เหรียญนั่งพานรุ่นชนะมาร จำนวนทั้งหมด 39,046 เหรียญ ประกอบด้วย
1. เหรียญทองคำ จำนวน 199 เหรียญ มีแบบเดียวไม่มีเหรียญแบบพิเศษ ด้านหน้าตอกโค้ตตัว มิ ด้านหลังฝั่งขวาตอกหมายเลขประจำองค์เป็นเลขไทย
2. เหรียญเงิน จำนวน 2,782 เหรียญ แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
2.1 เหรียญในรายการสั่งจอง จำนวน 199 + 2,500 = 2,699 เหรียญ
2.1.1 เหรียญเงินในชุดทองคำ จำนวน 199 เหรียญ
2.1.2 เหรียญเงินในจำนวนสร้าง จำนวน 2,500 เหรียญ
2.2 เหรียญเงินพิเศษ เป็นเหรียญที่เหลือจากจำนวนในรายการสั่งจอง ที่เหลือเพราะปั๊มจำนวนมาเกินจำนวนสร้างมาเล็กน้อยเพื่อกันเหรียญชำรุดเสียหาย จำนวน 8 + 2 + 3 + 11 + 59 = 83 เหรียญ แบ่งเป็น
2.2.1 เหรียญเงินพิเศษตอกเลขผิดแล้วตอกเลขทับ จำนวน 8 เหรียญ
2.2.2 เหรียญเงินพิเศษไม่ตอกหมายเลข จำนวน 2 เหรียญ
2.2.3 เหรียญเงินพิเศษตอกรวมโค้ต 7 โค้ต จำนวน 3 เหรียญ
2.2.4 เหรียญเงินพิเศษ ตอกโค้ตหน้า ก. หลัง ก. + หมายเลขประจำองค์ จำนวน 11 เหรียญ แต่เดิมไม่มีโค้ตไม่มีหมายเลข
และได้ตอกเพิ่มโค้ต ก. ที่ด้านหน้าและหมายเลขประจำองค์เพื่อแสดงจำนวนจริงที่มีอยู่ และตอกเพิ่มโค้ต ก. ในด้านหลังเพื่อให้ต่างจากเหรียญในชุดทองคำ ซึ่งเป็นเลขไทยเหมือนกันในปี 2550)
2.2.5 เหรียญเงินพิเศษ ตอกโค้ตหน้า มิ หลัง ก. + หมายเลขประจำองค์ จำนวน 59 เหรียญ แต่เดิมมีแต่โค้ต มิ อยู่ด้านหน้าแต่ไม่มีหมายเลข
และได้ตอกเพิ่มหมายเลขประจำองค์เพื่อแสดงจำนวนจริงที่มีอยู่ และตอกเพิ่มโค้ต ก. ในด้านหลังเพื่อให้ต่างจากเหรียญในชุดทองคำซึ่งเป็นเลขไทยเหมือนกัน ในปี 2550)
รวมเหรียญเงินทั้งหมด มีจำนวน 2,782 เหรียญ ปั๊มด้วยบล็อคทองคำทั้งหมดและใช้ตัวตัดตัวตัวเดียวกันทั้งหมดและตอกโดยโค้ตตัว มิ ซึ่งมีอยู่แค่อันเดียวทั้งหมดและหมายเลขก็ใช้ชุดเดียวกันทั้งหมด
3. เหรียญนวะโลหะ จำนวน 199 + 5,000 + 38 = 5,237 เหรียญ
3.1 เหรียญนวะโลหะในชุดทองคำ จำนวน 199 เหรียญ
3.2 เหรียญนวะโลหะในจำนวนสร้าง จำนวน 5,000 เหรียญ
3.3 เหรียญพิเศษนวะโลหะตอกรวมโค้ต 5-7 โค้ต เป็นเหรียญที่เหลือจากจำนวนในรายการสั่งจอง ที่เหลือเพราะปั๊มจำนวนมาเกินจำนวนสร้างมาเล็กน้อยเพื่อกันเหรียญชำรุดเสียหาย จำนวน 38 เหรียญ
รวมทั้งหมดเป็น จำนวน 5,237 เหรียญ เนื้อนวะโลหะ มี 4 บล็อค คือ
๑. บล็อควงเดือน จำนวนที่พบประมาณ 80 %
๒. บล็อคทองคำ จำนวนที่พบประมาณ 16 %
๓. บล็อคสระอาเสี้ยนฝอย จำนวนที่พบประมาณ 2 %
