ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : วัดป่ามะม่วง-พระสุโขทัย



(D)


วัดป่ามะม่วง-พระ
พุทธลักษณะ เป็นพระปางมารวิชัย สถิตอยู่บนพื้นฐานรูปกมลรี ส่วนกว้างทั้งหมดของพื้นฐานประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนสูงวัดได้ประมาณ 5.3 เซนติเมตร ฐานขององค์พระปรากฎเป็นเส้นนูนออกมาขนานกัน 2 เส้น ด้านหลังพื้นฐานโค้งนูน

วัสดุที่สร้าง พิมพ์จากดินเมืองสุโขทัย ซึ่งมีเนื้อละเอียดและแกร่งยิ่งนัก ทั่วองค์พระและพื้นฐานเป็นลายประเล็ก ๆ ปรากฎบนเนื้อดินสีแดงนั้น กล่าวกันว่าลายประเล็ก ๆ นี้เป็นส่วนผสมของเกสรดอกไม้ และว่านมงคล 108 ชนิด ตามตำรับการผสมเนื้อพระแห่งกรุงสุโขทัย

พระวัดป่ามะม่วงนิมิพุทธลักษณะมารวิชัย รูปทรงอวบอ้วนแข็งแรงผึ่งผายสมบูรณ์ ในจารึกกรุงสุโขทัยกล่าวถึงวัดป่ามะม่วงไว้ว่า “งามราวกับสวนนันทนอุทยาน เป็นรัมยสถานดาษดาด้วยคณานกวิหคต่าง ๆ มีพื้นอันเรี่ยรายด้วยทรายงาม ราวกับว่าแสงแก้วมุกดาเงินทองอันกองไว้ เป็นสถานอันควรแก่ชนทั้งหลายผู้ปรารถนาวิเวกอีกด้วย” อันการสถานอันควรแก่ชนทั้งหลายผู้ปรารถนาวิเวกอีกด้วย” อันการสร้างพระเครื่องที่มีพุทธลักษณะทรวดทรงสมบูรณ์ผึ่งผาย ดั่งเช่น พระเครื่องวัดป่ามะม่วงนี้ ศิลปินแห่งสุโขทัยผู้สามารถคงจะประจงปั้นแบบด้วยความประณีตบรรจงเป็นยิ่งนัก เพราะบรรยากาศทั่วกรุงสุโขทัยในครั้งนั้นชวนฝัน ด้านทิศตะวันตกของป่ามะม่วงนี้ภูมิประเทศเป็นที่รื่นรมย์ มีลำธาร ห้วย หนอง และเนินเขาเป็นเชิงชั้น จึงไม่น่าสงสัยเลยว่านายช่างผู้สร้างปฏิมาแห่งองค์พระบรมศาสดา จะพึงกระทำได้งดงามปานนั้น พระวัดป่ามะม่วงนี้จะต้องทรงคุณานุภาพเป็นอย่างสูง เพราะปรากฎว่า คณะสงฆ์แห่งวัดป่ามะม่วงเป็นฝ่ายอรัญวาสี คือ บำเพ็ญภาวนาทางวิปัสสนาธุระ พิเคราะห์ดูแล้วน่าจะเป็นว่าพระวัดป่ามะม่วงนี้ จะต้องได้รับการปลุกเสกบรรจุหัวใจ พระพุทธมนต์จากพระเถรานุเถรคณะสงฆ์ ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาฦาไทย หรือ ลิไทย ราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหง) รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วง อาราธนามาจากประเทศลังกา ปรากฎความในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยหลักที่ 5 ว่า
“เมื่อก่อนที่นี้เป็นราช..............
..........พญาราม ผู้เป็นปู่ น....
ปลูกไม้ม่วงฝูงนี้เป็นถ้อง ดู
.......แกกม............................”

