ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : อยุธยา..



(N)



โดยคุณ nockout (4.1K)  [จ. 26 ก.พ. 2561 - 21:10 น.]



โดยคุณ nockout (4.1K)  [จ. 26 ก.พ. 2561 - 21:10 น.] #3857411 (1/5)


(N)



โดยคุณ Aof1402 (0)  [พ. 04 เม.ย. 2561 - 00:01 น.] #3861436 (2/5)

โดยคุณ Aof1402 (0)  [พ. 04 เม.ย. 2561 - 00:01 น.] #3861437 (3/5)

โดยคุณ Aof1402 (0)  [พ. 04 เม.ย. 2561 - 00:02 น.] #3861439 (4/5)
=>&#9831>

โดยคุณ nockout (4.1K)  [อา. 08 เม.ย. 2561 - 15:13 น.] #3861880 (5/5)
พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา....
...ใช้สีอะไรเขียนภาพพระบฎ
นี่ถ้าตูตอบแบบกำปั้นทุบดินคงตอบว่าสีฝุ่น เดี๋ยวคนจะเข้าใจผิดไปซื้อสีฝุ่นตามร้านก่อสร้างหรือร้านขายเครื่องเขียน แต่ก็ใช้เขียนได้นะแต่คุณภาพจะไม่ค่อยดีเหมือนสีฝุ่นโบราณ สีแดง มากจากดินแดง ดินบางตัวมีสีน้ำตาลอมแดงก็มี นำมาบดกับน้ำให้ละเอียด (พวกนี้เป็นอ๊อกไซด์จึงมีสีแดง)และกรองให้ละเอียดที่สุดด้วยผ้าขาวบางผสมกาวยางไม้ บดลงในโกร่ง สีแดงอีกอย่างคือชาด ไม่ว่าจะเป็นชาดหรคุณ หรือเงี่งจูมีขายที่ร้านเจ้ากรมเป๋อวัดสามปลื้ม ชาดสีแดงนั้นราคาแพงส่วนใหญ่ไว้ใช้ตัดเส้นบนทองเพราะเส้นจะจมบนทองไม่ลอยอยู่บนทองเหมือนสีแดงตัวอื่น เวลาบดต้องบดกับเหล้าขาวหรือแอลกอฮอล์ เพราะชาดจะไม่ละลายในน้ำ อีกตัวหนึ่งคือรังของครั่ง อันนี้หายากเพราะผิดกฏหมายเขาห้ามนำออกจากป่า สีดำ จากหมึกจีน หรือเข่มานำมาบดและผสมกาวยางไม้(แนะนำให้ใช้กาวกระถิน หรือกาวยางมะขวิด อย่าใช้กาวหนังควายเด็ดขาดเพราะเหม็นมาก) สีเหลือง จากยางของต้นรงค์ หรือต้นรงค์ทอง เป็นก้อนๆเวลาใช้นำมาบดละลายน้ำแล้วใช้ได้เลยเป็นกาวยางไม้ในตัวอยู่แล้ว สีเหลืองอีกสีทำจากหรดาล ที่ใช้เขียนลายรดน้ำมีสีเหลืองเป็นประเภทกำมะถัน ต้องหมักไว้หลายปีก่อนนำมาใช้ผสมกาวยางไม้แล้วใช้ได้เลย ในหมู่สีเขียวใช้ สนิมของทองแดง คือสนิมเขียวนั่นเอง โดยการนำแผ่นทองแดงมาแช่น้ำส้มสายชูทิ้งไว้จนเกิดสนิมสีเขียวนำมาขูดเอาสีเขียวของสนิมออกมาผสมกาวยางไม้เราเรียกว่าสีเขียว ตังแช....
...พระบฏมิใช่เป็นแค่เพียงงานศิลปะเท่านั้น แต่เป็นหลักฐานที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะความเป็นอยู่ และความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในแต่ละยุคแต่ละสมัยได้เป็นอย่างดี แสดงถึงความเจริญงอกงามของพุทธศาสนาที่เป็นบ่อเกิดของขนบประเพณีนิยม วัฒนธรรม และวิถีการดำรงชีวิตของบรรพบุรุษไทย
...พระบฏจึงเป็นมรดกที่สำคัญของชาติ ที่ควรค่าแก่การดูแล รักษา เชิดชู และหวงแหนไว้เป็นสมบัติของชาติตลอดไป แม้ว่าจะเป็นงานจิตรกรรมที่เคลื่อนที่ได้ และไม่คงทนเช่นเดียวกับงานจิตรกรรมฝาผนัง แต่ในปัจจุบัน ก็ยังสามารถหาชมได้ตามวัดและพิพิธภัณฑสถานต่างๆ เช่น วัดมหาธาตุ และวัดจันทราวาส จังหวัดเพชรบุรี วัดหัวเตย จังหวัดพัทลุง พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด สยามสมาคม วัดป่าลิไลยก์และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลายแห่ง

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1