(N)
สุดยอดวิชาเจิมกระเป๋าสตางค์
ตำรา หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ อนาลโย
ประสิทธิ์ประสาทครอบครู ให้พระครูบาสืบสายวิชา
#เจิมกระเป๋าสตางค์เรียกทรัพย์
#มนต์เรียกทรัพย์ นะมหารวย"
สืบสานตำนาน วิชาเจิมกระเป๋าสตางค์ เรียกทรัพย์
พระครูบาสุรินทร์ ภทฺทมุนี
สืบสานตำนาน วิชา เจิมกระเป๋าสตางค์ เรียกทรัพย์
จาก #หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์
กล่าวถึง พระครูปลัดสุรินทร์ ภทฺทมุนี
เจ้าพิธีกรรมชื่อดังวัดสุทธาวาสวิปัสสนา
ทายาทพุทธาคม ๓๐ ทัศ ศิษย์เจ้าคุณรักษ์
---------/////------
หรือที่สาธุชนเรียกขานกันในนาม พระครูบาสุรินทร์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาสวิปัสสนา ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยาเลขานุการเจ้าคณะตำบลลาดบัวหลวง และเลขานุการใน ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ (หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย )
✳️ อุปนิสัยจากอดีตชาติสู่ปัจจุบัน✳️
ชาติภูมิ เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ปีมะเส็ง เป็นบุตรของ นายบุญช่วย นางบุญเรือน ตรีขันธ์ เกิดที่บ้านลาดบัวหลวง ในช่วงวัยเยาว์เด็กอายุ ๑๒ ปี มีอัธยาศัยสนใจในเรื่องของพระศาสนา อีกทั้งยังน้ำใจดี ชอบช่วยพระสงฆ์ที่มาบิณฑบาตร ถือย่ามถือปิ่นโตมาส่งที่วัดเป็นประจำทุกวัน และ ชอบสะสมพระเครื่อง แต่โดยมากจะชอบ นำยันต์ที่หลังเหรียญพระเครื่องวัดต่างๆ มาเขียนเป็นยันต์ลงในสมุดกระดาษ เป็นประจำเสมอ
✳️ บวชเรียนแต่เป็นเณรน้อย ✳️
จนกระทั่งได้อายุ ๑๓ ปี ได้เข้ามาฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ หรือ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย เจ้าอาวาสวัดสุทธาวาสวิปัสสนา มาอยู่ปนนิบัติรับใช้เป็นศิษย์วัด โดยได้รับการเลี้ยงดูจาก หลวงพ่อรักษ์ ซึ่งเปรียบเสมือน บิดา คนที่สองที่คอยสนับสนุนส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม ซึ่งทั้งนี้เป็นความศรัทธาในพระศาสนา และเคารพรักในครูบาอาจารย์ ตลอดถึงความเพียรพยามเป็นอย่างยิ่งที่
พระครูบาสุรินทร์ มีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และ สนใจในเรื่องของคาถาอาคมตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็กน้อย บรรพชาเป็นสามเณร
ครั้นอายุ ๑๕ ปี เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ณ วัดสุทธาวาสวิปัสสนา โดยมี พระครูพิพัฒนกิจวิมล เจ้าอาวาสวัดคู้สลอดวุฒิโสภณ เจ้าคณะอำเภอลาดบัวหลวง เป็นพระศีลลาจารย์
✳️ เรียนกรรมฐาน ✳️ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ได้อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม และ ฝึกปฏิบัติธรรม อยู่กับ หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ จนมีความรู้สอบได้นักธรรมชั้น ตรี-โท-เอก ทุกระดับชั้น
✳️ บุญเก่าติดตาม ศึกษาวิชาแต่วัยเยาว์ ✳️
✳️ ตำรับพิธีกรรมขลัง เปิดดวงเศรษฐี เปิดดวงชะตา เปิดกิจการค้าขาย ไม่เป็นสองรองใคร ✳️
