ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : บล็อคขีด สุดยอดหายากพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดาพิมพ์ใหญ่พระแห่งในหลวงรัชกาลที ๙ สมดังชื่อพระจิตรลดา๒



(N)


บล็อคนี้ บล็อคหายากที่สุดของพระจิตรลดาหลังอุณาโลม ปี 2519 วัดบวร สุดยอดพระเกจิและพระอรหันต์แห่งยุคปลุกเสก อาทิ สมเด็จพระสังฆราช หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ชา หลวงปู่ขาว หลวงปู่ดุลย์ หลวงตามหาบัว หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่สิม หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อโชติ หลวงปู่สี หลวงพ่อฑูรย์ ฯ
และรวมที่สุดมวลสารแห่งแผ่นดิน

กองกษาปณ์รับเป็นแม่งานในการดำเนินการและการแกะพิมพ์

เป็นพระจิตรลดารุ่นเดียวที่สร้างหลังจากพระสมเด็จจิตรลดาที่ในหลวงทรงหยุดสร้าง และสร้างขึ้นจากพระราชปรารภของพระองค์ท่าน อีกทั้ง ทั้งพิมพ์ใหญ่พิมเล็กยังมีขนาดเท่ากับสมเด็จจิตรลดาทุกประการ

ด้านหลังปรากฎพระยันต์อุณาโลม สุดยอดมหายันต์ทั้งปวงและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์

โดยคุณ pippinnu (9.1K)  [จ. 30 ม.ค. 2560 - 11:05 น.]



โดยคุณ pippinnu (9.1K)  [จ. 30 ม.ค. 2560 - 11:06 น.] #3796055 (1/3)


(N)
.

โดยคุณ pippinnu (9.1K)  [จ. 30 ม.ค. 2560 - 13:39 น.] #3796076 (2/3)
ความหมายของพระยันต์ข้างหลังองค์พระโดย นพ.ดนัย โอวัฒนาพานิช (ขออนุญาตนำมาเผยแพร่และขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ)



บรรทัดเเรก ยันต์มหาอุณาโลม
ซึ่งผู้เรียนพระเวทย์จะทราบดีว่ายันต์มหาอุณาโลมไว้ลงยันต์เป็นอันดับสุดท้ายไว้ยอดสุดเสมอ เเทนพระพุทธเจ้า เเละขยักเเทนฉัพพันรังสีของพระพุทธเจ้า

บรรทัดสอง เอตังสะติง
ซึ่งมาจาก หัวใจกรณีเมตตาสูตร

กรณียเมตตสูตรเป็น พระสูตร ใน ขุททกปาฐะ ขุททกนิกาย ของ พระสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา และการปฏิบัติตนเพื่อเจริญธรรม นำไปสู่ การบรรลุมรรคผล ในท้ายที่สุด บางครั้งเรียกว่า เมตตปริตร

โดยที่มาของพระสูตรเกิดขึ้นเมื่อพระ ภิกษุ ประมาณ 500 รูป ได้เรียน กรรมฐาน จากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นได้เดินทางไปแสวงหาเสนาสนะที่เป็นสัปปายะ ณ ป่าหิมวันต์ ในปัจจันตประเทศ บรรดารุกขเทวดาและเทพยดาในถิ่นนั้น แสดงอาการอันน่ากลัว แล้วหลอก เพื่อขับไล่พระภิกษุเหล่านั้น จากต้นไม้เเละที่ของตน พระภิกษุเหล่านั้นถูกบรรดารุกขเทวดาและเทพยดาจำแลงกายหลอกหลอนตน จนไม่อาจบำเพ็ญเพียรเจริญพระกรรมฐานได้ ต่อมาจึงพากันเดินทางไปยังนครสาวัตถีเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสดับเรื่องราวแล้ว ทรงมีพระดำรัสให้ภิกษุทั้งหลายกลับไปเจริญพระกรรมฐานยังสถานที่แห่งเดิม แล้วจึงทรงตรัสเมตตสูตร เพื่อให้ภิกษุทั้ง 500 รูปได้เจริญเมตตาโปรดรุกขเทวดาเทพยดาทั้งหลาย ให้หยุดจองเวรเสีย

นี่คือที่มาของกรณีเมตาสูตร

กะระณียะเมตตะสุตตัง

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิยา รัสสะกา อะณุกะถูลา

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ

พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

เอวัมปิ สัพพะภุเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ

กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่ พึง
บำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรง ว่า
ง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษเลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความ
ประพฤติเบา มีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง
ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไรๆ ซึ่งเป็น
เหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตในสัตว์ทั้งหลายว่า ขอ
สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิต
เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้สะดุ้งหรือเป็นผู้มั่นคง ผอมหรือพี และสัตว์
เหล่าใดมีกายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็น
อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหาที่เกิด ขอสัตว์ทั้งหมดนั้น
จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่น
อะไรเขาในที่ไหนๆ ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกันเพราะความกริ้ว
โกรธ เพราะความเคียดแค้น มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน แม้ด้วย
การยอมสละชีวิตได้ ฉันใด กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงเจริญเมตตา
มีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้นก็กุลบุตรนั้น พึงเจริญ

เมตตามีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้อง
ขวาง ไม่คับแคบไม่มีเวร ไม่มีศัตรู กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยืนอยู่ก็ดี
เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด
ก็พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิหารธรรมนี้ว่า เป็นพรหม
วิหาร ในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้ กุลบุตรผู้เจริญเมตตา ไม่เข้าไป
อาศัยทิฐิ เป็นผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยทัศนะ กำจัดความยินดีในกามทั้งหลาย
ออกได้แล้ว ย่อมไม่ถึงความนอนในครรภ์อีกโดยแท้แล ฯ

จบเมตตสูตร

ข้อมูลอ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ- ธรรมบท- อุทาน- อิติวุตตกะ- สุตตนิบาต
หน้าที่ ๙/ ๔๑๘ หัวข้อที่ ๑๐

บรรทัดที่3 ของพระสมเด็จพระอุณาโลม จารึกว่า

พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ

ซึ่งเป็นหัวใจของพระคาถาพาหุงหรือบทถวายพรพระหรือพระคาถาพระพุทธเจ้าชนะมารนั่นเอง ซึ่งโบราณจารย์มักใช้สวดตามงานเจริญพระพุทธมนต์ ในคาถากล่าวถึงการชนะมารของพระพุทธเจ้าประการต่างๆ

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระยามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบทุกมือ ขี่ช้าง
ครีเมขละ มาพร้อมกับเหล่าเสนามารซึ่งโห่ร้องกึกก้อง ด้วยวิธีอธิษฐานถึงทานบารมี เป็นต้น

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

คำแปล อนึ่ง พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ชื่อ อาฬวกะ ผู้มีจิตหยาบกระด้าง ผู้ไม่มีความอดทน มีความพิลึกน่ากลัวกว่าพระยามาร ซึ่งได้เข้ามาต่อสู้อย่างยิ่งยวดจนตลอดคืนยันรุ่ง ด้วยวิธีทรมานอันดี คือขันติความอดทน

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี ที่เมายิ่งนัก และแสนจะดุร้าย ประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือ ความมีพระทัยเมตตา

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิดฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะ สุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท

คำแปล พระจอมมุนี ทรงคิดจะแสดงฤทธิ์ปาฏิหารย์ จึงได้เอาชนะโจรชื่อ องคุลิ-มาล ผู้แสนจะดุร้าย มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นระยะทาง ๓ โยชน์

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะคำกล่าวใส่ร้ายของ นางจิญจมาณวิกา ซึ่งทำอาการเหมือนดั่งมีครรภ์ เพราะเอาท่อนไม้กลมผูกไว้ที่หน้าท้อง ด้วยวิธีทรงสมาธิอันงาม คือความกระทำพระทัยให้ตั้งมั่นนิ่งเฉย ในท่ามกลางหมู่ชน

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท

คำแปล พระจอมมุนีผู้รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างคือปัญญา ได้เอาชนะ สัจจกะนิครนถ์ ผู้มีความคิดมุ่งหมาย ในอันจะละทิ้งความสัตย์ มีใจคิดจะยกถ้อยคำของตนให้สูงประดุจยกธง และมีใจมืดมนยิ่งนัก ด้วยการแสดงเทศนาให้ถูกใจ

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท

คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะพญานาคราชชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก ด้วยวิธี บอกอุบายให้พระโมคคัลลานเถระพุทธชิโนรส แสดงฤทธิ์เนรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาค ชื่อ นันโทปนันทะนั้น

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท

คำแปล พระจอมมุนี ได้เอาชนะพระพรหมผู้มีนามว่า ท้าวพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ คิดว่าตนเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยคุณอันบริสุทธิ์ ผู้ถูกพญานาครัดมือไว้แน่น เพราะมีจิตคิดถือเอาความเห็นผิด ด้วยวิธีวางยาคือทรงแสดงเทศนาให้ถูกใจ

ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ

คำแปล ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้นเถิด ฯ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

คำแปล บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล 8 คาถาเหล่านี้ทุก ๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้นคือ พระนิพพานอันบรมสุขแล ฯ

และ

บรรทัดสุดท้ายคือ

สะ อะ คือหัวใจของโอวาทปาฏิโมกข์

ย่อมาจาก

สัพพะปาปัสสะอะกะระณัง

คำเต็มมาจาก

สพฺพปาปสฺส อกรณํ (สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง)
– การไม่ทำความชั่วทั่วปวง
กุสลสฺสูปสมฺปทา (กุสะลัสสูปะสัมปะทา)
– การทำกุศลให้ถึงพร้อม ทำแต่ความดี
สจิตฺตปริโยทปนฺ (สะจิตตะปะริโยทะปะนัง)
– การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ (เอตัง พุทธานะ สาสะนัง)
– ธรรมนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

สมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดา เเฝงไปด้วยคติธรรมเเละทำให้เราทราบถึงว่าผู้สร้างย่อมเป็นปราชญ์ในพระพุทธศาสนาอย่างเเยบคายมิปรากฏพระใดในยุคเดียวกันเทียบเท่าได้เลย

ความหมายของพระยันต์ข้างหลังองค์พระโดย นพ.ดนัย โอวัฒนาพานิช (ขออนุญาตนำมาเผยแพร่และขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ)

โดยคุณ Rawwater (640)  [พ. 08 ก.พ. 2560 - 21:32 น.] #3797692 (3/3)

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1