(N)
เนื่องด้วยสถานที่ตั้งวัด ตั้งอยู่พื้นที่ ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ โดย นายอํานวย สุรินทร์ อดีตเจ้าผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้มอบให้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนายกสถานที่นี้ให้สร้างที่พักสงฆ์
ในอดีตเคยใช้เป็นสถานที่ทําการเกษตรกรรม ปลูก ต้นไม้ไผ่หน่อ ปัจจุบันต้นไผ่หน่อ ได้ย่อยสลายไปแล้ว จึงมีศรัทธามอบที่นี้ตั้งเป็น วัด จึงดําริใช้ชื่อว่า วัดเวฬุวันนาคา
ซึ่งคําว่า เวฬุวัน มีความหมายแปลว่า ป่าไผ่ตามหลักพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน อีกทั้งยังมีความสอดคล้องกับตํานานพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกพระพุทธศาสนา
คําว่า เวฬุวัน อดีตเป็นสถานที่ป่าไผ่และเป็นชื่ออารามแห่งแรกครั้งสมัยพุทธกาลซึ่ง พระเจ้าพิมพิสาร สร้างถวาย พระพุทธเจ้า อยู่ใกลเเมืองราชคฤห์ เป็นพุทธบูชา
ส่วนคําว่า นาคา มากจากชื่อเรียกสถานที่ เฉพาะตรงจุดบริเวณ ที่ดินพื้นนี้เท่านั้น ซึ่งอยู่ตรงกับจุดทางโค้งของลําห้วยน้ําแม่พวก ชาวบ้านเรียกว่าคุ้งน้ํานาคา
ด้วยเหตุสถานที่ตรงนี้ ชาวบ้านจะพบเจองูจํานวนมาก จึงเป็นชื่อเรียกต่อมาว่าคุ้งน้ํานาคา หมายถึงน้ําที่มีงูอาศัยจํานวนมาก
คําว่า นาคา มีความหมายถึง สัตว์เลื้อยคลานประเภท งู และที่สําคัญ ในพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องราวในพุทธ ประวัติของ พระพุทธเจ้าที่เกี่ยวข้องกับ พญานาคจํานวนมาก แม้กระทั้ง พระชาติหนึ่งในทศชาติชาดก พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติเกิดเป็น พญานาค นามว่า ภูริทัตนาค ผู้บำเพ็ญศีลบารมี
🧲ทั้งน้ีจุดประสงค์หลักของ ในการสร้างวัดแห่งนี้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนในพระพุทธศาสนา มีสถานที่ ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เช่น ทําบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ไหว้พระสวดมนต์ ถือศีลปฏิบัติธรรม
อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนของชาวบ้านหมู่ที่๘ ตําบลเด่นชัย อําเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ และที่เดินทางมาแสวงบุญจากพื้นที่ต่างๆ
เนื่องจากภายในหมู่ที่๘ ตลอดรัศมีระยะทาง ๑๐ กิโล จากสถานที่จุดนี้อยู่ห่างไกลจากวัด สําหรับเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเดินทางลําบากในการไปแสวงบุญ ดั้งน้ันจึงต้ังเพื่อเป็นสถานที่ ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เป็นสถานที่พํานักของพระภิกษุ
⭕️ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ ได้จัดตั้งขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ขึ้นสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย จ.แพร่ และ สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดแพร่