ที่สำคัญในระหว่างเป็นสามเณรน้อย ได้ศึกษาเกี่ยวกับการ ทำพิธีกรรมต่างๆจากตำราโบราณ และศึกษาคาถาอาคม อักขระเลขยันต์ กับ หลวงพ่อรักษ์ จนเกิดความชำนาญ ได้รับความไว้วางใจจาก หลวงพ่อรักษ์ มอบหมายให้เป็น เจ้าพิธีกรรม จัดพิธีปลุกเสกต่างๆ ตั้งแต่ ครั้งยังเป็นสามเณรน้อย
✳️ สร้างบุญบารมีตามรอยครูตั้งแต่เป็นเณร✳️
........นอกจากนี้ยัง ดำเนินรอยตามครูบาอาจารย์ คือ ชอบทำบุญสร้างบุญบารมีไปทั่วทิศ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือ ในสมัยนั้น สามเณรจะมักติดตามหลวงพ่อรักษ์ ไปภาคเหนือสร้างบุญอยู่บ่อยๆ และในบางครั้งได้รับมอบหมายจาก หลวงพ่อรักษ์
ให้ไปปฏิบัติหน้าที่แทนในงานบุญในเขตภาคเหนือ อยู่เป็นประจำตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรน้อย
✳️นาม ครูบา ที่มาด้วยบุณบารมี ✳️
....สามเณรน้อยหมั่นสร้างบุญบารมีไม่ขาด
จนกระทั่ง หลวงพ่อรักษ์ พร้อมด้วยศรัทธาชาวบ้านในเขตภาคเหนือ เรียกขานสามเณรน้อย ด้วยที่ว่าเป็นที่เคารพมากจากศรัทธาชาวบ้านทั่วไปว่า ครูบา
....กล่าวถึงคำว่า ครูบา นี้เปรียบได้ดั่งความหมายว่า คำว่า ครู หมายถึงครูบาอาจารย์ ที่เป็นที่เคารพรักของประชาชนศรัทธาชาวบ้าน และคำว่า บา นี้เปรียบได้ดั่งคำย่อว่า บารมี คือพระสงฆ์สามเณรรูปนั้นเป็นผู้มีบุญญาบารมีธรรม เป็นที่ประจักษ์ เป็นที่เคารพศรัทธา แก่ มวลพุทธศาสนิกชนชาวบ้านที่ พร้อมใจเรียกขานขนามนามกันว่า ครูบา
✳️อุปสมบทเป็นภิกษุทายาทแห่งพระศาสนา✳️ สามเณรสุรินทร์ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ณ พัทธสีมาอุโบสถหลังเก่าอายุ ๑๐๐ ปี ของ วัดสุทธาวาสวิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
โดยมี พระสุนทรธรรมานุวัตร (หลวงพ่อเอียด)
วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็น พระอุปัชฌาจารย์ พระครูเกษมปทุมรักษ์ (หลวงพ่อทองหล่อ) วัดลาดปทุมคงคาราม อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น พระกรรมวาจารย์ และ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย เจ้าอาวาสวัดสุทธาวาสวิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์
✳️ ชาตินี้ขอสร้างบารมีกับครู ✳️
พระครูบาสุรินทร์ หลังจากอุปสมบท การร่วมสร้างบุญใหญ่กับครูบาอาจารย์ การร่วมสร้างวัดสุทธาวาสวิปัสสนา และ สร้างพุทธมณฑลประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื่องจากทางวัดสุทธาวาส ได้รับการพิจารณาแต่งตั้ง จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้ดำเนินการจัดสร้างพุทธมณฑลประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี ท่านเจ้าคุณ พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ หรือที่รู้จักว่า หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย เป็นประธานในการสร้างฯ และ พระครูปลัดสุรินทร์ เป็นรองประธาน และ เลขานุการ ร่วมสนองงานให้กับ หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ โดยตรงในการสร้างฯ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่เผยแผ่หลักธรรมและเป็นสถานที่ พักผ่อนที่ร่มรื่น มีความสงบ มีความสุข เป็นแหล่งเรียนรู้ของจังหวัด ปัจจุบันพุทธมณฑลอยุธยา ตั้งอยู่ ณ วัดสุทธาวาส วิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อทั้งหมด ๑๔๔ ไร่ โดยแบ่งเป็นสถานที่เขตพุทธมณฑลอยุธยา จำนวน ๘๐ ไร่ ภายในเขตพุทธมณฑลแบ่งเป็นสถานที่ปลูกสวนป่าปฏิบัติธรรม
