(N)
เล่าประวัติ คนไกลได้รู้จัก เผยแผ่ประวัติให้ได้ศึกษา
ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดปฎิบัติมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก วิปัสนากรรมฐาน ฉันมื้อเดียวมาโดยตลอด
หลวงปู่ดา กนฺตสีโล เกิดในตระกูลบุญล้อม มีพี่น้อง 3 คน ท่านเกิดปี พ.ศ. 2507 ที่ บ้านโพธิ์ตาก อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี บ้านของท่านอยู่ไม่ไกลจากวัดกุดชมภู อดีตพระเกจิ หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต" สมัยก่อนบิดาของท่านช่วงที่บวชชอบศึกษาภาษาบาลีและเคร่งครัดปฎิบัติ จนเป็นครูสอนภาษาบาลี ได้รับแต่งตั้งเป็น พระใบฏีฏา จึงเป็นแบบอย่างให้กับท่านด้วยทางหนึ่ง
ในช่วงที่ท่านยังเป็นเด็กเล็กนั้น ท่านมีนิสัย ที่ใฝ่เรียนรู้มาโดยตลอด ชอบศึกษา เรียน หัดเขียน ภาษาบาลี มาโดยตลอด หลังจากนั้นเมื่อเรียนจบ ป. 4 ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศลาวกับญาติทางแม่อยู่ที่ แสงลงยางเมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก และ ได้บวชเณรเพื่อศึกษาเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆของประเทศลาวอย่างจริงจัง ได้เรียนศึกษากับหลวงปู่ชู กับหลวงปู่มี ซึ่งเป็นพระที่ปฏิบัติดี และยังเป็นลูกศิษย์ ของพระอาจารย์บุญมาก สายสำเร็จลุน ที่อยู่ ภูมะโรง แขวงจำปาสัก ได้ระหว่างที่เรียน เขียน ปฎิบัติท่านจะตั้งใจ ในทุกเรื่อง ทำตามที่ครูอาจารย์ถ่ายทอดให้การเรียนวิชาของท่านนั้น ค่อยข้างจะแปลก ในช่วงที่ท่านเป้นเด็กนั้น การเรียนวิชามนต์คาถาของท่านเรียกว่า การเรียนแบบ " มนต์ลอดป่อง " : คือคาถาที่เขาสอนกัน และท่องจำโดยได้ยินได้เรียนมาแบบครูพัก แต่ความเชื่ออีสานถือว่าขลังมาก เพราะ "ลอดป่อง ป่องคือหัวใสหัวดี ความจำเยี่ยม นั่นเอง) เวลาที่รุ่นพี่ (อ้าย ) ไปเรียน คาถา ท่านจะไปนั่งจำอยู่ใต้กุฎิ เวลาที่ครูอาจารย์สอนเสียงจะมาตามช่องกระดานจะได้ยินชัด ทำให้ท่านจำได้หมด หลังจากนั้นพอครบเจ็ดอังคาร ครูอาจารย์รู้ว่าท่านทำได้จึงเรียกท่านไปครอบครูด้วยวาจาแล้วจารกระหม่อม
เมื่อปี พ.ศ. 2521 ทางประเทศลาวเกิดเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่ จึงได้กลับมาอยู่ทีประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากนั้น ก็ได้อุปสมบท โดยหลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต เป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ และได้ร่ำเรียนศึกษา คาถาอาคม ระหว่างนั้นก็ได้ไปเรียน ศึกษาการปฏิบัติธรรม กรรมฐาน กับ หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี วัดถ้ำคูหาสวรรค์จนหลวงปู่มรณะภาพ หลังจากนั้นจึงเดินทางไปหาหลวงปู่เพิ่มพันธ์ อานันโท วัดถ้ำภูผาพญานาคโขงเจียม เพื่อขอเป็นศิษย์ของท่าน ไม้เท้างิ้วดำหัวพญานาคของหลวงปู่ดานั้น ได้รับมาจากหลวงปู่เพิ่มพันธุ์
