(N) ในจำนวนยันต์ทั้งหมด "ยันต์โสฬสมงคลและยันต์โสฬสมหามงคล" จัดเป็นยันต์ชั้นสูง ทำเป็นตัวเลข 3 ชั้น ชั้นนอกลงด้วยเลข 16 ตัว (โสฬส แปลว่า 16 ชั้นฟ้า มีความหมายถึงภูมิชั้นอรูปภูมิอันเป็นถิ่นที่อยู่ของพระพรหมทั้ง 16 ชั้น และหมายถึงพระพุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 16 ประการ) พระมหายันต์นี้ปรากฏหลักฐานในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงตั้ง "ศาลหลักเมือง" โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ "ยันต์มหาโสฬสมงคล" ประดิษฐานไว้ที่ส่วนยอด เพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองและมหามงคล ณ เสาหลักเมือง
พระยันต์นี้แม้แต่ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ผู้เจนจบใน พระยันต์ร้อยแปด ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นยันต์อันวิเศษสุดกว่ายันต์ทั้งปวง พระองค์ได้นำไปประทับในพระอุโบสถของวัดสุทัศนเทพวราราม และเขียนสอดใส่ไว้ใต้หมอนหนุนศีรษะตลอดเวลา จนกระทั่งท่านมรณภาพเมื่อปีพ.ศ.2487 ลูกศิษย์จึงได้พบแผ่นยันต์มหาโสฬสมงคล วางไว้ใต้หมอนของท่าน รวมถึง หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง ก็ได้อัญเชิญไปดัดแปลงจัดสร้างเป็นตะกรุดโสฬสอันลือลั่นด้วย
"ยันต์โสฬสมหามงคล" เป็นมหายันต์ที่เกิดจากการนำเอายันต์ 3 ชนิดมารวมกันไว้ โดยใช้ตัวเลขแทนด้วยความหมายมงคลต่างๆ จากภาพ ตรงกลางช่องเล็ก 9 ช่อง คือ ยันต์จตุโร ถัดมาวงกลางเป็น ยันต์สูตรตรีนิสิงเห และด้านนอกสุดเป็น ยันต์อริยสัจโสฬส ส่วนอักขระด้านนอกที่ล้อมยันต์อยู่ คือ พระคาถาบารมี 30 ทัศ พระยันต์นี้ไม่ได้บังคับการลงยันต์ด้านหลังไว้ |
|