(N)
เหรียญมังกรรุ่นแรก รุ่น รวยเจริญสุข หลวงปู่สุข วัดทรัพย์อุดมธรรม..ศิษย์หลวงพ่อพรหมสรรอด
----------------@@
ชีวประวัติหลวงปู่สุข ยโสธโร
พระครูสุวัฒน์ สังฆกิจ หลวงปู่สุข ยโสธโร เกิดวันที่ 15 เดือนกันยายน พ.ศ. 2479 บิดาชื่อ นายแสน มุ่งจุลกลาง มารดาชื่อ นางมี มุ่งจุลกลาง เกิดที่บ้านเกรียม ตำบลขามเฒ่า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา บิดามารดาตั้งชื่อท่านว่า "สุข" ท่านมีพี่น้อง 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 7 พออายุท่านได้ 7 ขวบ บิดามารดาของท่านได้เสียชีวิต ในปีเดียวกันทั้ง 2 ท่าน ท่านจึงอาศัยอยู่กับพี่สาวและพี่ชายของท่าน ครอบครัวของท่าน มีฐานะปานกลาง ประกอบอาชีพ ทำไร่ทำนา เลี้ยงวัวควาย พอท่านเรียนจบชั้นประถม 4 ท่านก็ออกมาช่วยครอบครัว ทำมาหากิน
ในสมัยนั้น บ้านเกรียมกับบ้านไพอยู่ไม่ไกลกันมากนัก ท่านได้มีโอกาสเข้าไปกราบหลวงพ่อพรหมสร (รอด) ซึ่งขณะนั้น หลวงพ่อพรหมสร (รอด) ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านไพ และได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด เฝ้าติดตาม ดูแลปรนนิบัติหลวงพ่อพรมสร(รอด) โดยตลอดมา โดยหลวงพ่อพรมสร (รอด)ได้ถ่ายทอดวิชา ความรู้ อักขระเลขยันต์คาถาอาคมให้จนแตกฉาน
เมื่อปี 2499 ท่านอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเกรียม ซึ่งขณะนั้นพระอุปัชฌาย์คือพระครูสุวรรณ จิลจาภิบาล หลังจากที่ท่านบวช ได้ 1 พรรษา วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2500 หลวงพ่อพรหมสร (รอด) ก็มรณภาพลง จากนั้นท่าน ก็เดินทางศึกษาวิชาวิปัสสนากัมมัฎฐานกับหลวงปู่อุ่น ฐิตธัมโม ซึ่งหลวงปู่อุ่นและหลวงพ่อพรหมสร(รอด) ท่านทั้งสองนั้นเป็นพระสหายกัน หลวงปู่สุขได้เล่าเรียนวิชาธรรมะและวิปัสสนากับหลวงปู่อุ่นจนแตกฉานและเฝ้าดูแลปรนนิบัติจนหลวงปู่อุ่นได้มรณภาพลง ต่อมาหลวงปู่สุขได้ไปขอฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่อินทร์ซึ่งมีฐานะเป็นพี่ชายของหลวงปู่สุข ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชากับหลวงปู่อินทร์และปรนนิบัติรับใช้ดูแลหลวงปู่อินทร์ ถึง 12 พรรษา เมื่อได้เล่าเรียนวิชากับหลวงปู่อินทร์จนหมดสิ้น ก็ขอกราบลาออกปฏิบัติธรรมและได้สร้างคุณประโยชน์แก่วัดและโรงเรียนทั่วไป
หลังจากหลวงปู่อุ่น ฐิตธัมโมมรณะภาพลงหลวงปู่สุขยังจำพรรษาที่วัดบ้านเกรียมชาวบ้านได้นิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านเกรียม
และท่านยังได้รับตำแหน่งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ที่สำนักเรียนวัดบ้านกลึง ตำบลขามเฒ่า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
