(D)
ในขณะที่ไฟสงคราวกำลังโหมอยู่เมื่อปี 2485 พุทธสมาคมแห่งประเทศได้จัดสร้างพระพุทธชินราชอินโดจีนจำนวน 84000 องค์ซึ่งแบ่งคราวๆได้ 2 พิมพ์คือพิมพ์หน้านางถือว่าเป้นพิมพ์นิยมถือว่าเป็นฝีมือช่างหล่อจากโรงงานชั้นดี และพิมพ์ต้อที่เป็นผิวมะระขลุกขละเป็นฝีมือของช่างจีน แต่ปัจจุบันได้แยกพิมพ์ละเอียดได้สิบกว่าพิมพ์ครับ
การจัดสร้างสมัยนั้นโรงงานต่างๆที่รับงานไปหลังจากทางวัดสุทัศน์ได้ทำพิธีเททองเอาฤกษ์เอาชัยแล้วครับ โดยรับมอบชนวนของวัดสุทัศน์ โลหะที่ประชาชนบริจาค และแผ่นจารของพระจารย์ต่างๆทั่วประเทศ หลังจากโรงงานต่างๆได้ส่งมอบพระให้กับพุทธสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระเณรของวัดสุทัศน์ได้ช่วยกันตอกโค๊ต ซึ่งโค๊ตอันได้แก่โค๊ตอกเลา และโค๊ตธรรมจักร ซึ่งท่านคุณหลวงภูมินาถสนิธผู้ประสานการจัดสร้างได้ออกค่าจ่ายใช้ให้ช่างแกะโค๊ตมาตอกหลายชุดเช่นกัน แต่ก็ตอกไม่หมด เพราะโค๊ดเสียหายเสียก่อน จะแกะใหม่ก็ไม่ทันการ จึงนำพระเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกทั้งที่วัดสุทัศน์และวัดใหญ่พิษณุโลก
พระพุทธชินราชอินโดจีนถึงแม้จะดำริจัดสร้างมาจากพุทธสมาคมฯ แต่ก็ถือว่าเป็นพระเครื่องที่มีต้นกำเนิดจากวัดสุทัศน์ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์ที่กำเนิดสุดยอดพระเครื่องตระกูลพระกริ่งพระชัยของเมืองไทย ซึ่งขณะนั้นมีพระเดชพระคุณสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นประธานในพิธีการจัดสร้าง และยังมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธ์) เป็นแม่กองดำเนินงาน นอกจากนั้นยังไม่เกจิอาจารย์ทั่วประเทศสมัยนั้นได้เดินทางมาร่วมปลุกเสกอย่างพร้อมเพียงถึง 108 รูป ซึ่งถือว่าพิธีนี้เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและสุดแห่งการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคลแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ครับ เพราะหลังจากปี 2485 ไปแล้วก็ไม่สามารถจัดพิธีที่ยิ่งเช่นนี้ได้อีกเนื่องจากพระอาจารย์ทั้งหลายท่านได้มรณะภาพตามวาระสังขารไป
พิธีใหญ่แค่ไหนนอกจากมีท่านสมเด็จฯและเจ้าคุณฯจากวัดสุทัศน์แล้วก็ยังมี พระอาจารย์จากวัดราชบูรณะ พระธรรมเจดีย์(อยู่) วัดสระเกศ พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณ พระมหาโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงค์ พลวงพ่อเส็งวัดกัลยา หลวงพ่ออ๋อยวัดไทร หลวงพ่อโชติวัดตะโน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสโส อ้วน) วัดบรมนิวาส สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ) วัดเทพศิรินทร์ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว หลวงพ่อจาดวัดบางกะเบา หลวงปู่เผือกวัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อภักตร์วัดบึงทองหลาง หลวงพ่อเหมือนวัดโรงหีบ หลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขา หลวงพ่อเปลี่ยนวัดใต้ หลวงพ่อเหรียญวัดหนองบัว หลวงพ่อศุขวัดโตนดหลวง หลวงพ่อจันทร์วัดบ้านยาง หลวงพ่อกลิ่นวัดสะพานสูง หลวงพ่อแฉ่งวัดบางพัง หลวงพ่อรุ่งวัดท่ากระบือ หลวงแช่มวัดตากล้อง หลวงพ่อเชยวัดเจษฎาราม สมุทรสาคร หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก หลวงพ่ออั้นวัดพระญาติ หลวงพ่อนาควัดระฆัง หลวงปู่จันทร์วัดนางหนู หลวงพ่อพิธวัดฆะมัง หลวงพ่ออ่ำวัดหนองกระบอก หลวงพ่อเปี่ยมวัดเกาะหลัก ฯลฯ นี่คือรายชื่อพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกส่วนหนึ่งครับ จะเห็นว่าจะมีพิธีใดที่สามารถรวบรวมอาจารย์ผู้เชี่ยญชาญวิทยาคมได้เช่นนี้ครับ
|