หลวงปู่คำคนิง จุลมณี เป็นพระอริยสงฆ์ที่ได้รับการกล่าวขานในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์บารมีมากมาย เป็นที่ยอมรับและร่ำลือกันมากในประเทศไทยและประเทศลาว ก่อนที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์นั้น ท่านมีครอบครัวภรรยาและลูกมาก่อน เมื่ออายุได้ 30 ปี เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตครอบครัวจึงได้ออกบวชเป็นฤาษีดาบสแล้วออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร นานถึง 15 ปี ซึ่งอยู่ป่าเป็นวัตรและไม่เคยเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเลย เคร่งครัดในศีลฤาษีโยคี ฝึกฝนตนเองอย่างเคร่งครัด ละเว้นความชั่วทุกประการ เว้นฉันอาหาร 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง บำเพ็ญตบะอย่างแรงกล้า เพื่อพิสูจน์กำลังใจและความทรหดอดนทนของตนเองจากการปฏิบัติตนอย่างฤาษีและเคร่งครัดในข้อวัตรต่าง ๆ ทำให้ได้พบความสุขสงบทางกายและจิตอย่างล้ำลึก มีความสุขที่เปรียบมิได้ ตั้งมั่นในองค์ฌานสมาธิ เป็นฤาษีผู้เก่ง กล้าฌานสมาบัติ เพราะสามารถเข้าฌานได้หลายวัน โดยไม่รู้สึกหิว หรืออ่อนเพลียใด ๆ อยู่ในป่าและถ้ำเขาลำเนาไพรนับพันถ้ำในภูเขาแดนลาว เสวยสุขในฌานจนเบื่อหน่าย เห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ไปสู่มรรคผลนิพพาน หลวงปู่คำคะนิงจึงลาเพศฤาษีเข้าสู่พระพุทธศาสนา อุปสมบถเป็นพระภิกษุเพื่อปฏิบัติธรรมสู่ทางพ้นทุกข์เจริญรอยตามพุทธองค์ แม้จะเป็นพระแต่หลวงปู่ยังคงอธิษฐานอยู่ป่าเป็นวัตร ปฏิบัติตามธรรมวินัยของสงฆ์อย่างเคร่งครัด เพื่อความหลุดพ้นทางจิต และได้ออกธุดงค์ไปจำพรรษาตามที่ต่าง ๆจนมาถึงฝั่งไทย แม้ว่าท่านจะเป็นพระภิกษุชาวลาว แต่ชีวประวัติท่านได้รับการเผยแพร่มากมายในสังคมไทย
หลวงปู่ดาท่านเป็นพระที่ชอบศึกษาใฝ่รู้ตลอดเวลาหลังออกพรรษาทุกปีจะออกธุดงค์จาริกไปหาครูบาอาจารย์ทางสายแถบภาคอีสานเรียกแม่น้ำโขง กราบครูอาจารย์ตั้งแต่พระธาตุพนมเลยมาถึงอำเภอโขงเจียม และก็จะกลับมากราบนมัสการหลวงปู่คำบุก่อนจะเดินทางกลับมาภาคกลางจะทำอย่างนี้อยู่ทุกปี
ท่านจะเดินธุดงค์ จากนครพนม เรียบริมแม่น้ำโขงจนถึงโขงเจียม คนถึงสิรินทร แล้วจึงเดินทางไปกราบหลวงปู่คำบุ กราบครูอาจารย์ของท่านเป็นประจำ จะไปกราบนมัสการ หลวงปู่เพิ่มพันธุ์ จนท่านเชื่อใจจึงมอบไม้เท้างิ้วดำหัวพญานาค
หลวงพ่อทองกลึง สุนทโร เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หอย หลวงปู่ดาท่านนับถือเป็นครูอาจารย์ของท่านอีกองค์ เนื่องด้วยครั้งหนึ่งหลวงปู่ดาได้ไปที่วัดเจดีย์หอย ได้ไปกราบหลวงพ่อทองกลึง ที่วัดเจดีย์หอย เมื่อหลวงพ่อทองกลึงได้เห็นหลวงปู่ดา ท่านทักว่า จะช่วยเหลือคน ต้องมีครูอาจารย์ ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่ดีกับตัวเอง
หลังจากนั้น ท่านก็ขอคำแน่ะนำกับหลวงพ่อทองกลึงขอเรียนวิชา จนหลวงพ่อทองกลึงเห็นว่ามีความเข้าใจดีแล้วท่านครอบครูให้ แล้วจึงแต่งตั้งค่าครูให้
คติธรรมประจําใจของหลวงปู่ดาคือมีใจเป็นใหญ่มีใจเป็นหัวหน้าสำเร็จได้ด้วยใจ |
|