ซึ่งปัจจุบันจะมีพุทธศาสนาสนิกชน เดินทางมาพุทธมณฑลอยุธยาแห่งนี้ เข้าปฏิบัติธรรม ถือศีล ๕ ศีล ๘ นุ่งขาวห่มขาว ตลอดทุกอาทิตย์ ตลอดทุกเดือน ตลอดทั้งปี ซึ่งในส่วนของการพัฒนาวัดและสร้างพุทธมณฑลได้ใช้ปัจจัยแล้วทั้งสิ้นกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งจากเดิมทีวัดแห่งนี้ใกล้จะร้าง แต่ปัจจุบันเป็นสถานที่ศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ด้วยบุญบารมีของ ท่านเจ้าคุณพระภาวนาธรรมาภิรักษ์ (หลวงพ่อรักษ์ ) ที่สร้างคุณูปการที่ทำให้สถานที่แห่งนี้เจริญรุ่งเรือง
โดยมี ท่านพระครูปลัดสุรินทร์ เป็นศิษย์ผู้สนองงานโดยตรง
✳️การพระศาสนาตำแหน่งหน้าที่✳️
✳️ความดีก็ปรากฎเกียรติยศก็ลือชา✳️
ตำแหน่งหน้าที่ในคณะสงฆ์ และ สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๕๓ รับแต่งตั้งเป็น เลขานุการเจ้าคณะตำบลลาดบัวหลวง ใน พระครูอนุวัตรวรกิจ
อดีตเจ้าคณะตำบลลาดบัวหลวง
พ.ศ. ๒๕๕๘ รับแต่งตั้งเป็น เลขานุการเจ้าคณะตำบลลาดบัวหลวง ใน พระภาวนาธรรมาภิรักษ์ วิ.
เจ้าคณะตำบลลาดบัวหลวง รูปปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๕๗ รับตำแหน่ง ตราตั้ง ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
วัดสุทธาวาสวิปัสสนา
✳️สมณศักดิ์ ✳️
พ.ศ. ๒๕๕๕ รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ ที่ พระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรมใน พระธรรมมังคาจารย์
(เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม กทม.
ปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี
พ.ศ. ๒๕๕๘ รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ ที่ พระครูปลัด ฐานานุกรมใน พระราชปริยัติ วัดศรีโคมคำ
พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดพะเยา
✳️ศึกษาคาถาอาคมตั้งแต่วัยเยาว์✳️
......พระครูปลัดสุรินทร์ หรือ พระครูบาสุรินทร์ อุปนิสัยท่านชอบท่องอ่านบทคาถา และชอบเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ จึงได้เข้าไปอยู่วัดกราบขอถวายตัวเป็นศิษย์ ขอพานครูขอศึกษากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงสรรพวิชาคาถาอาคมต่างๆจาก ท่านเจ้าคุณพระภาวนาธรรมาภิรักษ์ (หลวงพ่อรักษ์ ) ซึ่งเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์โดยตรงที่มีพระคุณต่อพระครูปลัดสุรินทร์มาก ที่ให้การอบรมเลี้ยงดูและสั่งสอนในเรื่องต่างๆ ให้กับท่านพระครูปลัดสุรินทร์ มาตลอดระยะเวลา ตั้งแต่ปี 2546 จวบจนถึงปัจจุบันนี้
