ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : เหรียญชนะมาร หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี



(N)


วัตถุมงคลหลวงปู่คำบุ คุตฺตจิตฺโต “รุ่น ชนะมาร” ได้ประกอบพิธีเททองหล่อเนื้อชนวนลงพื้นธรณี หน้าอุโบสถวัดกุดชมพู ด้วยคติความเชื่อ

เพื่อให้พระแม่ธรณีเป็นสักขีพยานและประทานพร ให้เนื้อชนวนมวลสารนั้นบริสุทธิ์มีความศักดิ์สิทธิ์ ก่อนนำมาสร้างเป็นรูปพระพุทธปฏิมากรปาง

“พระพุทธชนะมาร” วันที่เสาร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๓ และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกถึง ๓ วัน ๓ วาระ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

จัดพิธีขึ้นภายในอุโบสถวัดกุดชมพู โดยหลวงปู่คำบุ เป็นประธานจุดเทียนชัยพร้อมนั่งปรกอธิษฐานจิตร่วมกับพระเกจิคณาจารย์ในพื้นที่นั่ง

ประจำทิศทั้ง ๔ โดยมีพระสวดเจริญมงคลคาถา ๔ รูป
การจัดพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลทั้ง ๓ วัน ๓ วาระนั้น เป็นการระลึก “องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ที่ทรงชนะมาร “พญาวัสวดีมารธิราช” ด้วย

ขันติธรรมในราตรีกาลนั้น พระองค์ก็ทรงเจริญญาณอันเป็นสติปัญญาชั้นสูงทั้ง ๓ ประการ คือ
๑.สำเร็จปฐมยาม สามารถรำลึกอดีตชาติได้ ๒.สำเร็จมัชฌิมยาม ทิพย์จักษุ สามารถหยั่งรู้การเกิดดับตลอดการเวียนว่ายของสัตว์ทั้งหลาย และ
๓.สำเร็จปัจฉิมยาม สามารถทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้หมดไปด้วยพระปัญญา ในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเข้าสู่รุ่งอรุโณทัย (ใกล้รุ่งอรุณ)
ด้วยเหตุนี้วัตถุมงคล “รุ่นชนะมาร” จึงได้จัดพิธีพุทธาภิเษกถึง 3 วัน 3 วาระในฤกษ์ยามใกล้รุ่งอรุณ ด้วยคติความเชื่อว่าเป็นมหาฤกษ์แห่ง

ความสำเร็จ ถ้าประพิธีในวันเวลาดังกล่าวครบตามวาระแล้ว วัตถุมงคลจะบังเกิดความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังเป็นยิ่งนัก ผู้นำไปบูชาจะประสบ

ความสำเร็จในทุกๆด้าน และปราศจากอุปสรรคศัตรูหมู่มารต่างๆ ก็จะพ่ายแพ้ไปในที่สุด สมดั่งคำว่า “ชนะมาร"

วัตถุประสงค์ : เพื่อนำปัจจัยมาสร้างศาลาการเปรียญวัดกุดชมภู

จำนวนการจัดสร้าง ดังนี้
เหรียญชนะมาร
1. เนื้อทองคำ จำนวน ตามจอง
2. เนื้อเงิน หน้ากากทองคำ จำนวน 299 เหรียญ
3. เนื้อเงิน จำนวน 989 เหรียญ
4. เนื้อนวะหน้าเงิน จำนวน 589 เหรียญ
5. เนื้อนวะ 1,489 เหรียญ
6. เนื้ออัลปาก้า จำนวน 1,989 เหรียญ
7. เนื้อทองเหลือ จำนวน 3,989 เหรียญ
8. เนื้อทองแดง จำนวน 9,989 เหรียญ
9. เนื้อผงชนะมารผสมผงมหาปราบ จำนวน 9,989 เหรียญ
10. ชุดกรรมการอุปถัมภ์ จำนวน 129 ชุด
- พระบูชา 7 นิ้ว จำนวน 1 องค์
- เนื้อเงินลงยาหน้าทอง 1 เหรียญ
- เนื้อตะกั่วไม่ตัดปีก 1 เหรียญ
- เนื้อนวะหน้ากากเงิน 1 เหรียญ
- เนื้ออัลปาก้า 2 เหรียญ
- เนื้อทองเหลือง 3 เหรียญ
- เนื้อทองเแดง 5 เหรียญ
- เนื้อมหาปราบ 10 เหรียญ
- พระพุทธชนะมารเนื้อเงิน 1 องค์
- พระพุทธชนะมารเนื้อนวะ 2 องค์
11. ชุดชนะมาร รองกรรมการอุปถัมภ์
- เนื้อเงิน 1 เหรียญ
- เนื้อนวะหน้ากากเงิน 1 เหรียญ
- พระกริ่งพุทธชนะมาร เนื้อนวะ 1 องค์
- เนื้ออัลปาก้า 1 เหรียญ
- เนื้อทองเหลือง 2 เหรียญ
- เนื้อทองเแดง 2 เหรียญ
- เนื้อมหาปราบ 5 เหรียญ
12. ชุดของขวัญ เหรียญชนะมาร
- เนื้อนวะ 1 เหรียญ
- เนื้อทองเหลือง 2 เหรียญ
- เนื้อทองเแดง 3 เหรียญ
- เนื้อมหาปราบ 3 เหรียญ
13. พระกริ่งพุทธชนะมาร เนื้อเงิน จำนวน 299 องค์
14. พระกริ่งพุทธชนะมาร เนื้อนวะ จำนวน 999 องค์
15. ตะกรุดชนะมารปราบมาร อุดปรอท แผ่นจารมือ รุ่นแรก 899 ดอก
16. เบี้ยแก้มหากันมหาปราบ แก้ร้านเป็นดี 499 ตัว

