ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : HOT " เสือเผ่น " หลวงพ่อสุด วัดกาหลง (บล็อกศาลาครืน) ปี 2517



(N)


บล็อกนี้จุดแท้หลายที่ดูง่าย

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [พฤ. 07 ก.ย. 2560 - 23:45 น.]



โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [ศ. 08 ก.ย. 2560 - 16:37 น.] #3833407 (1/16)


(N)
มีรุ่นไหนลงมาโชว์กันครับ

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [ศ. 08 ก.ย. 2560 - 16:52 น.] #3833411 (2/16)


(N)


เดิมสวยมาก

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [ส. 09 ก.ย. 2560 - 22:07 น.] #3833683 (3/16)


(N)


ถ่ายรูปเอง

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [ส. 09 ก.ย. 2560 - 22:10 น.] #3833684 (4/16)


(N)


รูปเดียวกันอีกมุม

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [ส. 09 ก.ย. 2560 - 22:12 น.] #3833685 (5/16)


(N)


เพิ่ม

โดยคุณ pomkaew (15.8K)  [พ. 13 ก.ย. 2560 - 23:58 น.] #3834431 (6/16)

โดยคุณ bank18 (3.3K)  [ศ. 15 ก.ย. 2560 - 16:04 น.] #3834808 (7/16)
สวยงามครับ อยากได้เลย อิอิ

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [จ. 19 ก.พ. 2561 - 21:04 น.] #3856707 (8/16)
446405

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [จ. 19 ก.พ. 2561 - 22:49 น.] #3856719 (9/16)
b248d51a-b2cd-41c6-a950-4e330162933a

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [พฤ. 01 มี.ค. 2561 - 18:22 น.] #3857799 (10/16)
nice
4ac0ca88d8d76468f70b

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [พฤ. 01 มี.ค. 2561 - 21:20 น.] #3857825 (11/16)
nice
3EhQJNBXs1mvxo1eca9SV3KQEvq8Cxk7fV

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [ส. 03 มี.ค. 2561 - 21:56 น.] #3858086 (12/16)
37AwSeNz1wLgjxkHXjX8xNK94i2bPxHxCw
bx

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [อา. 04 มี.ค. 2561 - 12:17 น.] #3858164 (13/16)
YCY7JZSAFHRHDN5P
2fater nice

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [พฤ. 31 พ.ค. 2561 - 09:41 น.] #3866412 (14/16)
เสือหลวงพ่อปานบางเหี้ย - วัดสว่างอารมณ์ ส.ป.
22 กรกฎาคม 2015 ·
#วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๐ หมู่ที่ ๙ ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ บริเวณปากอ่าวคลองด่านในเขตป่าชายเลน มีเนื้อที่ ๕๖ ไร่ ๑ งาน ๔๒ ตารางวา ก่อตั้งสร้างวัดเมื่อสมัย #หลวงพ่อปานบางเหี้ย(พระครูพิพัฒนิโรธกิจ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังวัดบางเหี้ย(วัดมงคลโคธาวาส-ปัจจุบัน) ท่านได้มาปักกลดเป็นประจำ เห็นเป็นสถานที่ริมทะเล อากาศดีมาก สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จึงนำนายนาค นายเขียว ขึ้นกราบบังคมทูลขอสร้างวัด โดยได้รับพระกรุณาพระราชทานราชานุญาต จากองค์ #สมเด็จพระปิยะมหาราชสมภารเจ้า(รัชกาลที่ ๕) ดังมีพระราชลัญจกรประทับตรา ปี ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒) ถึง ณ บัดนี้ วัดสว่างอารมณ์ มีเจ้าอาวาสรวม ๗ รูป

มีพระบรมราชโองการ ประกาศไว้แก่ชนทั้งปวง ที่เขตรพระอุโบสถ วัดสว่างอารมณ์ ตำบลปากอ่าวบางเหี้ย แขวงเมืองสมุทปราการ โดย ยาว ๑๒ วา กว้าง ๘ วา พระครูพิพัฒนิโรธกิจ กับ นายเขียว นายนาค ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอเป็นที่วิสุงคามสีมา พระจ้าแผ่นดินสยาม ได้ทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว โปรดให้กรรมการ ปักกำหนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศที่นั้น ให้เปนที่วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหาก จากพระราชอาณาเขตร เป็นที่วิเสษสำหรับพระสงฆ์มาแต่จาตุรทิศทั้ง ๔ ทั้งสังฆกรรม มีอุโบสถกรรมเป็นต้น
พระราชทานตั้งแต่วันที่ ๒๕ มกราคม รัตนโกสินทร ศก ๑๒๘ พระพุทธสาสนยุกาล ๒๔๕๒ พรรษา เปนวันที่ ๑๕๐๕๐ ในรัชกาลปัตยุบันนี้ ( ทรงลงพระนาม และประทับตรา พระราชลัญจกร สีแดง ) บนกระดาษสีเหลือง
แผ่นป้ายสะแตนเลส วัดสว่างอารมณ์ ตรงเชิงบันไดขึ้นกุฏิเจ้าอาวาส
บอกเรื่องราว สถานที่ตั้ง เนื้อที่ ประวัติโดยย่อ และลำดับเจ้าอาวาส
เนื้อที่ของวัดสว่างอารมณ์ ทั้งหมด ๕๖ ไร่ ๑ งาน ๔๒ ตารางวานั้น ถือโฉนดที่ดินที่ ๒๐๔๕ สารบัญเล่มที่ ๒๒ หน้า ๔๕ พนักงานที่ดินแขวงเมืองสมุทรปราการ ปัจจุบันจัดส่วนให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประถมศึกษา เนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๘๐ ตารางวา และจัดเขตให้ชาวบ้านมาเช่าที่ปลูกบ้านเรือนอาศัยได้ ๙ ไร่ ๒ งาน ๔๙ ตารางวา
วัดสว่างอารมณ์ มีชื่อที่ชาวบ้านนิยมเรียกตามสถานที่ตั้งว่า วัดบ้านล่าง เพราะตั้งอยู่บริเวณป่าชายเลนตรงสุดปากอ่าวดังกล่าว เป็นวัดที่สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเจ้าอาวาสที่ปรากฏนาม ดังนี้

รูปที่ ๑ พระครูพิพัฒนิโรธกิจ พ.ศ.๒๔๕๒ ( หลวงปู่ปาน ) องค์ปฐมสงฆ์ ผู้ก่อตั้งวัด ผู้สร้างอุโบสถ
รูปที่ ๒ หลังจากหลวงปู่ปานมรณะภาพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ แล้ว กล่าวว่า มี พระถือธุดงควัตร ดูแลรักษาวัดอยู่ แต่ไม่ปรากฏนาม ถึง พ.ศ.๒๔๖๐
รูปที่ ๓ พระอธิการเหรียญ พ.ศ.๒๔๖๐ ถึง พ.ศ.๒๔๗๔
รูปที่ ๔ หลวงก๋งเลี้ยง โสรโย พ.ศ.๒๔๗๕ ถึง พ.ศ.๒๕๐๐
รูปที่ ๕ พระครูปลัดสมจิตร เปมิโย พ.ศ.๒๕๐๐ ถึง พ.ศ.๒๕๒๐
รูปที่ ๖ พระปลัดสุพจน์ คเวสโก พ.ศ.๒๕๒๐ ถึง พ.ศ.๒๕๓๔
รูปที่ ๗ พระครูสถิตวราภรณ์ พ.ศ.๒๕๓๔ ถึง ปัจจุบัน

ลำดับต่อไป ขอนำเสนอ ประวัติของเจ้าอาวาสสมภารวัดสว่างอารมณ์ สืบไป
พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน)
( อ่านรายละเอียด ได้ที่ หน้าแรก ที่ หลวงพ่อปาน )
พระครูปลัดสมจิตร เปมิโย เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ ลำดับรูปที่ ๕ พระผู้สร้างอุโบสถหลังปัจจุบัน และ วัตถุมงคลลือชื่อ สมเด็จเทียนชัย
พระครูปลัดสมจิตร เปมิโย หรือ นายสมจิตร แย้มขวัญยืน เกิดวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๖๒ ถือกำเนิดในตระกูล แย้มขวัญยืน โดยมีบิดาชื่อ นายแต้ม แย้มขวัญยืน มารดาชื่อ นางบรรจง แย้มขวัญยืน มีพี่น้อง ๒ คน นายสมจิตร เป็นพี่ชายคนโต ส่วนน้องชายชื่อ นายบุญเจือ แย้มขวัญยืน มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ บริเวณ ถนนตก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร

นายสมจิตร มีอายุได้ ๑๒ ปี ก็ได้ออกจากบ้านหายไปหลายปีจนทุกคนในครอบครัว เข้าใจว่า “ได้เสียชีวิตไปแล้ว” จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ก็มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินเข้ามาในบ้าน และถามหาโยมแต้มกับโยมบรรจง พร้อมกับได้แนะนำตัวเองว่า อาตมาคือ เด็กชายสมจิตร ที่เป็นลูกชายคนโตที่หายจากบ้านไปเมื่อประมาณ ๒๔ ปีก่อน หลายคนในครอบครัวต่างตกตะลึงและประหลาดใจมากจึงพยายามจ้องมองและพิจารณาดูอยู่นานจึงจะจำได้เพราะใบหน้าเปลี่ยนแปลงไปมากและต่างพากันร้องไห้ด้วยความดีใจที่ยังได้มีโอกาสมาพบกันอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณแม่บรรจง ซึ่งในขณะนั้นดวงตาทั้งสองข้างบอดสนิทไม่สามารถมองอะไรเห็นได้ตั้งแต่ที่ท่านอาจารย์สมจิตรหรือนายสมจิตร ได้หายไปจากบ้าน ถึงกับร้องไห้โฮเป็นการใหญ่พร้อมกับได้เอื้อมมือสองข้างมาจับต้องใบหน้าของท่านอาจารย์สมจิตรซึ่งเป็นพระ ลูกชายในขณะนั้น นอกจากนี้ท่านอาจารย์สมจิตรก็ยังต้องสูญเสียบิดาในช่วงเวลาดังกล่าวเช่นกัน จึงทำให้ท่านอาจารย์สมจิตรรู้สึกเศร้าสลดใจเป็นอย่างยิ่ง และได้ตั้งจิตอธิษฐานอย่างแน่วแน่ในวันนั้นโดยกล่าวต่อหน้ามารดาและญาติพี่น้องของท่านว่า “ท่านจะขอถือบวชไปตลอดชีวิตและจะขอตายในผืนผ้าเหลืองเท่านั้น” หลังจากวันนั้นท่านก็มุ่งปฏิบัติธรรม และออกธุดงค์อย่างเคร่งครัดเพื่อจะอุทิศผลบุญกุศลให้กับบิดา-มารดา ตลอดจนญาติพี่น้องเพื่อเป็นการไถ่ถอนความผิดของท่านที่ได้ทำให้บิดาและมารดาตลอดจนญาติพี่น้องต้องเสียใจและเป็นห่วงตนมานานหลายปี

ท่านอาจารย์สมจิตร ได้ถือธุดงค์เดี่ยวไปในที่ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา โดยจะปักกลดอยู่ห่างจาก หมู่บ้านหรือชุมชนของชาวบ้านพอสมควร ชาวบ้านที่รู้ข่าวว่าอาจารย์สมจิตรมาปักกลดก็จะพากันมาทำบุญตักบาตร โดยนำอาหารและเครื่องใช้ต่างๆ มาถวาย บ่อยครั้งที่ชาวบ้านจะนำปัญหาหรือข้อขัดข้องใจมาขอความเมตตาจากท่านอาจารย์ให้ช่วยชี้แนะแนวทางแก้ไข อาจารย์ก็จะสั่งสอนและชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปตามวิถีแห่งธรรมะ ตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือบางครั้งก็ให้คำทำนายทายทักตามดวงชะตาและโชควาสนาของแต่ละท่านไป ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก เพราะคำทำนายทายทักของท่านอาจารย์มักจะแม่นยำมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำทายทักที่เป็นข้อห้ามของท่าน หากโยมหรือลูกศิษย์ท่านใดที่ท่านได้ทายทักห้ามไว้แล้วไม่เชื่อยังฝืนกระทำก็จะได้รับความเสียหายและสูญเสียเกือบทุกรายไป จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ มีความเชื่อถือศรัทธาท่านอาจารย์มาก จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว ของชาวบ้านในย่านนั้นจะเรียกท่านว่า “อาจารย์สมจิตร” และคอยติดตามท่านอยู่เสมอว่าท่านจะมาปักกลดอีกครั้งเมื่อใด เนื่องจากท่านอาจารย์สมจิตรเป็นพระธุดงค์เดี่ยวตลอดเวลา จึงไม่ค่อยอยู่กับที่นานนัก ดังนั้นลูกศิษย์และชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีใครทราบหรือรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของท่านมากนัก บ่อยครั้งที่มีญาติโยมบางคนที่มาทำบุญซักถามท่านอาจารย์สมจิตร เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของท่าน ท่านอาจารย์ก็มักจะยิ้มแล้วพูดสั้นๆ ว่า “ขอให้มองไปข้างหน้า..” ซึ่งเป็นคำตอบที่ไม่มีใครเลยจะทราบว่าท่านหมายถึงอะไร

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อสมจิตร ได้มาธุดงค์ที่คลองด่านแห่งนี้ ชาวบ้านเห็นปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส จึงกราบอาราธนาให้ไปพักในวัดสว่างอารมณ์ ที่ปากอ่าวบ้านล่าง ซึ่งขณะนั้น วัดสว่างอารมณ์ ว่างเจ้าอาวาสลงพอดี และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสอันดับรูปที่ ๕ ในเวลาต่อมา หลวงพ่อสมจิตร จึงรับภาระธุระเจ้าวาส เห็นว่าอุโบสถเดิมที่หลวงพ่อปาน สร้างไว้ทรุดโทรมลงมาก จนไม่อาจจะซ่อมแซมในบริเวณที่เดิมได้ จึงได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นในบริเวณที่ตั้งในปัจจุบัน

พระอาจารย์สมจิตร ซึ่งต่อมาท่านได้รับฐานานุกรม เป็นพระครูปลัด เป็นครูบาอาจารย์ที่มีลูกศิษย์และชาวบ้านให้ความเคารพนับถือและศรัทราเป็นจำนวนมาก ทั้งใกล้และไกลในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น มักจะมีเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น และทำให้บรรดาลูกศิษย์หรือผู้ที่มาพบท่านอาจารย์รู้สึกประหลาดใจต่อเหตุการณ์และคำทำนายทายทักของท่านอาจารย์เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการทำนายทายทักที่มีความแม่นยำมากจนมีลูกศิษย์เป็นจำนวนมากทั้งที่อยู่ใกล้วัดและไกลวัดต่างก็มีคำชี้แนะจากท่านอาจารย์สมจิตรอยู่เป็นประจำ อีกเหตุการณ์หนึ่งที่อยากจะนำมากล่าวถึงคือในปี พ.ศ.๒๕๑๗ ได้เกิดเพลิงไหม้ศาลาการเปรียญในช่วงกลางคืน มีเปลวไฟลุกไหม้อย่างหนักชาวบ้าน พระและเณรต่างพากันมาช่วยดับไฟเป็นการใหญ่ แต่เนื่องจากน้ำมีไม่เพียงพอและมีคลองอยู่ห่างจากวัดมาก จึงมาสามารถดับไฟได้สำเร็จเปลวไฟที่กำลังลุกเผาไหม้อยู่นั้นก็ค่อยๆ ขยายบริเวณมากขึ้น และเริ่มจะลุกลามไปทางกุฎิของท่านอาจารย์สมจิตร ท่านเห็นเช่นนั้น จึงได้เข้ากุฎิทำการกราบบูชาพระพุทธรูปและนั่งสมาธิ แทนที่ท่านจะให้ชาวบ้านช่วยกันขนย้ายสิ่งของมีค่าออกจากกุฎิ ท่านกลับเข้าไปนั่งสมาธิทำให้ลูกศิษย์และชาวบ้านต่างพากันเป็นห่วง และขอร้องให้ท่านออกจากกุฎิ เพราะไฟกำลังลุกลามมาถึง ท่านก็ยังนั่งสมาธิอยู่อย่างนั้นจนทุกคนในที่นั้นเห็นว่าไฟจะต้องไหม้กุฎิแน่ๆแล้ว จึงตัดสินใจเข้าไปอุ้มท่านออกมา แต่พอดีจะเข้าไปอุ้มท่านอาจารย์ออกมาท่านก็พูดขึ้นมาในขณะนั้นว่า “ไฟไหม้เฉพาะศาลาเท่านั้นไม่ต้องกลัว” และท่านก็นั่งสมาธิต่อไป พร้อมบริกรรมคาถา ก็เป็นที่น่าประหลาดใจว่า เมื่อไฟที่กำลังไหม้ศาลอยู่ขณะนั้นได้ลุกลามมาถึงแต่ก็ไม่สามารถไหม้กุฎิท่านได้ และเมื่อไฟสงบลงศาลาหลังใหญ่ก็ไหม้หมดส่วนกุฎิของท่านอาจารย์ก็ได้รับความเสียหายเพียงข้างฝาด้านเดียวที่ถูกเปลวไฟบ้าง ทำให้มีรอยไหม้ดำเป็นสะเก็ดเถ้าถ่านเท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องในการจัดสร้างวัตถุมงคล ท่านอาจารย์ได้มีการจัดทำวัตถุมงคลอยู่รุ่นหนึ่งคือ “พระสมเด็จเทียนชัย” ซึ่งจัดทำเพียง ๘๐ องค์เท่านั้นเอง เพื่อนำมาแจกให้กับลูกศิษย์และญาติโยมที่มาร่วมกันก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ในขณะนั้น โดยทำจากว่านมงคล ๑๐๘ ชนิดที่ท่านเคยเก็บสะสมมานานหลายปี ในช่วงระหว่างที่โอกาสไปธุดงค์ที่ต่างๆมา และพระสมเด็จเทียนชัย ก็เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันมากในหมู่คณะของนักนิยมพระเครื่องทั่วไป นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่น่าประหลาดใจอีกเรื่องหนึ่งซึ่งถือเป็นเรื่องสุดท้ายของท่านอาจารย์สมจิตร ก็คือหลังจากที่ท่านได้มรณภาพไปไม่นาน ลูกศิษย์และพระในวัดก็ได้ค้นพบสมุดประจำตัวของท่านอาจารย์ซึ่งบันทึกไว้ในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๐ ท่านได้ตรวจดูดวงชะตาของท่านเองและบันทึกไว้ว่า “วันนี้ดวงของเราตกเคราะห์หนักมาก ต้องหาจุดเริ่มต้นสว่างใหม่” ซึ่งในวันนั้นก็เป็นวันสุดท้ายของท่านอาจารย์เองเช่นกัน เพราะตามปกติท่านจะออกจากวัดเพื่อไปฉันเพลตามที่ลูกศิษย์นิมนต์มาแต่ท่านก็ปฏิเสธโดยให้พระรูปอื่นไปแทน หลังจากท่านอาจารย์ได้ฉันเพลจากที่ลูกศิษย์และชาวบ้านนำมาถวายที่กุฎิ ท่านก็ขอตัวไปด้านหลังกุฎิปล่อยให้ลูกศิษย์และญาติโยมที่มาหาท่านรับประทานอาหารและพูดคุยกันอยู่ในกุฎิจนเวลาได้ล่วงเลยไปนาน ลูกศิษย์ที่อยู่ที่นั้นจึงเห็นผิดสังเกตที่ท่านอาจารย์ไม่เข้ามาในกุฎิจึงออกไปดูพบว่าร่างของท่านอาจารย์แน่นิ่งอยู่กับพื้นเนื่องจากท่านอาจารย์เป็นลมและศรีษะบริเวณเหนือใบหูด้านขวาฟาดกับขอบกระถางต้นไม้ เมื่อคุณหมอมาดูอาการและแจ้งว่าท่านอาจารย์ถึงแก่มรณภาพ เมื่อข่าวนี้ได้ทราบถึง พระ เณร ญาติโยม ถึงการจากไปของท่นอาจารย์ต่างตกตะลึงและเศร้าโศกกับการมรณภาพของท่านเป็นอย่างมาก
สิริอายุรวม ๕๙ ปี และอยู่ในสมณเพศ รวม ๒๓ พรรษา
วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๐ คือวันมรณภาพของหลวงพ่อ พระครูปลัดสมจิตร เปมิโย และสรีระของท่านได้นำบรรจุลงในโลงแก้ว ตั้งประดิษฐานไว้ในศาลาการเปรียญหลังใหม่ที่ คุณยุวดี เอื้อกาญจนวิไล ได้สร้างแทนศาลาหลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ซึ่งได้สร้างแล้วเสร็จกำลังจะถวายอยู่พอดี และทุกๆปี ในวันที่ ๑๙ กันยายน ตรงกับวันมรณภาพ จะประกอบพิธีทำบุญใหญ่ ถวายเป็นกุศลน้อมระลึกถึงหลวงพ่อฯประจำเสมอมา โดยคุณยุวดีฯ รับเป็นประธานดำเนินงานมาตลอด ด้วยความกตัญญูที่หลวงพ่อฯ เคยให้คำชี้แนะต่างๆ ตลอดจนตรวจดูดวงชะตาเปลี่ยนชื่อตัวให้เป็นนามมงคล(จาก กุ๊ยฮวย เป็น ยุวดี) และกำหนดวันก่อตั้งเปิดโรงงานวันแรกที่ถนนสายลวด-สมุทรปราการ คือ โรงน้ำปลาหมึก ส.วัฒนพาโชค กุ๊ฯ จนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองมาตลอดและเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง บริษัท ไทนแลนด์ฟิชเชอรี่โคลด์สตอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครืออีกมากมายสืบมา

ปริโยสาน เมื่อวันอังคารที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๑ ได้มีญาติๆของหลวงพ่อสมจิตร มารับพระอธิการดำรง ยโสธโร เจ้าอาวาวัดสว่างอารมณ์ รูปปัจจุบันไปงานฌาปนกิจศพ นายบุญเจือ แย้มขวัญยืน น้องชายคนเดียวของหลวงพ่อฯ ณ วัดสีกัน เขตดอนเมือง

ขอย้ำถึงความน่าประหลาดใจในวันที่เผาศพนายบุญเจือ ผู้น้องฯ เสร็จจากการประชุมเพลิงแล้ว พระอธิการดำรง เดินทางกลับวัดประมาณเวลา ทุ่มครึ่ง ก็รีบเข้าไปในศาลาที่ตั้งหีบแก้วหลวงพ่อสมจิตร ตั้งใจว่าจะมาจุดธูปบอกเรื่องการฌาปนกิจศพน้องชายหลวงพ่อฯ เปิดประตูเข้าก็ตกตะลึง พบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณผ้ารองโต๊ะรูปหล่อหลวงพ่อสมจิตรถึงพรมที่ปูพื้นศาลา แต่เพลิงได้ลุกไหม้เพระบริเวณรอบโต๊ะทะลุถึงพื้นกระดานศาลา และเทียนแท่งใหญ่ที่ตั้งบูชาด้านข้างรูปหล่อหลวงพ่อได้ละลายเป็นน้ำเทียนแล้วดับเอง รูปองค์หล่อที่ปิดทองโดนควันไฟไหม้ดำเกรียม ซึ่งโดยสภาพแล้วน่าจะลุกไหม้ลามไปทั้งศาลา สอบถามพระเณร ทราบว่า บ่ายวันนี้มีญาติโยมจากศรีราชา-ชลบุรีมาไหว้หลวงพ่อสมจิตร และได้เข้าไปจุดธูปเทียนสักการะกราบไหว้ แล้วคงปล่อยให้โยมทั้งหลายปิดประตูศาลากันเอง ไม่ได้ดับธุปดับเทียน ไฟจึงไหม้ลุก น่าประหลาดใจเหลือเกิน วันเดียวกันแท้ๆ

พระอธิการดำรง ยโสธโร ตั้งใจว่าจะมาจุดธูปบอกหลวงพ่อสมจิตรว่า เผาน้องชายหลวงพ่อแล้วแต่กลับมาเจอเหตุการณ์เพลิงไหม้องค์รูปหล่อ จึงได้จุดธูปบอกว่าจะขออนุญาตเผาศพหลวงพ่อแล้ว

หลังจากทำบุญวันครบรอบการมรณภาพของหลวงพ่อสมจิตรในปี พ.ศ.๒๕๔๑ คุณยุวรี เอื้อกาญจนวิไล ซึ่งเป็นลูกศิษย์เคารพนับถือยิ่งในองค์หลวงพ่อสมจิตร ได้พูดนำขึ้นว่า ในวันที่ ๑๙ กันยายน ในปีหน้า จะตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันตรงกับวันคล้ายวันมรณะภาพด้วย น่าจะถึงเวลาอันควรที่จะการศพหลวงพ่อสมจิตรเถิด อย่าตั้งไว้อย่างนี้เลย (ซึ่งตรงกับที่ พระอธิการดำรง จุดธูปขอไว้) ประหลาดแท้ อะไรดลใจให้ คุณยุวรี พูดนำขึ้นเช่นนี้ จึงได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๒ อย่างยิ่งใหญ่ โดย คุณยุวรี เอื้อกาญจนวิไล เป็นประธานใหญ่ในการดำเนินงานทั้งหมด

และความอัศจรรย์ที่ปราบปลื้มมากที่สุด คือ การขอพระราชทานเพลิงศพ ฯ ซึ่งได้มีกฎระเบียบว่าด้วยการให้พระราชทานเพลิงศพ จะถวายเฉพาะพระสมณะศักดิ์ชั้นพระครูสัญบัตรขึ้นไป แต่หลวงพ่อสมจิตรไม่ได้อยู่ในเกณฑ์นั้น หลวงพ่อเป็นเพียงพระครูฐานานุกรม และมรณภาพมาแล้วถึง ๒๒ ปีแล้ว แม้กระทั่งใบมรณะบัตรที่จะนำความขึ้นมากราบบังคมทูลก็ไม่มี แต่พระครูปลัดสมจิตร เปมิโย ก็ได้รับพระราชทานเพลิงศพเชิดชูเกียรติ โดยไม่ต้องเป็นกรณีพิเศษแต่ประการใด

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [อา. 03 มิ.ย. 2561 - 10:02 น.] #3866773 (15/16)
เสือไม้ เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร แกะจากไม้เสาโบสถ์ที่หลวงพ่อปานสร้าง รัชกาลที่ 5 ทรงตราพระราชลัญจกร ปลุกเสกหลายวาระหลายพิธี

โดยคุณ 6411171 (2.1K)  [พฤ. 21 มิ.ย. 2561 - 01:55 น.] #3868609 (16/16)
ลูกอมผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ออกวัดโพธิ์สัมพันธ์ ปี ๒๕๑๗
09-06-2561 เข้าชม : 98 ครั้ง




[ ชื่อพระ ] ลูกอมผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ออกวัดโพธิ์สัมพันธ์ ปี ๒๕๑๗
[ รายละเอียด ] ลูกอมผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ออกวัดโพธิ์สัมพันธ์ ปี ๒๕๑๗ หลวงปู่ทิม และหลวงปู่โต๊ะ ร่วมปลุกเสก เลี่ยมเดิมจากวัด ราคาเบาๆ สำหรับผู้ที่เคารพหลวงปู่ทิม ของแท้ๆ ทันท่านปลุกเสก ที่ค่านิยมยังไม่แรง เพราะออกที่วัดอื่น ราคาจึงเบากว่ากันมากพุทธคุณไม่ต่างอะไรกับขุนแผน ราคาหลายๆ แสน ของแท้มีมาตรฐานวัดโพธิ์สัมพันธ์ ปัจจุบันพบเห็นน้อย หายากน่าเก็บน่าใช้อีกละคราฟ ************************************************************************************************************************************** พระผงพรายกุมารหลวงปู่ทิม ของดีที่ใครก็อยากได้ไว้บูชา บางท่านมีแล้วก็อยากมีอีก หลายคนคงรู้สึกว่าแพง แพงสุดๆ ราคาขึ้นทุกพิมพ์ทุกอย่างทุกเวลา ต่อไปก็คงหมดสิทธิ์ที่จะได้บูชา ก็ยังมีวัดนี้แหละคราฟ ซึ่งราคาเบากว่ากันมาก ตามจริงแล้วลูกอมกลมๆ ที่ปั้นเป็นลูกกลมนั้น เพื่อที่นำมากดเป็นพระพิมพ์ขุนแผนลูกใหญ่ก็พิมพ์ใหญ่ ลูกเล็กก็เป็นพิมพ์เล็ก ลูกที่กดไม่ทันก็จะแข็งนำไปกดพิมพ์ไม่ได้ก็กลายมาเป็น "ลูกอมผงพรายมหาภูติ และลูกประคำ" สำหรับลูกอมวัดโพธิ์สัมพันธ์ ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เนื้อผสมผงพรายกุมาร ประวัติการสร้างวัตถุมงคลของวัดโพธิ์สัมพันธ์ ดังนี้ เมื่อหลวงพ่อบุญมี อัถปุญโญ ได้มรณะภาพลงเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๖ พระประสิทธิ์ ประสิทธิโก รักษาการณ์แทนเจ้าอาวาสวัดโพธิ์สัมพันธ์ในขณะนั้นซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดของ หลวงปู่ทิม อิสริโกท่านหนึ่ง โดยหลวงปู่ทิมได้สอนแนะนำวิธีการทำ การลงอักขระต่างๆ และการบริกรรมคาถาขณะลงอักขระให้พระประสิทธิ ไปดำเนินการจัดสร้าง มวลสาร ลูกอมหลวงปู่ทิมออกวัดโพธิ์สัมพันธ์ จะมีส่วนผสมของผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม, ผงอิทธิเจ, ผงตรีนิสิงเห, ผงปัถมัง, เส้นเกศาหลวงปู่ทิม, เศษสายสิญจน์, น้ำมันลูกประคำ, น้ำมันพระเจ้าตาก, พระผงที่แตกหักชำรุด, และผงพุทธคุณของหลวงปู่บุญมี นำมาบดผสมให้เข้ากัน เนื่องจากตะกรุดโทนมีน้อย ผงพุทธคุณผสมผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมเหลือเยอะจึงนำมาหุ้มที่ตะกรุดโทน แล้วส่วนที่เหลือนำมาปั้นเป็นลูกอมแล้วทาบอร์น บางเม็ดก็จะมีอาทิ เส้นเกศา, เศษสายสิญจน์, โค๊ตเลข 3 และฝังตะกรุดสาริกา ติดมาอยู่บ้างปะปนกันไป พิธีพุทธาภิเษกอันเป็นมงคลเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ตรงกับแรม ๑ ค่ำเดือน ๒ ปีขาล ณ อุโบสถ วัดวัดโพธิสัมพันธ์ ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้มีคณาจารย์ต่างๆดังต่อไปนี้ ๑.พระราชสังวราภิมณฑ์ ( หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ)วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ ๒.พระครูภาวนาภิรัต ( หลวงปู่ทิม อิสริโก ) วัดละหารไร่ ระยอง ๓.หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ ๔.หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไลยก์ สุพรรณบุรี ๕.หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จัทบุรี ๖.หลวงปู่หิน วัดฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ ๗.หลวงพ่ออบ วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี ๘.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง ๙.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่ ๑๐.หลวงพ่อเล็ก วัดพยอง อยุธยา ๑๑.หลวงพ่อจำลอง วัดราชสิงขร กรุงเทพฯ ๑๒.หลวงปู่คำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่ ๑๓.หลวงพ่อดู่ วัดหนองใหญ่ ชลบุรี ๑๔.พระอาจารย์บุญรอด วัดละหารไร่ ระยอง ๑๕.พระอาจารย์หลาย วัดนาจอมเทียน ชลบุรี ๑๖.หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม ชลบุรี ๑๗.หลวงพ่ออินทร์ วัดหนองเกตุใหญ่ ชลบุรี ๑๘.หลวงพ่อแฟ้ม วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี ๑๙.หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ ชลบุรี ในระหว่างพิธีการนั่งปรกปลุกเสกของพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมต่างๆนั้น ได้มีพระภิกษุจากวัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี ได้ทำการเจริญพุทธมนต์สวดพุทธาภิเษกตลอดงานโดยมีหลวงพ่อแฟ้ม เป็นเจ้าพิธี โดยเริ่มพิธีพุทธาภิเษกเวลา ๑๙.๐๐ น. โดยหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี นั่งปลุกเสกอยู่บนธรรมมาสน์ใกล้กันที่หน้าตรงหน้าพระประธาน ใช้เวลาปลุกเสกอัดพลังกันอย่างเต็มที่อยู่หลายชั่งโมงในพิธีนี้เองพระอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่าหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ กับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีท่านลองวัดพลังกันด้วย ต่างฝ่ายต่างไม่ยิ่งหย่อนต่อกันเลย ขนาดท่านเองที่คิดว่าไม่เป็นรองใครยังต้องถอยออกมาเลย ช่างอัศจรรย์จริงๆ เมื่อพิธีพุทธาภิเษกเสร็จสิ้นลงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ได้ลุกลงจากธรรมาสน์มากราบนมัสการหลวงปู่ทิม อิสริโก พร้อมกล่าวอย่างอารมณ์ดีว่า “พระภูธรณ์ นี่เก่งจริงๆ” หลวงปู่ทิมท่านก็กล่าวอย่างอารมณ์ดีตอบว่า “ พระกรุงก็ไม่ธรรมดาเลยนี่” ฉะนั้นพระที่ปลุกเสกในพิธีนี้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเห็นรุ่น “เสือพบสิงห์” เลยทีเดียวจึงนับว่าพระชุดนี้เป็นวัตถุมงคลที่ทรงคุณค่ามากๆอีกชุดหนึ่งของ หลวงปู่ทิม อิสริโก และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีนอกจากนั้นแล้วหลังจากพิธีพุทธาภิเษกเสร็จสิ้นแล้ว พระประสิทธิ์ ประสิทธิโก ซึ่งเคารพนับถือหลวงปู่ทิมมากและยังเป็นศิษย์ใกล้ชิด ยังได้นำเอาพระทั้งหมดของวัดโพธิสัมพันธ์ชุดนี้ไปขอให้หลวงปู่ทิม อิสริโกปลุกเสกเดี่ยวให้อีกเป็นเวลายาวนานถึง ๘ เดือน ในปี พ.ศ.๒๕๑๘จนไปรับพระชุดนี้ทั้งหมดคืนในช่วงก่อนที่หลวงปู่ทิม อิสริโก จะไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในวาระสุดท้ายของท่าน

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1