โดยมี พระครูปลัดวชิริล ภทฺทมุนี หรือ พระครูบาวชิริล พระเถราจารย์เจ้าพิธีชื่อดัง ได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นประธาน ที่พักสงฆ์เวฬุวันนาคา ( วัดเวฬุวันนาคา ) ต.เด่นชัย อ.เมือง จ.แพร่
กล่าวถึง พระครูบาวชิริล ภทฺทมุนี องค์พระเถราจารย์เจ้าพิธีกรรมชื่อดัง ศิษย์ในพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณพระสุนทรธรรมานุวัตร หลวงพ่อเอียด อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม
และสืบทอดพุทธาคมศึกษาจากครูบาอาจารย์ เรียนกรรมฐานกับ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาส วิปัสสนา
นอกจากนี้ได้ศึกษาพุทธาคมกับ พ่อท่านแสง วัดศิลาลอย หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม , หลวงพ่อเสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์ , หลวงพ่อเพย วัดบึง , หลวงปู่ยวง วัดหน้าต่างใน , หลวงปู่ยวง วัดโพธิ์ศรี , หลวงปู่ปั่น วัดหนองกระทุ่ม , หลวงปู่ครูบาออ วัดพระธาตุจอมแวะ , หลวงปู่ครูบาคำมูล วัดบ้านเมืองตึงเหนือ , หลวงปู่ครูบาอินตา วัดศาลา , หลวงปู่ครูบาศรีมรรย์ วัดบ่อเต่า , หลวงปู่ผา วัดเดือนไก่ , หลวงปู่ปลอด วัดหนองหม้อ หลวงปู่ล้อม วัดไผ่รื่นลม หลวงพ่อนงค์ วัดสว่างวงษ์ หลวงปู่สมาน ที่พักสงฆ์เขายางหัก เป็นต้นมากกว่า 50 รูป จากทั้งจตุรทิศของเมืองไทย เป็นที่กล่าวขานว่า ท่านเชี่ยวชาญในสรรพวิชาเปิดดวง เสริมชะตา เปิดกิจการธุรกิจ เปิดที่ดินต่างๆ เหล่าบรรดานักธุรกิจมักเดินทางไปกราบขอพึ่งบารมีท่าน จนร่ำรวยสุขสบายไปแทบทุกคน
🙏🙏 ในวาระที่ผ่านมา พระครูบาฯได้ประกอบพิธีบวงสรวง ปรับภพภูมิ บุกเบิกสถานที่ บอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บารมีแห่งหลวงปู่ทวด พญานาคราชอนันตทรัพย์ พระภูมิเจ้าที่ แล เทพเทวดา 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน 14 ชั้นบาดาล
⭕️ ในการบุกเบิกสถานที่พร้อมทั้งวางโครงการ
สั่งปรับภูมิทัศน์ ด่านล่างติดกับลำห้วยฯ
⭕️ เพื่อทำการปรับเคลียร์พื้นที่ จากป่ารกๆหญ้ารก
⭕️ เตรียมการออกแบบทำผนังเขื่อนหินกั้นน้ำ
( เนื่องจากพื้นที่ด้านล่างจุดนี้ ทุกปีน้ำป่า จะไหลผ่านลงมาท่วมสูง ราว 3-4 เมตร โดยประมาณ จากคำบอกของคณะศรัทธาชาวบ้าน ดังนั้นจึงจำเป็น ที่ต้องทำเขื่อนหิน ผนังกั้นน้ำ เพื่อป้องกันแนวคันดิน ตลอดถึง เพื่อลดแรงกระแทกของน้ำป่าที่ไหลมา เพื่อไม่ให้ตลิ่งพังทลาย และ ทรุดหายไปกับสายลำน้ำแม่พวก ฯ )
🧲🧲 ท่านใดมีกุศลจิตเจตนาสร้างบุญ ปรับพื้นที่ และ สร้างเขื่อนผนังหินกั้นน้ำ สามารถร่วมบุญได้ตามกำลังศรัทธา ผ่านบัญชีธานาคารกองบุญสร้างวัด
⭕️ ธนาคาร กสิกรไทย
⭕️ ชื่อบัญชี : พระครูปลัดวชิริล ธนภัทรจิรภาษ
⭕️ เลขบัญชี : 121 3 95373 3
ขออนุโมทนาบุญกับ ผู้มีกุศลจิตศรัทธาทุกท่านที่ร่วมสร้างกุศลกันมากับพระครูบาฯ ในครั้งนี้
สอบถามร่วมบุญได้ที่ วัดเวฬุวันนาคา อ.เด่นชัย จ.แพร่ โทร.062-6528796 , 096-4539415 |