ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ภาพแห่งตำนาน มรดกตกทอดของคุณปู่ คุณย่า คุณค่าต่อการศึกษา



(N)


ภาพนี้เป็นภาพหลวงพ่อแพ วัดกลางคลองครับ ยุคเดียวกับหลวงพ่อกลั่น พระเกจิฯ ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในกรุงเก่ามีด้วยกันหลายรูป หลวงพ่อปุ้มวัดสำมะกัน อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อรอด วัดสามไถ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ หลวงพ่อนวม วัดกลาง หลวงพ่อกรอง วัดเทพขันทร์ลอย หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง ท่านเก่งทางรักษาโรคด้วย สามารถมองหน้าคนก็รู้ว่าเป็นโรคอะไรท่านเก่งทางรักษาโรคขึ้นชื่อที่สุด นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อแพ วัด โตนด นครหลวง หลวงพ่อแพ วัดกลางคลอง เสนา ท่านก็เก่ง พระเกจิที่กล่าวมานั้นเป็นพระยุคเดียวกับหลวงพ่อกลั่นครับ
วัดกลางคลองวัฒนาราม ต.เจ้าเสด็จ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่เลขที่ 63 หมู่ 1 ต.เจ้าเสด็จ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2428 โดยมีหลวงพ่อชายเป็นผู้นำชาวบ้านจัดสร้างและเรียกว่าวัดบัวหัก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดกลางคลอง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2445 เป็นวัดที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นภาพมรดกตกทอด จากคุณปู่ คุณย่าครับ

โดยคุณ เบียเจ้าเจ็ด (1.7K)  [ส. 19 ก.ย. 2558 - 15:49 น.]



โดยคุณ เบียเจ้าเจ็ด (1.7K)  [ส. 19 ก.ย. 2558 - 15:49 น.] #3680047 (1/4)


(N)


ภาพพระ ธรรมดิลก (อิ่ม) อดีตเจ้าอาวาส วัดราชบุรณะ กทม. ท่านเกิดที่บ้านเจ้าเจ็ด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปีพ.ศ.2390 พออายุได้ 13 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเทพรังษี บ้านเจ้าเจ็ด แล้วย้ายมา จำพรรษาและเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดราชบุรณะ ต่อมาอายุครบบวช ในปีพ.ศ.2411 ท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดราชบุรณะ โดยมีพระธรรมวโรดม (สมบูรณ์) เจ้าอาวาสวัดราชบุรณะ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "จันทสิริ" ในขณะที่ท่านเป็นสามเณรอยู่นั้น ก็สอบได้เปรียญ 3 ประโยค และหลังจากท่านอุปสมบทแล้วท่านก็สอบได้เป็นเปรียญ 4 ประโยค ในปีพ.ศ.2428 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูปลัด ฐานานุกรมของพระธรรมไตรโลกาจารย์ (แสง) ปีพ.ศ.2434 เป็นพระครูปลัดสุวัฒนสุตคุณ ฐานานุกรมของพระธรรมวโรดม ปีพ.ศ.2436 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระศิริธรรมมุนี ปีพ.ศ.2438 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเมธี ศรีประสาธน์สุตาคม ปีพ.ศ.2443 ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุข ปีพ.ศ.2448 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธิศีลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดราชบุรณะ ปีพ.ศ.2466 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมดิลก ต่อมาเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2466 ท่านก็มรณภาพ สิริอายุได้ 77 ปี พรรษาที่ 55 เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบุรณะ 23 ปี


ท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก (อิ่ม) ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้พัฒนาวัดราชบุรณะไว้มากมาย ทั้งกุฏิสงฆ์และเสนาสนะทั้งหลาย ปฏิสังขรณ์พระวิหารพระอสีติมหาสาวก ซ่อมแซมฐานชุกชีพระประธาน ปิดทองพระประธาน พระอัครสาวก ประตูหน้าต่างพระอุโบสถ และอื่นๆ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และมีผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาท่านมาก
ต่อมาในปีพ.ศ.2470 คณะศิษย์ได้พร้อมใจกันจัดงานบุญ และหล่อรูปท่านเจ้าคุณไว้เพื่อกราบไหว้ระลึกถึงในการนี้ได้มีการจัดสร้าง วัตถุมงคลเหรียญรูปท่านขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย และเมื่อสร้างเหรียญรูปท่านเสร็จแล้ว ได้ถวายท่านเจ้าคุณพระมงคลทิพย์มุนี (มุ้ย) ปลุกเสกที่วัดจักรวรรดิฯ ก่อนแล้วจึงนำกลับมาเข้าพิธีปลุกเสกที่วัดราชบุรณะอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นจึงนำมาแจกจ่ายให้แก่ศิษยานุศิษย์ต่อไป เป็นภาพมรดกตกทอด จากคุณปู่ คุณย่าครับ