๔. บล็อคพานสามเขี้ยว(ส่วนมากจะปั๊มเนื้อทองแดง) จำนวนที่พบประมาณ 2 %
โค้ตที่ใช้ตอกเนื้อนวะโลหะคือโค้ตตัว มะ ซึ่งมีแค่อันเดียว ตอกโดยคนคนเดียวทั้งหมด รวมทั้งหมายเลขที่ใช้ตอกเนื้อนวะโลหะนั้นก็เป็นเลขชุดเดียวกันทั้งหมด (คนละชุดกับที่ตอกเนื้อเงิน) จึงสังเกตุง่ายและเล่นง่าย
ในเนื้อนวะโลหะนั้นจะพบตัวตัดทั้งสองตัว ถ้าเป็นบล็อคทองคำ ตัวตัดก็จะเป็นตัวเดียวกับที่ตัดเนื้อเงินและเนื้อทองคำ ส่วนถ้าเป็นบล็อคอื่นตัวตัดก็จะเป็นอีกตัวหนึ่ง
4. เหรียญทองเหลือง จำนวน 199 + 10,000 + 198 = 10,397 เหรียญ
4.1 เหรียญทองเหลืองในชุดทองคำ จำนวน 199 เหรียญ
4.2 เหรียญทองเหลืองในจำนวนสร้าง จำนวน 10,000 เหรียญ
4.3 เหรียญทองเหลืองตอกรวมโค้ต 5-7 โค้ต เป็นเหรียญที่เหลือจากจำนวนในรายการสั่งจอง ที่เหลือเพราะปั๊มจำนวนมาเกินจำนวนสร้างมาเล็กน้อยเพื่อกันเหรียญชำรุดเสียหาย จำนวน 198 เหรียญ
รวมทั้งหมด จำนวน 10,397 เหรียญ เนื้อทองเหลือง มี 3 บล็อค คือ
๑. บล็อคทองคำ
๒. บล็อกพานหนวดยาว
๓. บล็อคร่องใต้พานแตก(เป็นบล็อคเดียวกันบล็อกพานหนึ่งเขี้ยวปั๊มหลังๆ จึงเกิดรอยแตกขึ้นมา)
๔. บล็อคทองคำในเหรียญในจำนวนสร้างปกตินั้น โอกาสที่จะมีนั้นน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย จะมีแต่ในเหรียญพิเศษรวมโค้ต 5-7 โค้ตเท่านั้น
จำนวนที่พบในบล็อคพานหนวดยาวและบล็อคร่องใต้พานแตกนั้น พบในจำนวนใกล้เคียงกัน
โค้ตที่ใช้ตอกเนื้อทองเหลืองคือโค้ตตัว อะ ซึ่งมีทั้งหมด 5 อันแต่ลักษณะจะใกล้เคียงกันมากเพราะถ่ายมากจากตัวแม่ตัวเดียวกัน ใช้คนตอกสามคน
รวมทั้งหมายเลขที่ใช้ตอกก็ใช้ถึง 5 ชุดแต่ลักษณะจะใกล้เคียงกันเพราะเป็นเลขเซตเดียวกัน
5. เหรียญทองแดง จำนวน 199 + 20,000 + 232 = 20,431 เหรียญ
5.1 เหรียญทองแดงในชุดทองคำ จำนวน 199 เหรียญ
5.2 เหรียญทองแดงในจำนวนสร้าง จำนวน 20,000 เหรียญ
5.3 เหรียญพิเศษทองแดงตอกรวมโค้ต 5-7 โค้ต เป็นเหรียญที่เหลือจากจำนวนในรายการสั่งจอง ที่เหลือเพราะปั๊มจำนวนมาเกินจำนวนสร้างมาเล็กน้อยเพื่อกันเหรียญชำรุดเสียหาย จำนวน 232 เหรียญ
เนื้อทองแดง พบทุกบล็อค ทั้งหมดมี 11 บล็อค คือ
๑. บล็อคทองคำ จำนวนที่พบประมาณ 1 %
๒. บล็อควงเดือน จำนวนที่พบประมาณ .3 %
๓. บล็อคพานสามเขี้ยว จำนวนที่พบประมาณ 4 %
๔. บล็อคพานหนวดยาว จำนวนที่พบประมาณ 3 %
๕. บล็อคพานหนึ่งเขี้ยว จำนวนที่พบประมาณ 1 % (เป็นบล็อกเดียวกันกับบล็อกร่องใต้พานแตกตอนปั๊มแรก ๆ ยังไม่มีรอยแตก)
