(N) พระครูมงคลธรรมธีรคุณ (บุญ ธมฺมธีโร)
อายุ ๙๘ปี วัดบ้านหมากมี่ ต.กระโสบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
หลวงปู่บุญ ธมฺมธีโร พระเถระผู้มีรัตตัญญูกาล ศิษย์ในสาย หลวงปู่ธรรมโสดาโสม
วัดบ้านเหล่าแดง และหลวงปู่ธรรมบาลผุย สหธรรมิก หลวงปู่สำเร็จลุน
(อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม) จ.อุบลราชธานี และ หลวงปู่บุญ ยังเป็นน้องในสายธรรมของ
หลวงปู่ทา ธมฺมธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านหมากมี่ ลูกศิษย์พระครูวิโรจน์รัตโนบล ผู้ร่วมเดินทางไปบูรณะพระธาตุพระพนม เมื่อปี ๒๔๔๔
หลวงปู่บุญ ท่านเรียนวิชาเทพนิมิต (ขอโชคลาภ) จากหลวงปู่ธรรมโสดาโสม เรียนวิชา
ป้องกันภัย ไร่ผี ถอดถอนป้องกันภัย ด้วยหัวใจบารมีพระพุทธเจ้า พระคาถาหัวใจบารมี ๑๐ชาติ
อัตตชีวประวัติ หลวงปู่บุญ ธมฺมธีโร เกิดเมือวันเสาร์ ที่ ๒๔ มกราคม ๒๔๖๓ ในตระกูลนาเลิง
เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๕ คน และมีน้องต่างบิดาอีก ๑ คน ที่บ้านคำใฮใหญ่
อ.ดอนมดแดง จ.อุบลฯ ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนชั้นประถม ช่วงแรกจบ ป.๒ เพราะต้องออกมา
ช่วยพ่อแม่ทำนา ต่อมาจึงได้เข้าศึกษาจนจบประถม ป.๔ เมืออายุคบ ๒๐ ปีจึงได้อุปสมบท
โดยความเมตตาของ หลวงปู่ธรรมโสดาโสม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ธรรมโสดาได้ให้ความเมตตาพร่ำสอนสรรพวิชาต่างให้หลวงปู่บุญและชอบเรียกหลวงปู่บุญว่า เจ้าคุณซึ่งผิดแปลกนิสัยของท่านธรรมโสดาโสมที่ท่านจะดุด่าพระเณรจนได้ฉายาว่า ญาท่านเสือ แห่งบ้านเหล่าแดง ญาถ่านเสือ หรือหลวงปู่ธรรมโสดาโสมท่านเป็นศิษย์ยุคต้นของ ท่านธรรมบาลผุย อดีตเจ้าอาวาส วัดมนีวนาราม เจ้าคณะเมืองอุบล รูปที่5 ต่อจาก ท่านพระอริยวงศาจารย์(สุ้ย) ท่านธรรมบายผุย ท่านเก่งกล้าวิชา มนต์กระจาย พระธรรมวินัย บาลี ในเรื่องภาษา รับรู้ได้แม้กระทั้งภาษาสัตว์ในสมัยนั้นชื่อเสียงท่านธรรมบายผุย โด่งดังไปจนถึงฝากฝั่งโขงเมืองนครจำปาสักเป็นเหตุให้ สำเร็จลุน วัดเวินไช ได้มาสนทนาธรรมอยู่เป็นประจำ ท่านธรรมบาล (ผุย) ท่านมีลูกศิษย์ที่มีคนรู้จักในยุคๆหนึ่งเช่น พระครูวิโรจน์ วัดทุ่งศรีเมือง หลวงปู่ธรรมโสดาโสม
วัดบ้านเหล่าแดง ในขณะนั้นหลวงปู่ทา ธมฺมธโร ในวัยหนุ่ม
ได้มาศึกษาตำราวิชามนต์กระจาย กับหลวงปู่ธรรมโสดาโสม หลายปี หลวงปู่ทา และ
หลวงปู่บุญจึงนับถือเป็นพี่น้องในสายธรรมกัน ในช่วงหลวงปู่บุญกำลังหัดเรียนพระปราฏิโมข์นั้นโยมบิดาจึงขอให้ลาสิกขา เนื่องจากเป็นบุตรคนโตไม่มีใครทำไร่ไถนาช่วย ต่อมาจึงได้มีครอบครัวอยู่ที่ ต.กระโสบ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากบ้านหมากมี่นัก
