(N)
พระมเหศวร 1 ใน 5 เบญจภาคี เนื้อชินเงิน
พุทธคุณ : ยอดเยี่ยมทุกด้าน โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี
พุทธลักณะ : องค์พระนั่งปางมารวิชัยทั้งสองด้าน แต่ประทับนั่งหันพระเศรียรสวนทางกัน การที่ทำเป็นองค์พระทั้งสองด้าน สันนิษฐานว่าแม่พิมพ์ของพระมเหศวร จะมีลักษณะแบบเบ้าประกบ มีเดือยอยู่กลางองค์ระหว่างองค์พระ เพราะในพระบางองค์ยังมีรอยก้านชนวนให้เห็นอยู่
เนื้อพระมเหศวร : มีทั้งชินเงิน และชินตะกั่ว
ถ้าเป็นเนื้อชินเงินซึ่งแก่ดีบุก และปรอท เนื้อจะแข็ง และออกเป็นสีเงินยวง ในองค์ที่สมบูรณ์ผิวพระจะมีคราบปรอท และคราบไขสีน้ำตาลแทรกแซมกันอยู่ ทำให้ดูเหมือนผิวปรอทสีทองงามจับตายิ่งนัก แต่ถ้าผ่านการใช้สัมผัสก็จะเกิดสนิมสีดำ บางองค์เกิดสนิมขุม และรอยปริแตก ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระเนื้อชินเงินที่ผ่านกาลเวลามานาน
มีข้อเสียคือ เมื่อมีอายุกาลที่เนิ่นนานเข้าจะเกิดการทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อมและกัดกร่อนลงไปในเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง เรียกว่า "สนิมขุม" และจะเกิดรอยระเบิดแตกปริตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยจะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก อันเป็นหลักการพิจารณาที่สำคัญประการหนึ่ง
ส่วนเนื้อชินตะกั่ว เป็นเนื้อประเภทที่เรียกว่า ชินสังฆวานร ลักษณะเนื้อพระจะอ่อนบิดงอได้ ผิวจะออกสีเทา แต่เนื้อในยังคงเป็นสีเงินยวง มีคราบไข และสนิมต่างๆ เหมือนกัน
ขนาดองค์พระ : พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ใหญ่พิเศษ (หน้าใหญ่) กว้างประมาณ 2.5 ซม. สูงประมาณ 3.75 ซม. พิมพ์กลางและพิมพ์เล็กมีขนาดและรูปทรงย่อมลงมาเล็กน้อย แทบจะดูไม่แตกต่างกันมากนัก
พิมพ์พระมเหศวร : ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็กนั้น มีพิมพ์แยกย่อยมากมมายหลายสิบพิมพ์ แต่ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์อะไรก็ตาม พระทั้ง 2 หน้า แม้จะเป็นพิมพ์เดียวกันก็ตามแต่จะต้องไม่เหมือนกันเด็ดขาด
ขออนุญาติ นำบทความเพียงแค่บางส่วนของ อ.เลิศ สุพรรณ, อ.ราม วัชรประดิษฐ์ และ อ.มนัส โอภากุล มาเผยแพร่ เพื่อเป็นวิทยาทาน ให้ชนรุ่นหลังหรือนักสะสมมือใหม่ไว้เป็นแนวทางศึกษานะครับ ขอยกเครดิตให้อาจารย์ทั้ง 3 ท่านไว้ ณ ที่นี้ครับ
สำหรับองค์นี้ เป็นพระเนื้อชินเงิน ซึ่งเนื้อพระจะแข็ง แต่หากตกพื้นมีหักแน่นอน พระระเบิดจากด้านในรอยปริแตกธรรมชาติของพระประเภทนี้ ผิวพระจะเป็นสองชั้น
ดูรวมๆแล้วมีเสน่ห์ |