ลักษณะเหรียญ
ด้านหน้า ปรากฏ รูปเหมือนหลวงปู่คำบุ ครึ่งองค์ มีหมายเลขกำกับ
มีอักษรด้านบนเหรียญ "ชนะมาร" ด้านล่างของเหรียญ "พระครูพิบูลนวกิจ ญาท่านคำบุ"

ด้านหลังเหรียญ
ปรากฏ "อักษรธรรมลาว" หรือ "อักษรธรรมล้านช้าง" เป็นอักษรที่คนโบราณอีสานใช้จารึกหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา สรรพวิชา ขนบ

ธรรมเนียมและประเพณีต่างๆ ของชาวอีสานเป็นเวลาช้านาน อักษรโบราณอีสานเป็นมรดกทางปัญญา

ในสายสำเร็จลุน จึงร่ำเรียนพระเวทและมีอักขระพระเวทที่เป็นอักษรธรรมลาวมาตลอด และถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งปัจจุบันยังได้รับการ

ถ่ายทอดใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เขียนไว้หัวเปลเด็ก คาถาเป่าปลาดุกปัก คาถาต่อกระดูก เป็นต้น โดยมีคติความเชื่อกันต่อว่า อักษรธรรม

ลาว คือ อักษรที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองเรื่องของอักษรโบราณแบบนี้ถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญา และมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งองค์

ความรู้เหล่านี้พัฒนามาจากเรื่องศาสนา

ปัจจุบันนี้พระเกจิอาจารย์ในภาคอีสานรูปหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญอักษรธรรมลาว คือ “พระครูวิบูลย์นวกิจ” หรือ “หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต” เจ้า

อาวาสวัดกุดชมภู ต.กุดชมพู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่า "ทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง" ในทุกวันอังคาร เสาร์

และอาทิตย์ ท่านจะประกอบพิธีลงเหล็กจารอักขระธรรมอักษรลาว ลงบนแผ่นหลังของบรรดาลูกศิษย์ที่เดินทางมาจากสถานที่ต่างๆ


สำหรับตัวอักษาธรรมลาวที่ปรากฏหลังเหรียญชนะมาร สามารถอ่านออกเสียงได้เช่นเดียวกับ อักษรขอม (เขมร) มอญ โดยรวมแล้วเป็นถา

คาที่มีพุทธคุณป้องกันภัย จึงเป็นที่มาของชื่อรุ่นที่ว่า "ชนะมาร" ซึ่งแต่ละแถวอ่านได้ ดังนี้

แถวบนสุด เป็นคาถาหัวใจพระแม่ธรณี ที่ว่า “เม กะ มุ อุ พุทธ ะ สัง มิ”
แถวที่ ๒ อ่านว่า “ภะ ภะ กะ กะ คะ”
แถวที่ ๓ อ่านว่า “กัน นะ กัน นา กัน นิ กัน นี”
แถวที่ ๔ อ่านว่า “กัน นุ กัน นู กัน นุง กัน โน
แถวที่ ๕ อ่านว่า “กัน ใน กัน นัง กัน นะ”
แถวที่ ๖ อ่านว่า “เอ กัน นา มะ กัน” เป็นคาถาปราบมาร

โดยคุณ oofwinnine (726)  [ส. 16 ต.ค. 2564 - 09:39 น.]



!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM