(N) ประวัติพระวิมลเมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดตราด (ธ)
ประวัติพระวิมลเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุพจน์ ฐิตพฺพโต เทพเจ้าแห่งเสือสมิง)นามเดิม สุพจน์ นามสกุล รัตนพาหิระ อายุ ๗๒ พรรษา ๕๒ พรรษา เกิดเมื่อวันพุธ (ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา)
เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๘ ณ บ้านเลขที่ ๔๐ ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด เป็นบุตรของพ่อสวงษ์ และแม่พร รัตนพาหิระ มีพี่น้องรวม 8 คน
ในวัยเด็กหลวงพ่อสุพจน์ ได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดคีรีวิหาร ต.ชำราก อ.เมือง จ.ตราด โดยสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน การศึกษาจึงต้องไปเรียนที่วัด หลวงพ่อ
ได้ศึกษาเล่าเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ ซึ่งสมัยนั้นก็นับว่ามากแล้ว ผู้ใกล้ชิดหลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ตอนเป็นหนุ่มอุปนิสัยของหลวงพ่อมีนิสัยดื้อรั้นบ้างแต่ไม่มาก
แต่เป็นคนจริง จึงเป็นเหตุที่หลวงพ่อประสพผลสำเร็จในการปฎิบัติธรรม จนมีกิตติศัพท์ขจรขจายไปทั่วจังหวัดตราดและในเขตใกล้เคียง เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
จึงได้อุปสมบท ณ วัดคีรีวิหาร เมื่อวันที่ 22พ.ค.2508 มีพระวินัยบัณฑิต (ถาวร ฐานุตฺตโร ป.ธ.7)วัดวรดิตถาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาทองดี อนาวิไล
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้รับฉายาว่า "ฐิตพฺพโต"แปลว่า "ผู้มีวัตรอันตั้งอยู่แล้ว"ในพรรษาแรกหลวงพ่อได้ตั้งใจเจริญวิปัสสนากรรมฐานควบคู่ไปกับการศึกษา
พระธรรมวินัยพร้อมทั้งท่องบ่นสาธยายมนต์ และหนังสือนวโกวาท ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของพระสายกรรมฐาน อีกทั้งยังได้ออกธุดงค์เดี๋ยว เพื่อดำรงธรรม
ของพระพุทธเจ้า และเพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ เมื่อครั้งจาริกไปเมืองเหนือ ได้เข้ากราบนมัสการขอเป็นศิษย์ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ศิษย์สายพระอาจารย์มั่น
แห่งวัดถ้ำผาป่อง จังหวัดเชียงใหม่ และบำเพ็ญภาวนาอยู่นานหลายปี ท่านได้มอบตัวเป็นศิษย์และอยู่ศึกษาอบรมสมาธิในสายหลวงปู่มั่นเรื่อยมา ด้วยความเด็ดเดี่ยวและ
จริงใจหลวงพ่อสุพจน์ได้ตั้งปณิธานว่า จะเป็นก็เป็น จะตายก็ตาย ขอเพียงให้จิตมุ่งอยู่แต่สมาธิภาวนาเท่านั้นขณะที่ศึกษาอยู่กับหลวงปู่สิม หลวงพ่อได้เรียนรู้ข้อปฏิบัติ
อันเป็นเครื่องขูดเกลากิเลส ตลอดถึงจิตภาวนา ตามหลักพระธรรมวินัย ซึ่งหลวงพ่อได้สืบทอดข้อวัตรปฏิบัติเรื่อยมา และอุบาสก อุบาสิกาในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมี
ครูบาอาจารย์อีกหลายท่านที่หลวงพ่อสุพจน์ได้เคยเข้าไปศึกษาอบรมสมาธิภาวนา เช่น หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ จังหวัดหนองคาย,หลวงปู่เทศน์ เทสรังสี จังหวัดหนองคาย,
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร จังหวัดเลย,หลวงพ่อคำพอง จังหวัดขอนแก่น,หลวงพ่ออ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุม จังหวัดชลบุรี,พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร,หลวงปู่ขาว อนาลโย,
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโณ จังหวัดอุดรธานี,หลวงพ่อศรี ฐิตธมฺโม ถ้ำเหวลึก จังหวัดสกลนคร,หลวงพ่อสรวง สิริปุญโญ วัดศรีฐานใน จังหวัดยโสธร,หลวงพ่ออินทร์ กุสลจิตโต
วัดสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่,หลวงพ่อจันทร์โสม กิตติกาโม ทายาทหลวงปู่สิม,หลวงพ่อประสิทธิ์ จังหวัดเชียงใหม่ และอีกหลายๆ รูปในสายกรรมฐานวิปัสสนา หลวงพ่อได้
จำพรรษาอยู่ทีวัดวรดิตถารามถึง พ.ศ.๒๕๑๒ เพื่ออุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์ พร้อมทั้งศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม และหลวงพ่อได้แบบอย่างความเป็นพระสุปะฏิปันโน
จากพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อเอง คือ เป็นพระมักน้อย สันโดษ มีศีลาจารวัตรที่งดงาม ควรแก่การกราบไหว้เป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อสุพจน์ได้สร้างบารมีอยู่ในป่าเขา และได้บำเพ็ญ
เพียรออกธุดงค์ เพื่อเผยแผ่พระธรรม คำสอนตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลายาวนาน เมื่อหลวงพ่อมีพรรษา ๕ พรรษาได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ห้วงพัฒนา หลวงพ่อสุพจน์เป็นพระภิกษุ
ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีข้อวัตรปฏิบัติงดงาม ท่านมีความเพียร มุ่งมั่นในการปฏิบัติจนมีชื่อเสียง เป็นที่ศรัทธาของญาติโยมทั้งในห้วงพัฒนา และพื้นที่ห่างไกล จากการที่หลวงพ่อ
ตั้งอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติอันดีงาม เสมอต้นเสมอปลาย ตั้งแต่ยังมีอายุพรรษาไม่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเดินจงกรม ที่หลวงพ่อได้เน้นเป็นพิเศษ หลวงพ่อมิเคยขาดการทำวัตร
ทั้งเช้าและเย็น ยกเว้นวันที่ท่านติดกิจธุระทางพระศาสนา และกิจวัตรอีกอย่างหนึ่งที่หลวงพ่อปฏิบัติมิเคยขาด คือ การทำสมาธิภาวนาทั้งเช้าเย็น นอกจากนี้หลวงพ่อยังได้สงเคราะห์วัตถุ
และปัจจัยทั้งในวัดและนอกวัด โดยมีเมตตาคุณเป็นที่ตั้ง จึงทำให้ญาติโยม สาธุชนทั้งหลายได้ยกย่องหลวงพ่อเป็นพระสุปะฏิปันโนอีกรูปหนึ่ง |
|