(N)
ที่สุดแห่งพระในพระราชศรัทธา สร้างจากพระราชปรารภของในหลวงรัชกาลที่ 9 สมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา 2519
ที่สุดของสูงมงคล อธิษฐานจิตโดยสุดยอดพระอริยสงฆ์สงฆ์แห่งยุคและมวลสาร ไม่มีที่เทียม สู.ยิ่งด้วยพุทธคุณและพุทธศิลป์ที่งดงามลงตัว
ประวัติการสร้างโดยย่อ
พระสมเด็จอุณาโลม ได้ถอดแบบมาจาก �พระสมเด็จจิตรลดา� ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสองชั้นในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดาแต่เพิ่มรายละเอียดในองค์พระปฏิมากรให้ชัดเจนขึ้นและเพิ่มยันต์อุณาโลมที่ด้านหลังองค์พระ พร้อมกับมีอักขระจารึกว่า �เอตังสะติง พะมะนะอะกะสะนะทะอะ สะ อะ� เป็น 3 บรรทัด อักษรจมลงไปในเนื้อพระ ด้านหลัง
ขนาดพระมีสองพิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ สูง 3 ซม. กว้าง 2 ซม. หนา 0.5 ซม. ส่วนพิมพ์เล็กสูง 2.5 ซม. กว้าง 1.7 ซม. หนา 0.4 ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีแบบอิฐเผา จำนวนสร้าง 100,000 องค์.
พิธีพุทธภิเษก
เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก 7 วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯ เมื่อวันที่ 5-11 ก.ค. 2519
รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสกและเจริญพุทธมนต์พระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตลดา - นางพญา สก. 2519
1. วันจันทร์ 5 ก.ค. 2519 เวลา 17.00 น.
พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
2. พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
3. หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
4. หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
5. พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
6. พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
7. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป
1. สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
3. สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
4. พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
5. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
6. พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
7. พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
8. พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
9. พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
10. พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม
2. วันอังคาร 6 ก.ค. 2519
พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
2. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
3. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
5. หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
6. พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
7. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
3. วันพุธ 7 ก.ค. 2519
พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
2. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
3. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
4. หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
5. หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
6. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
7. หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
8. หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
9. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
10. หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด
4. วันพฤหัสบดี 8 ก.ค. 2519
พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
3. หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
4. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
5. พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
6. หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
7. หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
8. หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
9. พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย
5. วันศุกร์ 9 ก.ค. 2519
พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
1. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
2. พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
3. หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
4. หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
5. หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
6. พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
7. หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี
6. วันเสาร์ 10 ก.ค. 2519
พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
2. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
3. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
4. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
5. หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
6. หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
7. หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
7. วันอาทิตย์ 11 ก.ค. 2519
พระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก
ตอนกลางวัน (เวลา 13.00 - 1600 น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม. นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว 4 ชั่วโมงเต็ม
ตอนค่ำ 1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
2. พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
3. หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
4. พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.
5. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี
6. หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.
7. พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กท
ในวันที่ 12 ก.ค. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมและสุหร่าย สมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา 16.00 น. ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรฯ
รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป
1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม
2. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
3. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ
4. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ
5. พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์
6. พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ
7. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม
8. พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
9. พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส
10 พระเทพกวี วัดบวรฯ
พระสมเด็จทรงจิตรลดา และ พระนางพญา ส.ก. นั้น เป็นพระที่มีเนื้อหามวลสารดีเยี่ยมที่สุดเท่าที่คณะบุคคลจะพึงทำได้ โดยมีมวลสารหลักคือกระเบื้องพระอุโบสถของทั้งสองหลังและยังแสวงหาผงพุทธคุณต่าง ๆ จากพระเถราจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งพระสายกรรมฐานและพระสายวิชา ว่าน-ยา ที่รวมแล้วมีกว่าพันชนิดมิใช่ 108 ดังที่นิยมทั่วไป แร่ธาตุศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศจากสถานที่ต่าง ๆ ทุกมุมเมืองเกือบสองร้อยรายการ เส้นเกศาของพระสุปฏิปันโนซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของพุทธศาสนิกชน องค์หลักก็คือ เส้นพระเกศาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ย้อนยุคขึ้นไปหลายพระองค์ เส้นเกศาของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฑฒโน) หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ เป็นต้น
แม้ผงอิทธิเจอันลือลั่นว่าขลังนักของพระเดชพระคุณพระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินทวัณโณ) วัดประดู่ฉิมพลี บางกอกใหญ่ ธนบุรี ท่านก็เมตตามอบให้มาผสมเนื้อตั้งชามใหญ่ และยังมีผงวิเศษต่าง ๆ ที่ไม่สามารถกล่าวได้หมด แต่เป็นมวลสารที่ไม่อาจหาได้ในพิธีกรรมไหน ๆ อีกแล้วโดยง่าย เช่น ผงฉัตรจากพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ ผงหินน้ำมันจากใต้ทะเลลึก 10,000 ฟุต ผงแร่ไมก้าและข้าวตอกฤาษีที่อ่างกา ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ผงธนบัตรมูลค่า 2,000 ล้านบาท ผงดินใจกลางเมืองหงสาวดี ผงหินจากบรมเจดีย์บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย ผงพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แท้ ๆ ผงจากสัตตัปปดลมหามงคลเศวตฉัตร ซึ่งลอยอยู่เหนือองค์พระพุทธชินสีห์ ที่สำคัญคือ ผงพระราชทานหลากชนิดจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีผงจิตรลดาอันลือลั่น
ผงที่กล่าวมาก็เป็นแค่ 1 ใน 100 ของผงทั้งหมด ไม่สามารถหยิบยกมาเล่าให้ฟังได้หมด เพราะเนื้อที่จำกัดจริง ๆ จำได้ว่าคุณเนาว์ นรญาณ เคยนำประวัติพระทั้งสองพิมพ์นี้เขียนลงในศักดิ์สิทธิ์เมื่อนานมาแล้ว ซึ่งผู้เขียนอยากได้พระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะ แต่ปัจจัยน้อย ต้องรุ่นนี้เลย เสกพิธีแรก 7 วัน 7 คืน หลวงปู่โต๊ะมาทุกวันเสกเต็มที่ทุกวัน เห็นว่าท่านเมตตานั่งปรกให้วันละประมาณ 4 ชั่วโมง 4 ชม. ดังว่านั้นท่านนั่งรวดเดียว
ใครเคารพครูบาอาจารย์รูปใดองค์ใด โดยเฉพาะสายกัมมัฏฐาน รุ่นนี้เก็บพลังจากท่านไว้มากโขทีเดียว ทั้งพระป่าพระเมือง พระวิปัสสนาและพระวิชา ร่วมกันอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องสองพิมพ์นี้ไว้อย่างเต็มเหนี่ยว
พระ 25 ศตวรรษ ก็ดีเลิศ แต่ถ้าดูประวัติให้ดีจะมีพระที่อัฐิเป็นพระธาตุมาร่วมพิธีน้อยมาก เป็นพระวิชาเสียเยอะ ใครชื่นชอบพระสงฆ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ เดินตามรอยบาทพระพุทธเจ้าโดยแท้จริง ควรหาพระเครื่องรุ่นนี้มาบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล
ด้วยรายละเอียดดังกล่าวมานี้ จึงเชื่อได้แน่ว่า "พระสมเด็จพระอุณาโลมทรงจิตรลดา" และ "พระสมเด็จนางพญา สก."อันเป็นที่พระเครื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ, พระราชปรารภ, พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง, ทรงพระสุหร่าย, ทรงจุณเจิมด้วยพระองค์เองโดยตรง ตั้งแต่เบื้องต้นจนจบตลอดสายดุจนี้ จะเป็น "พระเครื่องแห่งกษัตริย์" ที่ทรงไว้ซึ่ง "พระราชบารมี" และ "พระบรมเดชานุภาพ" แห่งพระบรมมหากษัตริยาธิราชเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐสุดอย่างล้นพ้น แท้จริง และ "ของจริง" อย่างหาที่สุดมิได้
และยิ่งการสร้างพระสมเด็จพระอุณาโลมฯและพระสมเด็จนางพญาสก.ในครั้งนี้ อยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยที่ยังเป็นที่สมเด็จพระญาณ |