ร่วมเสนอความคิดเห็น
หัวข้อกระทู้ :
webmasterช่วยด้วยครับรูปไม่ขึ้น4วันแล้วครับ
(D)
ใช้ระบบของtrueครับขอคำแนะนำหน่อยครับ
โดยคุณ
พงษ์พันธ์
(
276
)
[อา. 19 มี.ค. 2549 - 19:14 น.]
โดยคุณ
poppoomi
(
401
)
[จ. 27 พ.ค. 2556 - 06:08 น.] #2840769 (1/1)
อรุณสวัสดิ์ครับทุกท่าน...
...ขอบคุณมากทุก ๆ ท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น
เมื่อคืนผมเข้านอนเร็วในรอบปีก็ว่าได้ อาจเกิดจากการเพลียอ่อนล้าสะสม
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาจากการเอาใจผบ.ที่บ้านขับรถเดินทางไปกลับพันกว่ากม.ไปทานอาหารมื้อเที่ยงที่สถานต่างอากาศบางปู
สถานต่างอากาศบางปูครั้งสุดท้ายที่ไปกันเมื่อ 20 กว่าปีแล้ว อยู่ดี ๆผบ.เค้านึกถีงอยากไป พอดีผบ.ได้หยุดงาน 1 วัน(งานที่ทำแทบจะไม่มีวันหยุด)
ผมเป็นคนเอาเก่งอยู่แล้ว (เอ้ย..!! เอาใจเก่ง) อยากไปไหนก็ไปถ้าพร้อมด้วยปัจจัย แรงกายแรงใจ และกำลังทรัพย์
...มาเข้าเรื่องดีกว่าเล่าเรื่องส่วรตัวเดี๋ยวคนอื่นจะหมั่นไส้เอา
ผมให้ความสำคัญและยินดีน้อมรับทุกความคิดเห็นครับ เช้านี้ตื่นมาเปิดดู facebook ได้ไปเจอประโยคหนึ่ง...
" ยิ่งคุณได้เจอคนมากขึ้น คุณจะได้เจอคนดีจนน่าตกใจ "
" และจะต้องได้เจอคนที่เลว จนคุณจิตนาการไปไม่ถึง " (เครดิต @CUtto)
ทำให้ผมนึกเออจริงด้วยวุ๊ย..!! เลยคิดขึ้นได้ว่าเรื่องนี้น่าจะเกี่ยวกับ " หยินหยาง "
...ในทุก ๆ สังคมย่อมมีความแตกต่างปะปนกัน
" หยินหยาง " เป็นตัวแทนแห่งสัจธรรมของโลกหรือกฏแห่งความสมดุลของธรรมชาติ
เป็นปรัชญาของลัทธิเต๋าที่เชื่อว่าสรรพสิ่งบนโลกใบนี้จะต้องมีสิ่งคู่กันเสมอ
มีมืดก็ต้องมีสว่าง มีร้อนก็ต้องมีเย็น มีผู้หญิงก็ต้องมีผู้ชาย มีเลวก็ต้องมีดี
หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป หรือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากหรือน้อยเกินไป
ก็จะเกิดภาวะไม่สมดุลซึ่งจะนำหายนะมาให้
ดีทั้งหมดก็ไม่ดี เลวทุกหมดก็หายนะ
ก็เลยทำให้นึกไปถึง " มัชฌิมาปฏิปทา " ในทางพุทธศาสนา
มัชฌิมาปฏิปทาในทางพุทธศาสนาหมายถึง " ทางสายกลาง " คือ...การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 ได้แก่
- อัตตกิลมถานุโยค คือ การประกอบตนเองให้ลำบากเกินไป
- กามสุขัลลิกานุโยค คือ การพัวพันในกามในความสบาย
.......ที่ไม่ใช่ทางสายกลาง คือ...สักแต่ว่ากลาง โดยเป็นแต่เพียงโวหารไม่ได้กำหนดวิธีที่ถูกต้องไว้เลย
แต่พระพุทธองเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้อย่างชัดเจน คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เมื่อย่นย่อแล้ว เรียกว่า " ไตรสิกขา " ได้แก่...ศีล สมาธิ ปัญญา
- มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงการปฏิบัติสายกลาง ซึ่งหลักปฏิบัติย่อมต้องคู่กับหลักการอันเป็นสายกลางเช่นกัน โดยที่หลักการอันเป็นสายกลางนี้เรียกว่ามัชเฌนธรรม หรือหลักการที่ว่าด้วยความสมดุล (สมตา) อันเป็นลักษณะอันเป็นสากลของสรรพสิ่งอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับ ไตรลักษณ์ อิทัปปัจจยตา สุญญตา ตถตาอันเป็นกฎธรรมชาติอันเป็นหลักการสากลของสรรพสิ่งเหมือนกันอย่างหนึ่ง
มัชฌิมาปฏิปทาใช้ในความหมายถึงความพอเพียง หรือการใช้ชีวิตที่ถูกต้องตามหลัก สัมมาอาชีวะ คือใช้ชีวิตอย่างรู้ประมาณในการบริโภค คือใช้ปัจจัยสี่เท่าที่จำเป็น ไม่ใช่ใช้ตามความต้องการเพื่อสนองความอยาก
มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา มักไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย
มัชฌิมาปฏิปทาในทางจิตวิญญาณหมายถึงสติ สติเป็นความสมสมดุลทางจิตอย่างหนึ่ง คือสมดุลระหว่างศรัทธาและปัญญา สติจะอยู่ตรงกลางระหว่างอารมณ์และเหตุผล ถ้าความคิดเปรียบเป็นน้ำไหล สมาธิเปรียบเป็นน้ำนิ่ง สติจะเป็นน้ำไหลนิ่ง คือสติเป็นทางสายกลางทางจิตวิญญาณ
!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!
Copyright ©G-PRA.COM
www1