (1556) (58.9.148.*) [15 Dec 2011 16:52] #1989281 (11/11)

ขอบคุณมากๆครับ พี่ หนุมาน55....สำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้

ขอบคุณพี่ๆทุกท่านครับ ยินดีมากที่ได้รู้จักทุกท่านครับ

โดยคุณ pproximo (1.4K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 19:42 น.] #1989525 (13/14)
ขอบคุณพี่ หนุมาน55

ข้อมูลยอดเยี่ยมไปเลยครับ


โดยคุณ ออสก้า99 (7.3K)  [พฤ. 15 ธ.ค. 2554 - 21:51 น.] #1989886 (14/14)
ยอดเยี่ยมครับสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้


!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1