นอกจากนี้กล่าวถึงแต่ครั้งสมัยเมื่อท่านยังเป็นสามเณรน้อย ท่านชอบจาริกไปสถานที่ต่างๆ ไปกราบและสนทนาธรรม กับครูบาอาจารย์พระเกจิอาจารย์มากมาย เกือบทั่วทั้ง ๔ ภาค ของเมืองไทยก็ว่าได้ อีกทั้งหลวงปู่ครูบาอาจารย์บางรูปบางท่านก็ได้เมตตาชี้แนะนำวิชาความรู้ต่างมาอีกด้วย
✳️แสวงหาความรู้ในศาสตร์วิชาต่างๆ✳️
✳️เข้ากราบยกพานครู เป็นศิษย์สืบสานตำรา✳️
ว่าด้วยการ ยกพานครู ดอกไม้ธูปเทียน พานสักการะบูชา ถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชา คือสิ่งสำคัญ ที่ พระครูบาได้รับการอบรมสั่งสอนจาก หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ ในเรื่องของขนบธรรมเนียมและเคล็ดหลักการไปศึกษาความรู้จากหลวงปู่หลวงพ่อครูบาอาจารย์ต่างๆ ให้พระครูบาฯได้เป็นแนวทางการปฏิบัติให้ถูกต้องสมบูรณ์แบบฯ
.....หากกล่าวถึงครูบาอาจารย์โดยตรงที่ พระครูบาสุรินทร์ ได้เดินทางจาริกไปขอศึกษาวิทยาคม และท่านก็ได้เมตตารับพานครูดอกไม้ธูปเทียนแพ เพื่อรับ พระครูบาไว้เป็นศิษย์โดยตรงตามทำเนียม
แบบปฏิบัติที่ถูกต้องตามโบราณกาล และถ่ายทอดวิชาตำรับตำราคาถาอาคมต่างๆให้กับ พระครูปลัดสุรินทร์ ภทฺทมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาสวิปัสสนา นั้นก็มีหลายท่านด้วยกัน แต่ละท่านก็เมตตาสอนบอกกล่าว สอนวิชาต่างๆตามแต่ละท่านถนัดและเชี่ยวชาญ มาให้กับ พระครูปลัดสุรินทร์
ให้ด้วยความเมตตาอย่างสุดประมาณฯ
....ปฐมบทครูท่านแรก มีวันนี้ เพราะพ่อให้
ท่านเจ้าคุณพระภาวนาธรรมาภิรักษ์ ( หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย ) วัดสุทธาวาสวิปัสสนา อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เมตตาสอน สมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ตลอดรวมถึง การสอนเขียนอักขระเลขยันต์ และ สอนการลงตะกรุด การเสกน้ำมนต์ รวมวิชาอาคมต่างให้มาด้วยความเมตตาเสมอ อย่างหาที่สุดมิได้ ตั้งแต่ปี 2546จวบจนถึงปัจจุบัน
✳️....ครูผู้เป็นอุปัชฌาจารย์
พ่อผู้ให้กำเนิดทางพระ
ท่านเจ้าคุณ พระสุนทรธรรมานุวัตร
(หลวงพ่อเอียด อินฺทวโส ) วัดไผ่ล้อม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ศิษย์ทายาทหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ
ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาจารย์โดยตรง ได้เมตตาบวชให้กับ พระครูปลัดสุรินทร์ และยังได้เมตตาสอนความรู้ต่างๆ รวมถึงชี้แนะในการดำรงอยู่ในบรรพชิต และ นอกจากนี้ยังได้รับเมตตาให้คัดลอก ตำรับตำราของ หลวงพ่อเอียด ที่ท่านได้ใช้ในการสร้างและปลุกวัตถุมงคล
และนอกจากนี้ยังมี หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม , หลวงพ่อเสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์ , หลวงพ่อเพย วัดบึง , หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน , หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี , หลวงปู่ปั่น วัดหนองกระทุ่ม , หลวงปู่ครูบาออ วัดพระธาตุจอมแวะ , หลวงปู่ครูบาคำมูล วัดบ้านเมืองตึงเหนือ , หลวงปู่ครูบาอินตา วัดศาลา , หลวงปู่ครูบาศรีมรรย์ วัดบ่อเต่า , พ่อท่านแสง วัดศิลาลอย , เป็นต้น |