๖. บล็อกยันต์มะมีเข็ม(หรือจะเรียกว่าบล็อคไม่มีเสี้ยนก็ได้) จำนวนที่พบประมาณ 17 %
๗. บล็อคร่องใต้พานแตก จำนวนที่พบประมาณ 1 % (เป็นบล็อคเดียวกันบล็อกพานหนึ่งเขี้ยวปั๊มหลังๆ จึงเกิดรอยแตกขึ้นมา)
๘. บล็อคสระอาเสี้ยนฝอย จำนวนที่พบประมาณ .7 %
๙. บล็อคสายฝน จำนวนที่พบประมาณ 1 %
๑๐. บล็อคหลังหมูมีจุดยาแตก จำนวนที่พบประมาณ 15 %
๑๑. บล็อคหลังหมูมีจุดยาไม่แตก จำนวนที่พบประมาณ 56 %
โค้ตที่ใช้ตอกเนื้อทองแดงคือโค้ตตัว อุ ซึ่งมีทั้งหมด 5 อันแต่ลักษณะจะใกล้เคียงกันมากเพราะถ่ายมากจากตัวแม่ตัวเดียวกัน ใช้คนตอกสามคน
รวมทั้งหมายเลขที่ใช้ตอกก็ใช้ถึง 5 ชุดแต่ลักษณะจะใกล้เคียงกันเพราะเป็นเลขเซตเดียวกัน
รวมเหรียญทองแดงทั้งหมดจำนวน 20,431 เหรียญ
รวมทั้งสิ้นจำนวนทั้งหมด 39,046 เหรียญ
ข้อมูลเพิ่มเติม
1.บล็อคพานหนึ่งเขี้ยว มีลักษณะมีเขี้ยวแหลม ๆ โผ่ลมาหนึ่งเขี้ยวข้าง ๆ พาน เป็นบล็อกเดียวกันกับบล็อคร่องใต้พานแตก
ในตอนแรกใช้ปั๊มเนื้อทองแดงก่อนปั๊มได้จำนวนเล็กน้อย แล้วตรงที่ใต้พานจึงมีรอยแตกหักของบล็อคขึ้น
หลังจากนั้นก็ใช้ปั๊มเนื้อทองเหลืองเสียเป็นส่วนมากซึ่งก็พบในจำนวนเกือบ ครึ่งของทั้งหมดของเนื้อทองเหลือง
2.บล็อคยันต์มะมีเข็ม มีลักษณะที่ยันต์ตัวมะ จะมีติ่งแหลมคล้ายหัวเข็มและบล็อคนี้จะมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ บล็อคนี้ไม่ค่อยมีเสี้ยนที่พื้นเลยหรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าว่าบล็อคไม่มี เสี้ยนก็ได้ พบแต่ในเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว
3.บล็อคร่องใต้พานแตก มีลักษณะคือที่ภายในร่องที่ใต้พานจะมีเนื้อนูน ๆ หยาบ ๆ เกิดจากสันบล็อคหักแตกออกเนื้อตรงนั้นจึงเป็นรอยนูน ๆ หยาบ ๆแบบนั้นขึ้นมา
เป็นบล็อกเดียวกันกับบล็อคพานหนึ่งเขี้ยว ที่ในตอนแรกใช้ปั๊มเนื้อทองแดงก่อนปั๊มได้จำนวนเล็กน้อย แล้วตรงที่ใต้พานจึงมีรอยแตกหักของบล็อคขึ้น
หลังจากนั้นก็ใช้ปั๊มเนื้อทองเหลืองเสียเป็นส่วนมากซึ่งก็พบในจำนวนเกือบครึ่งของเนื้อทองเหลืองทั้งหมดและพบในเนื้อทองแดงเพียง 1 %
4.บล็อคสายฝนพบแต่ในเนื้อทองแดงเนื้อเดียวและมีเพียงแค่ 1 % อาจจะเป็นเพราะว่าบล็อคนี้อาจจะเป็นบล็อคสุดท้ายที่ทำขึ้นเมื่อใกล้จะปั๊มเหรียญครบจำนวนแล้ว
จึงมีจำนวนเหรียญที่ปั๊มออกมาน้อย
5.บล็อคหลังหมูมีจุดยาแตกและบล็อคหลังหมูมีจุดยาไม่แตก น่าจะเป็นบล็อคตัวเดียวกันแต่ต่างกันในลักษณะการปั๊มก่อนหลังจึงมีลักษณะการไม่มีเส้นแตกและมีเส้นแตกตามลำดับการปั๊ม |
|