ครั้งเมื่อ สมเด็จมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เดินทางมาเยี่ยมบ้านเกิด หลวงปู่บุญ ได้ติดตาม หลวงปู่หมาย วัดบ้านบ่อหวาย ไปต้อนรับที่ท่าเรือและได้หามเสลี่ยง เจ้าประคุณสมเด็จ
ส่งต่อหมู่บ้านต่อหมู่บ้าน ไปยังวัดบ้านเหล่าแดง เพื่อสนทนาธรรมกับหลวงปู่ธรรมโสดาโสม และตกแต่งถนนหมู่บ้านสู่หมู่บ้าน จึงกลายเป็นถนนสมเด็จในปัจจุบัน
เหตุสู่รมกาสาวพัสตร์ ครั้งที่ สอง เมื่อผู้มีพระคุณ อย่างหลวงปู่ทา ธมฺมธโร ได้เอยปากขอให้บวชเพื่อให้ได้ครอบองค์กฐิน หลวงปู่บุญได้เห็นว่าภาระทางครอบครัวไม่มีแล้วจึงเติมใจที่จะกลับมาสู่รมกาสาวพัสตร์ ในปีนั้นหลวงปู่ทา ได้รับตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ทาจึงได้ให้การอุปสมบท หลวงปู่บุญ ในฐานะน้องในสายธรรม ได้ฉายา ว่า ธมฺมธีโร และอยู่ช่วยการศาสนากับหลวงปู่ทาโดยเฉพาะงานช่าง ซึ่งหลวงปู่บุญ ท่านมีฝีมือทางช่างไม้มาแต่เดิม หลวงปู่ทา จึงให้เป็นผู้นำในการซ้อมบำรุงกุฎิวิหารต่างๆ ในระหว่างที่อยู่กับหลวงปู่ทา นั้นได้ติดตามไปกราบ คูบาอาจารย์หลายท่านเช่น หลวงปู่สวน วัดนาอุดม โดยเฉพาะหลวงปู่บุญมี วัดบ้านนาเมือง ที่หลวงปู่ สนิดสนมมากที่สุด ไปๆมาๆ แก้ข้อสงสัยในธรรม อยู่เป็นประจำ ก่อนที่หลวงปู่ทา จะละสังขาร
ได้มอบหมายให้หลวงปู่บุญ ดูแลวัดวาศาสนา เมื่อหลวงปู่ทา ได้ ละสังขารลง หลวงปู่บุญจึงได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส สืบมา เมื่ออายุเข้าหลักเก้าจึงยากกลับไปจำพรราที่วัดบ้านบ่อหวาย
จะได้ใกล้ชิดกับลูกหลานเวลาป่วยไข้จะได้ไม่ลำบากขณะจำพรรษาที่วัดบ้านบ่อหวายไม่มีทีท่าที่จะกลับมาวัดบ้านหมากมี่ จึงเป็นเหตุให้จุกเสียดจิ้มแทงหน้าอกอยู่ตลอด คณะญาติจึงนำส่งโรงบาล50พรรษาหมอตรวจไม่พบอาการ ผิดปกติ แต่ยังคงมีอาการอยู่ตลอดเป็นช่วงๆ
หลายวันต่อมาจึงนำส่งโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์เพื่อให้แน่ใจอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่พบ อาการผิดปกติเช่นกัน หลวงปู่บุญกลับมาพักดูอาการที่เกิดอยู่หลายวัน จึงลำลึกนึกถึงเมื่อครั้งรับปาก
หลวงปู่ทา ว่าจะอยู่ดูแลวัดบ้านหมากมี่ จึง อฐิษฐาน ว่า ถ้าเหตุป่วยไข้เกิดจากหลวงปู่ทา เพราะผิดคำสัญญาก็ขอให้หาย ออกพรรษาจะกลับไป วัดบ้านหมากมี่ หลังจากคืนนั้น หลวงปู่บุญ ก็หายจากอาการดังกล่าวอย่างหน้าอัศจรรย์หลังจากนั้นหลวงปู่บุญจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหมากมี่ดังเดิมตราบเท่าปัจจุบัน หลวงปู่บุญท่านเรียนวิชาเทพนิมิต ความฝันท่าน ชาวบ้านจะเอามาตีเป็น เลขเด็จอยู่เป็นประจำใครที่มีโชคก็พากันร่ำรวยกันหลายคน
ในปี พ.ศ 2554 ได้รับรับพระราชทานสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศชั้นโท ในราชทินนาม พระครูมงคลธรรมธีรคุณ |
|