(N)
พระร่วงยืน กรุไผ่แหลม ลพบุรี เป็นพระร่วงยืนศิลปะแบบลพบุรีบริสุทธิ์ มีการแตกกรุ 2 ครั้ง
แตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2487 ที่บ้านไผ่แหลม พบพระประมาณ 100 กว่าองค์ มีทั้งสมบูรณ์และชำรุด
แตกกรุครั้งที่ 2 พบที่กรุวัดสะเดาหวานและวัดกระเจียว เมื่อปี 2524 โดยในขณะนั้น ที่วัดกระเจียวได้ประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่วัด ทางวัดจึงได้ว่าจ้างผู้รับเหมาไปขุดเนินดิน(ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดร้างเก่า ที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดสะเดาหวาน) เพื่อมาถมในบริเวณวัดกระเจียวเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยในครั้งนั้น จึงได้พบพระร่วงยืนซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ พระร่วงที่เคยพบที่บ้านไผ่แหลมทุกประการ
พระร่วงยืนกรุไผ่แหลม จะเป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงเพียงชนิดเดียว มีทั้งชินแก่ตะกั่วและตะกั่วแก่ชิน มีไขขาวขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วองค์ เนื้อตะกั่วจะแห้งจัด กรอบ ระเบิดบ้าง บางองค์สนิมแดงจัดๆก็มี การพบพระร่วงยืน ไผ่แหลมทั้ง 2 ครั้งนี้ รวมๆกันได้ประมาณ 2000 กว่าองค์ ซึ่งจะชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ เล่าๆกันมาว่ามีสมบูรณ์อยู่ไม่เกิน 20 องค์เท่านั้น
|