โดยคุณ เบียเจ้าเจ็ด (1.7K)  [ส. 19 ก.ย. 2558 - 15:50 น.] #3680048 (2/4)


(N)


ภาพของหลวงพ่อปั้น วัดเจ้าเจ็ดใน วัดเจ้าเจ็ดในตั้งอยู่ที่ริมคลองเจ้าเจ็ดซึ่งเป็นทางไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบัน วัดเจ้าเจ็ดในตั้งอยู่ที่ ๓๔ ถนนสุขาภิบาลเจ้าเจ็ด หมู่ที่ ๓ ตำบลเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๔๐ ตารางวา
วัดเจ้าเจ็ดในเกิดขึ้น หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าใหม่ๆปี พ.ศ.๒๓๑๐ ท้องที่เจ้าเจ็ดเป็นดินแดนลุ่มลาดซึ่งเป็นป่ารกร้าง มาก จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ร้ายเช่น จระเข้ ช้าง เสือ เป็นต้น และเป็นที่ลี้ภัยสงครามพม่าของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ในครั้งนั้น เมื่อเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ทั้งหลายลี้ภัยมาพักอาศัยอยู่ที่ตำบลนี้ ซึ่งคงนับได้ ๗ พระองค์ จึงได้สร้างปูชนีย์วัตถุไว้ ต่อมาประชาชนจึงได้ถือเอาที่นี้เป็นวัด จึงได้ซื่อว่า “วัดเจ้าเจ็ด” ต่อมาภายหลังได้เกิดวัดขึ้นอีกวัดตั้งอยู่ทิศเหนือ มีเนื้อที่ติดต่อกัน ดังนั้นวัดเจ้าเจ็ดจึงมีคำว่า “ใน” ต่อท้าย
ต่อมาปี ๒๔๔๙ พระธรรมดิลก (อิ่ม) กับพระอุปัชฌาย์ ปั้น เป็นเจ้าอาวาสขณะนั้นเป็นหัวหน้าประชาชน ชาวเจ้าเจ็ด และกรุงเทพ ร่วมกันสร้างโรงอุโบสถขึ้นโดยสร้างทับที่ของเดิม และผูกพัทธสีมาเมื่อปี ๒๔๕๐
เจ้าอาวาสที่สืบทราบนามได้ มี ๕ รูป
๑. พระอาจารย์จีน (พระอาจารย์ สอนพระปริยัติธรรม และภาษาบาลี ให้กับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด)
๒. พระอุปัชฌาย์ ปั้น
๓. พระครูพรหมวิหารคุณ (หลวงปู่ยิ้ม)
๔. พระอาจารย์คำ (รักษาการ)
๕. พระครูเสนาคณานุรักษ์ (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน)
อุปัชาณาย์ ปั้น วัดเจ้าเจ็ดใน มีฉายาว่า ติสฺสเถระ หลวงพ่อปั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อจีน วัดเจ้าเจ็ดในท่านเป็นพระอาจารย์ประจำวัด แต่ท่านเป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระอุปัชฌาย์ ประมาณ พ.ศ. 2449 ท่านอยู่ในยุคเดียวกับหลวงพ่ออิ่ม วัดเจ้าเจ็ด หรือหลวงพ่ออิ่ม วัดราชบูรณะ หลวงพ่อปั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ระยะหนึ่งเพราะสุขภาพท่านก็ไม่แข็งแรงต่อมาหลวงพ่อยิ้มก็ขึ้นมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดต่อไป เป็นภาพมรดกตกทอด จากคุณปู่ คุณย่าครับ

โดยคุณ เบียเจ้าเจ็ด (1.7K)  [ส. 19 ก.ย. 2558 - 21:21 น.] #3680122 (3/4)


(N)
ผมได้เก็บภาพบูชาซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นเป็นภาพเซียเปียทีหาชมยากมากๆในสมัยนี้ครับเมื่อก่อนคุณปู่ท่านชอบทำบุญกับวัดครับจึงได้ภาพมาไว้บูชาทีบ้านจะได้เป็นศิริมงคลกับครอบครัวครับ ได้นำมาให้พี่ๆน้องๆได้รับชมครับขอบขอบพระคุณทุกท่านที่เขามารับชม ครับ เบียเจ้าเจ็ด

โดยคุณ เบียเจ้าเจ็ด (1.7K)  [พฤ. 31 มี.ค. 2559 - 22:09 น.] #3731488 (4/4)
ไอดี LINE ครับ ktit2526 เบียเจ้าเจ็ด

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1