ผมเองไม่มีความรู้ด้านวิศวกรรมเท่าไรนัก แต่ผมได้สอบถามข้อมูลเรื่องบรอนซ์นอกจากคุณปราโมทย์ เตียสุวรรณ์ (บมจ.แพรนด้า จิวเวลรี่)&#8203 ได้ใจความสรุปสั้นๆ ดังนี้ครับ (ต้องขออภัยท่านผู้้รู้ด้วยนะครับถ้าผมอธิบายผิดพลาด เพราะยอมรับว่าด้านข้อมูลในเชิงวิศวกรรมนี้ผมไม่สันทัดจริงๆ)
"บรอนซ์" หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า "เนื้อสัมฤทธิ์" หรือ "ทองสัมฤทธิ์" และเป็นชื่อโลหะที่มีความหมายดี เพราะเป็นการบ่งบอกถึงความสำเร็จ
"บรอนซ์" เป็นการผสมของโลหะ 4 ชนิดเข้าด้วยกัน (ตามข้อมูลจากเนื้อบรอนซ์ของแพรนด้า จิวเวลรี่นะครับ) คือ ทองแดง, สังกะสี, ดีบุก และแมงกานีส จริงๆ แล้วเนื้อบรอนซ์กับเนื้อทองแดงบริสุทธิ์นั้นมีความใกล้กัน แต่การใช้เนื้อทองแดงบริสุทธิ์ในการหล่อพระนั้นจะเป็นเรื่องยากเพราะมีความแข็งและจุดหลอมเหลวสูงมาก การควบคุมคุณภาพก็ทำได้ยาก จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการหล่อพระเนื้อทองแดงนั้นจะพบ "ตามด" หรือรูพรุนได้ทั่วไป แต่สำหรับเนื้อ "บรอนซ์" นั้นได้มีการผสมสังกะสี, ดีบุก และแมงกานีสเข้าไปด้วย เปรียบเสมือนสาร Compound ที่ทำให้เนื้อโลหะนั้นตึงขี้นและช่วยลดจุดหลอมเหลวให้ต่ำลงกว่าทองแดงบริสุทธิ์ จึงสามารถควบคุมคุณภาพผลงานได้ดีกว่าการหล่อทองแดงบริสุทธิ์
ที่สำคัญเนื้อบรอนซ์นั้นมีเสน่ห์ในความเป็นโลหะผสมที่มีสีและความตึงผิวที่ดีกว่าเนื้อโลหะอื่นๆ ที่ใช้หล่อ โดยเฉพาะปัญหา&#8203 "ตามด" นั้นแทบจะหมดไปด้วย เนื่องจากการหล่อเนื้อบรอนซ์ที่ดีนั้นจะไม่ใช้การ "เข้าปูน" ในการหล่อพิมพ์เหมือนการหล่อเนื้อทองเหลืองทั่วๆ ไป แต่จะใช้การหล่อด้วย "เซรามิก" หรือ "เข้าเซรามิก" ซึ่งจะช่วยให้ผลงานมีความคมชัดขึ้นมากๆกอปรกับการหล่อเนื้อบรอนซ์นั้นต้องใช้อุณหภูมิที่สูงมากราว 1,000 องศาเซลเซียสซึ่งต้องใช้เตาไฟฟ้าที่สามารถควบคุณอุณภูมิให้คงที่ได้เท่านั้น ทั้งหมดนี้ต้องแลกกับต้นทุนทีสูงขี้นอีกค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับการหล่อทองเหลืองทั่วๆ ไป
"บรอนซ์" ที่ใช้ในการหล่อของบมจ.แพรนด้า จิวเวลรี่นั้น เป็นเนื้อบรอนซ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องเพิ่มคำว่า "นอก" ซึ่งหมายถึงการนำเข้าจากนอกประเทศนั่นเอง เนื้อบรอนซ์แต่ละประเทศก็มีคุณภาพแตกต่างกัน และทางแพรนด้าได้เลือกนำเข้าเนื้อบรอนซ์จากประเทศญี่ปุ่นซึ่งขี้นชื่อเรื่องวัตถุดิบโลหะที่มีคุณภาพ
และนี่คือเป็นที่มาของคำว่า "บรอนซ์นอก" โลหะที่มีศักดิ์ศรีไม่แพ้โลหะราคาแพงอื่นๆ เลย... |
|