หลวงปู่สุขได้ดำเนินงานจัดหาทุนสร้างพระอุโบสถเพื่อก่อสร้างซุ้มประตูรั้วรอบวัด บ้านเกรียมสมัยนั้นยังไม่มีทางเข้าวัดและโรงเรียน ท่านจึงได้ดำเนินการก่อสร้างทางเข้าวัดและโรงเรียน โดยได้ของบโครงการขุดสระลอกคูบึงเก่าจากรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรจำนวน 10 กว่าไร่ อีกทั้งท่านได้บริจาคปัจจัยที่ได้รับมาจากญาติโยมช่วยเหลืออวัดเป็นประจำทุกปี
เมื่อท่านได้ย้ายมาอยู่ที่วัดหนองบุนนาก ท่านได้ร่วมสร้างศาลาการเปรียญกับชาวบ้าน
เมื่อท่านได้มาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์แสนสุขสันติธรรม ท่านได้สร้างถนนคอนกรีตทางเข้าวัดและเมรุสำหรับฌาปกิจศพร่วมกับคณะญาติโยมชาวบ้าน
จนเห็นว่าในชีวิตของท่าน สามารถสร้างคุณประโยชน์แก่วัดได้หลายวัด โดยที่ตัวท่านมิได้มีเงินทองเลย อาศัยชาวบ้านที่ศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่าน มีลูกศิษย์ที่ศรัทธาเข้ามาหาท่านมากมาย บ้างก็มาหาเครื่องรางของขลัง บ้างก็มาให้ท่านสงเคราะห์ช่วยเหลืออาบน้ำมนต์สะเดาะห์เคราะห์ บ้างก็มาทำบุญสร้างกุศลบารมีร่วมกับท่าน หลวงปู่สุข เป็นพระนักพัฒนา มีญาณแก่กล้า รู้ล่วงหน้าว่าใครจะมาหา มาดีหรือมาร้าย จะมาทำอะไร ท่านเป็นพระสุปฏิปันโนที่มีจิตเมตตาสูง ท่านจะสงเคราะห์ญาติโยมที่มากราบท่านไม่เลือกแบ่งชั้นวรรณะ ท่านจะเมตตาสงเคราะห์โดยเท่าเทียมกัน
ปัจจุบันหลวงปู่สุข ยโสธโร อายุมากแล้ว 83ปี 63พรรษา ท่านยังออกโปรดญาติโยมรับบิณฑบาตเช้าทุกวันแม้จะอาพาธก็ไม่ยอมหยุด ท่านจะสวดมนต์ ทำวัตรเช้า 3 ชั่วโมง ทำวัตรเย็น 2 ชั่วโมง ไม่เคยขาด แม้จะขนาดลูกศิษย์มากราบขอรดน้ทำมนต์ท่านก็สงเคราะห์ให้ทั้งที่ท่านยังอาพาธอยู่เพราะท่านห่วงลูกศิษย์มากกว่าตัวเอง
**** คาถาประจำตัวหลวงปู่สุข
(๑) อุดธัง อัดโธ โทอุดธัง อัดอุดฯ
พระคาถานี้ (ของหลวงพ่อพรมสร(รอด) สำหรับใช้ทั่วไปแล ใช้ภาวนากลั้นใจเด็ดใบไม้พับเป็นรูป พอพาน (พ) เวลาเข้าผจญอันตราย ต่อสู้ เหน็บไว้ข้างหน้า ถ้าถอยให้เหน็บไว้ด้านหลัง หรือบริกรรมควบกับเหรียญรูปเหมือนท่านก็จะประเสริฐนักแลฯ
(๒) ยโสธะโร กิตติคุโณ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ยโสธะโร พุทธังโหม ธัมมังหอม สังฆังล้อม ปะสิทธิเม พุทธังคุ้ม ธัมมังกัน สังฆังรักษา สัพพะอันตะรายา ปิวินัสสันติฯ
....สำหรับภาวนาก่อนนำเหรียญหลวงปู่ขึ้นคล้องคอ ประเสริฐนักแลฯ
(๓) นะมะพะทะ นะชาลีติ ประสิทธิลาภา ปะสันนะจิตตา สัทธาโหนติ ปิยังปัพพะฯ
....ใช้สวดมนต์ภาวนานอน และภาวนาหาลาภ และเสกน้ำล้างหน้าก่อนออกไปประกอบอาชีพดำเนินกิจการงานทั่วไป ประเสริฐนักแลฯ
(อย่าลืมน้อมใจตั้ง นโม ๓ จบ ก่อนภาวนา ทุกครั้งและทุกบทที่จะใช้คาถานี้)
....จงเชื่อถือ อย่านับถือ...
(เชื่ออะไร จงเชื่อมั่นอย่าหวั่นคลอน จะถ่ายถอนโรคภัยไร้โรคา)
เรียบเรียงโดย
ฐานแซม พิมพ์นิยม |