ลุปีฉลู มหาศักราช 1283 (พ.ศ. 1905) พระมหาธรรมราชาที่ 1 ได้ตรัสให้ราชบุรุษไปอาราธนา พระมหาสามีสังฆราชกับพระสงฆ์บริวารมาแต่เมืองนครพันเขตในลังกาทวีปด้วยในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น ไทยเราได้รับพระพุทธศาสนาลักธิหินยานแบบลังกาวงศ์ ตามพระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราช กษัตริย์แห่งลังกาทวีป ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมือง พ.ศ. 1696 และได้ทรงอาราธนาให้พระกัสสปเถระเป็นประธานทำสังคายนาพระธรรมวินัย (นับเป็นสังคายนาครั้งที่ 7 ในตำนานพระพุทธศาสนาทางฝ่ายใต้)
พระมหาธรรมราชาที่ 1 คงมี พระประสงค์จะจัดที่พักถวายพระมหาสามีสังฆราชให้ทรงพระสำราญ จึงได้ทรงพระดำริ ถึงป่ามะม่วงซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรด ให้ปลูกขึ้น และก็คงจะเป็นที่โปรดปรานของพระมหาธรรมราชาที่ 1 อยู่มากด้วยเหมือนกัน จึงได้ตรัสสั่งให้ช่างปราบพื้นที่เททรายและเกลี่ยดินให้เรียบร้อยให้แลดูงามทั่วทุกทิศ แล้วสร้างกุฏีวิหารเสนาสนะขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา ในจารึกกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงการตกแต่งบริเวณป่ามะม่วง ที่พระมหาธรรมราชาที่1 โปรดให้สร้างกุฏีวิหารไว้ว่า “จึงรับสั่งให้นายช่างปลูกกุฏีวิหารระหว่างป่ามะม่วง อันมีในทิศประจิมเมืองสุโขทัยนี้ เททรายเกลี่ยตามที่ทางให้งามทั่วทิศานุทิศ อุปมาดั่งพระวิษณุกรรมทรงนฤมิต” เมื่อพระมหาสามีสังฆราชเสด็จมาถึงกรุงสุโขทัยแล้ว พระมหาธรรมราชาที่ 1 ก็ทรงอาราธนาให้จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่ามะม่วงนี้จนถ้วนไตรมาส ก็แลในขณะระหว่างพรรษานี้เอง พระเครื่องวัดป่ามะม่วงก็ต้องได้รับการประจุปลุกเสกหัวใจพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ จากพระมหาสามีสังฆราชโดยแน่แท้ ฉะนั้นพระกรุวัดป่ามะม่วงจึงทรงคุณานุภาพในด้านเมตตามหานิยม ให้ความเจริญก้าวหน้าในกิตติศัพท์ กิตติคุณ และดำรงค์วงศ์ตระกูลให้วัฒนาถาวร โดยมิต้องสงสัย
การบูชาเพื่อความสวัสดิมงคล สาธุชนผู้มีพระวัดป่ามะม่วงพึ่งบูชาพระกรุนี้ด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน และของหอม ตามอุปเท่ห์แห่งการบูชาพระกรุสุโขทัย (ของหอมนั้นคือ กระแจะจันทน์, น้ำมันหอม , น้ำอบไทย)
ขณะนี้บริเวณวัดป่ามะม่วงได้ถูกมิจฉาชีพขุดและฟอนจนเกือบจะไม่มีอะไรเหลือเป็นรูปอยู่แล้ว เพราะวัดป่ามะม่วงตั้งอยู่ในป่า ระยะทางหลวงสาย สวรรคโลก-สุโขทัย-ตาก ประมาณเข้าไปถึง 10 เส้น เป็นที่ปลอดและลับตาคน มนุษย์มิจฉาชีพ ผู้ไม่คำนึงถึงคุณค่าของ ๆ โบราณ ที่บรรพบุรุษได้สร้างสะสมไว้ให้เป็นมรดก จึงทำการลักขุดกองอิฐหักพังปรากฎภายในป่าละเมาะให้เห็นเท่านั้น เราท่านรุ่นหลังนี้จึงไม่มีโอกาสได้ชื่นชมกับวัตถุโบราณซึ่งเป็นหลักฐานแห่งประวัติศาสตร์อันล้ำค่านี้ได้ต่อไปอีก
ศาสนิกชนผู้ใดที่มีพระเครื่องวัดป่ามะม่วงนี้เป็นสมบัติของท่าน ขอได้พึ่งเก็บรักษาไว้ เสมือนหนึ่ง ด้วยวัตถุอันสถิตไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ จงพึงระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และองค์พระมหาสามีสังฆราชผู้สร้าง พึงบูชาตามอุปเท่ห์อย่าให้ขาดได้ จักสำเร็จสมความปรารถนาในสิ่งที่ชอบที่ควร และจะจำเริญด้วยมนุษย์สมบัติ 4 ประการ ตลอดชั่วกาลนาน แล
ให้พึงบริกรรมด้วยพระคาถานี้พร้อมด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน ตามอุปเท่ห์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว
พุทโธอิติปิโสภควา พุทโธภควาติ อิติปิโสภควา อรหัง อิติปิโสภควา สัมมาสัมพุทโธ
โสภควา อนุตตโร โสภควา สุคโต.
อถรรพเวทผสมกับพุทธเวททางฝ่ายลัทธิมหายาน พระวัดปืนจึงเป็นที่ต้องการ และเสาะแสวงหาของลูกผู้ชาย ผู้รักการต่อสู้ทั่วไป พระวัดปืนเป็นพระเครื่องเก่าแก่มาก สร้างพอ ๆ กันกับอายุของเมืองละโว้(ลพบุรี) กะว่าสร้างในสมัยขอมรุ่งเรือง ประมาณราวพุทธศักราช 1400
วัสดุที่ใช้สร้าง สร้างด้วยชินเมืองลพบุรี เป็นชินเนื้ออ่อนแต่เหนียว มีผิวสีดำเทา ๆ ทั่วองค์พระมีวัสดุสีขาวคล้ายราเกาะแน่นอยู่บางส่วนขององค์พระ เรียกกันว่าผิวกรุ
พระพุทธคุณ ด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดเหมาะในการบูชาเพื่อการสู้ศึกศัตรูในสงคราม

โดยคุณ newbidder (11)  [พฤ. 22 มิ.ย. 2549 - 11:33 น.]



โดยคุณ ทิวไผ่งาม (4)  [พ. 12 ก.ค. 2549 - 16:06 น.] #39675 (1/2)


(D)
ขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้

โดยคุณ newbidder (11)  [พฤ. 13 ก.ค. 2549 - 11:05 น.] #39754 (2/2)
ยินดีครับ ที่ข้อความมีประโยชน์สําหรับเพื่อนพี่น้อง
เราคนรักพระช่วยกันอนุรักษ์คนละไม้ละมือ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM