(N)
พระปิดตามหาพรหม
✳️ พระปิดตามหาพรหม หรือ "พระปิดตายันต์ยุ่ง" มีตำนานการสร้างซึ่งถือว่าเป็นรูปเคารพตัวแทนของ พระสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี อัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธองค์
✳️ ลักษณะ ปิดตา ปิดหู ปิดทวารทั้ง ๙ หรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย เป็นปริศนาธรรม ที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน
เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งพระ โบราณาจารย์ที่สร้างพระปิดตา (หรือปิดทวาร)
✳️ ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระท่านจะสร้างพระปิดตาขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกและเป็นปริศนาธรรม
✳️ จากมูลเหตุนี้เองพระโบราณจารย์ต่างๆ ท่านจึงสร้างรูปเคารพเป็นรูป พระปิดตา คือ มีมือคู่เดียวมาปิดที่หน้าบ้าง เป็นรูปพระปิดทวารทั้ง ๙ บ้าง
และโดยส่วนใหญ่ ถ้าเป็นพระปิดตา พระเกจิอาจารย์ผู้สร้างมักจะปลุกเสก ให้มีพุทธคุณโดดเด่นไปทางเมตตามหานิยม โชคลาภ โภคทรัพย์
แต่ถ้าเป็นพระปิดทวารทั้ง ๙ ก็จะปลุกเสกให้เด่นไปทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ปลอดภัย
พระปิดทวารทั้ง ๙ ที่นิยมกันมาก คือ พระปิดทวาร ของหลวงปู่ทับ วัดทอง, หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง, หลวงปู่จัน วัดโมลี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ,
หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ หลวงพ่อเจ้าคุณรักษ์ วัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นต้น
✳️✳️ ยันต์ เฑาะว์มหาพรหม หรือ เฑาะว์ขัดสมาธิ ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวของพระเกจิอาจารย์ยุตโบราณนิยมใช้ลงยันต์กันมาก
"ยันต์เฑาะว์นี้ เป็นยันต์แก้วสารพัดนึก เป็นของวิเศษที่มีพุทธคุณสูงมาก"
✳️✳️ "พระธรรมในพระพุทธศาสนาของพระพุทธองค์ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ล้วนสรุปรวบยอดลงในยันต์เฑาะว์ตัวเดียวนี่แหละ..!!!!!
✳️✳️ ยันต์ เฑาะว์.. ตัวนี้ใช้ลงกระหม่อมหรือจารองค์พระก็ได้ ซึ่งปกติแล้วตัวยันต์เฑาะว์นั้น
ครูบาอาจารย์แต่โบราณท่านให้ความเคารพกันมากครับเพราะถือว่าเป็นหนึ่งใน ๑๐๘ ยันต์ พระอาจารย์ที่ใช้ยันต์นี้เป็นยันต์ประจำตัว
เช่น หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงปู่บุญ - หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อรักษ์ วัดสุทธาวาส วิปัสสนา เป็นต้น
"นะ" ยันต์เดียว พุทธครอบจักรวาล
ลงมหายันต์นะมหาวงศ์
✳️ ด้านบนเศียรพระ ลง มหายันต์นะมหาวงศ์
สุดยอดแห่งเคล็ดวิชา ยอดพุทธคุณ สายเมตตามหานิยม มหาโภคทรัพย์ เรียกเงินเรียกทรัพย์ไหลมาเทมา วนเวียนมาสู่ผู้บูชา เรียกง่ายๆ เวินทองมีใช้ ไม่ขาดมือ
✳️ ในบรรดาอักขระเลขยันต์ ของเหล่าเกจิอาจารย์ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ยันต์ "นะ" ถือว่ามีการเขียนในรูปแบบต่างๆ
มีชื่อและมีพุทธคุณต่างกันมากที่สุด อาจกล่าวได้ว่า "ยันต์นะ เป็นยันต์ตัวเดียวที่มีพุทธคุณดีทุกด้าน หรือมีพุทธคุณครอบจักรวาล" นั่นเอง โดยเฉพาะ นะ ๑๐๘ เป็นปฐมบท
✳️ อุปเท์ห์ ในการเขียนลงยันต์ ตัวนะ จะมี ๕ ตอน ประกอบด้วย ๑.พินธุ ๒.ทัณฑะ ๓.เภทะ ๔.อังกุ และ ๕.สิระ มีคาถาบริกรรมกำกับ ตามลำดับกันไป
...และเมื่อสำเร็จเป็นรูปนะแล้ว จึงค่อยปลุกเสกตามคาถาเสกนะ คือ นะรานะระหิตังเทวัง นะระเทเวหิปูชิตัง นะรานังกามะปังเกหิ นะมามิสุคะตังชินัง เป็นต้นฯ |