ชาติภูมิ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มีนามเดิมว่า ปวง นามสกุล วงศ์เรือง เกิดเมื่อวันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 แรม 7 ค่ำ เดือน 8 (เดือน 10 ตามปฏิทินล้านนา) ปีมะเส็ง ณ บ้านสางเหนือ ตำบลบ้านสาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โยมบิดาชื่อพ่อหนานปุ๊ด วงศ์เรือง โยมมารดาชื่อ แม่หลวง วงศ์เรือง
อุปสมบท
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 (เดือน 8 เหนือ) ปีวอก ณ วัดสางเหนือ ตำบลบ้านสาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยมีพระอุปัชฌาย์ชื่อเจ้าอธิการตื้อ ธมฺมวํโส วัดศรีบุญเรือง ตำบลบ้านสาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2481 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 (เดือน 9 เหนือ) ปีขาล ณ พัทธสีมาวัดสางเหนือ โดยมีพระอุปัชฌาย์ชื่อเจ้าอธิการตื้อ ธมฺมวํโส วัดศรีบุญเรือง พระกรรมวาจาจารย์ พระปวง ธมฺมวโร วัดศรีบุญเรือง ตำบลบ้านสาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และพระอนุสาวนาจารย์ พระตุ้ย ญาณรํสี วัดสันกว๊าน ตำบลบ้านสาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ได้รับฉายานามว่า ธมฺมปญฺโญ
วิทยฐานะ
จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านสาง ตำบลบ้านสาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
พ.ศ. 2475 สอบได้นักธรรมชั้นตรี สำนักศาสนศึกษาวัดสางใต้ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
พ.ศ. 2483 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2484 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2485 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2487 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
การปกครองคณะสงฆ์
พ.ศ. 2484 เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองชุม
พ.ศ. 2484 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองพะเยา
พ.ศ. 2490 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2497 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีอุโมงค์คำ (วัดสูง )
พ.ศ. 2501 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2512 เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ต่อมาวัดได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
พ.ศ. 2521 เป็นเจ้าคณะจังหวัดพะเยา
พ.ศ. 2526 เป็นรองเจ้าคณะภาค 6
พ.ศ. 2542 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6
งานด้านการศึกษา
พ.ศ. 2476 เป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนวัดสางเหนือ
พ.ศ. 2488 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดเมืองชุม
พ.ศ. 2503 เป็นผู้จัดตั้งโรงเรียนพินิตประสาธน์
พ.ศ. 2517 เป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดศรีโคมคำ
พ.ศ. 2534 เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตพะเยา
พ.ศ. 2542 เป็นประธานสภาวิทยาเขต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
งานพิเศษ
เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธจังหวัดพะเยา
เป็นกรรมการที่ปรึกษาราชประชานุเคราะห์
เป็นกรรมการปริวรรตหนังสือล้านนาไทยปัจจุบันตามโครงการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นกรรมการที่ปรึกษาจัดทำพจนานุกรมล้านนาฉบับไร่แม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นกรรมการที่ปรึกษาจัดทำพจนานุกรมล้านนา ฉบับวิทยาลัยครูเชียงใหม่
เป็นกรรมการที่ปรึกษาศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา
เกียรติคุณที่ได้รับ
พ.ศ. 2526 ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
พ.ศ. 2528 ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติในโครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองจาก ฯ พณ ฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2529 ได้รับยกย่องเชิดชูด้านการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาจากคณะกรรมการอำนวยการงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานโล่ผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2533 ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขามนุษยศาสตร์ จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535 ได้รับการถวายปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ จากวิทยาลัยครูเชียงราย
พ.ศ. 2536 ได้รับเกียรติคุณ คนดีศรีสังคม ของมูลนิธิประภาส อวยชัย
พ.ศ. 2538 ได้รับการถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
พ.ศ. 2540 ได้รับเข็มและโล่ประกาศเกียรติคุณผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่นประจำปี 2541 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2545 ได้รับการถวายปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2550 ได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 สาขาปริญญาจาก 3 มหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2557 ได้รับการถวายถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยพะเยา[3]
สมณศักดิ์
พ.ศ. 2489 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษที่ พระครูพินิตธรรมประภาส
พ.ศ. 2499 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระโศภนธรรมมุนี[4]
พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวิสุทธิโสภณ วิมลสีลาจารวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
พ.ศ. 2532 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิสุทธิเวที ศรีปริยัติวิภูษิต วุฒิกิจวธรปกร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
พ.ศ. 2537 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวิมลโมลี ศรีกิตติโสภณ โกศลพิพิธกิจจานุกิจ วิจิตรธรรมธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาคาราม คามวาสี[7]
พ.ศ. 2551 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ญาณวิสุทธิจริยาปริณายก ดิลกศีลาทิขันธสุนทร บวรธรรมภาณี สาธุการีธรรมากร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8] |
|